November 24, 2024

Case Study

กรณีศึกษาของ 10 ธุรกิจ ใช้ VR พิชิตใจลูกค้า

เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) นั้นคงต้องยอมรับว่า การปรับตัวให้เข้ากับการมาถึงของเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยวงการที่ได้รับความนิยมอย่างมากหนีไม่พ้นวงการเกม แต่เราเชื่อว่า เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้เห็นความสามารถก็จะหันมาสนใจการใช้งาน VR เพิ่มมากขึ้นเอง และวันนี้เราจึงขอชวนมาดูกันว่า…

กรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงตลาดข้าวมูลค่า 450,000 ล้านเหรียญด้วย FUJITSUBlockchain

ข้าวเป็นอาหารหลักของโลก เป็นอาหารที่ให้แคลอรี่เป็นพลังงานหลักต่อวันสำหรับผู้คนหลายพันล้านคน เกษตรกรรายย่อยหลายล้านมีรายได้จากการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชที่มีมาแต่โบราณ คำถามคือ ตลาดข้าวทั่วโลกสามารถเปลี่ยนมาซื้อขายผ่านบล็อกเชนได้หรือไม่? Rice Exchange คิดว่าน่าจะทำได้ ผ่านตลาด Ricex ซึ่งสร้างขึ้นบน FUJITSUBlockchain และ Distributed Ledger Technology (DLT) แพลตฟอร์ม มีเป้าหมายเพื่อทำให้การค้าข้าวทั่วโลกรวดเร็วขึ้น น่าเชื่อถือและโปร่งใสมากขึ้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกระดับระบบเครือข่ายไร้สาย เพื่อก้าวสู่การเป็น Digital Lifestyle University

ในฐานะของมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ก็เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ไม่ยอมหยุดนิ่งในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยขยายโลกการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนการสอนของนิสิตและคณาจารย์ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย สอดรับกับแนวคิดของการปรับโฉมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การเป็น “Digital Lifestyle University” ด้วยการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทุกแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัยเข้าไว้ด้วยกัน และจะทำให้ไลฟ์สไตล์ของนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร มีความสะดวกสบายขึ้น สามารถเติมเต็มศักยภาพในการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบได้ทุกวันทั้งขณะอยู่ในและนอกรั้วมหาวิทยาลัย…

ผู้ผลิตอะลูมิเนียมระดับโลกผสานรวมการปฏิบัติการในบราซิลไปยังแพลตฟอร์มไอทีกลางโดยใช้บริการและฮาร์ดแวร์ของฟูจิตสึ

Norsk Hydro ASA (Hydro) คือบริษัทผลิตอะลูมิเนียมแบบครบวงจรในประเทศบราซิล  Hydro ต้องการรวมการดำเนินงานทั้งหมดของตนเองไปยังแพลตฟอร์มไอทีกลางมาตรฐานเดียวเพื่อรับประกันความสอดคล้องและความพร้อมใช้งาน บริษัทฯ จึงขอคำปรึกษาจากฟูจิตสึ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยีและบริการกันมายาวนาน การโอนบริการโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจัดการของการปฏิบัติการในประเทศบราซิลมายังฟูจิตสึทำให้ Hydro มีการปฏิบัติการที่ทันสมัยทั่วทั้งระบบ และลดต้นทุนในการปฏิบัติการลงถึง 20%…

AI กับการตรวจสอบหลุมใต้พื้นถนน

Fujitsu เผยกรณีศีกษา Kawasaki Geological Engineering Co., Ltd. ทำการสำรวจถนนให้กับรัฐบาลท้องถิ่นและระดับชาติ โดยใช้เทคโนโลยีกรรมสิทธิ์ของตนเองซึ่งสามารถตรวจจับหลุมที่อยู่ต่ำกว่าผิวหน้าถนนได้แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ใช้เวลานาน ทางบริษัทฯ จึงได้ตัดสินใจเลือกใช้โซลูชัน AI ของฟูจิตสึอย่าง “Zinrai Deep…

McLaren-Honda จะใช้เทคโนโลยี SDx เพื่อส่งข้อมูลสดจากสนามแข่งในญี่ปุ่นไปยังศูนย์เทคโนโลยีในอังกฤษ

McLaren-Honda ซึ่งเป็นผู้นำด้านการแข่งรถสูตร 1 (Formula 1) มานานกว่า 50 ปี กับ NTT Communications’ ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านไอซีทีและธุรกิจการสื่อสารระหว่างประเทศภายในกลุ่มบริษัท NTT ประกาศในวันนี้ว่าซอฟต์แวร์ SDx…

มะกันพัฒนา A.I. ใส่โดรน บินคุ้มครองสัตว์ป่าในแอฟริกา

บริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับ “โดรน” เพื่อใช้โดรนอัจฉริยะนั้นคอยช่วยมอนิเตอร์ความเป็นไปของสัตว์ต่าง ๆ ในป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  หรือการถูกล่าโดยนายพรานแล้ว ที่ผ่านมาเราอาจได้ยินเรื่องของโดรนจากภาคธุรกิจ ที่นำไปใช้ในการขนส่งสินค้าเป็นสำคัญ แต่นวัตกรรมครั้งนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า โดรนเองก็สามารถช่วยในการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ด้วยเช่นกัน โดยการพัฒนาครั้งนี้เป็นความร่วมมือของบริษัทเทคโนโลยี Neurala ร่วมกับมูลนิธิ Lingbergh ในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายวิดีโอที่โดรนถ่ายได้ทันทีโดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้าไปช่วยเหลือว่า…

Red Bull จับ IoT ใส่รถแข่ง F1

ทีมแข่งรถสูตร 1 (Formula 1) อย่าง Red Bull ก้าวไปอีกขั้น เสริมอุปกรณ์ IoT ลงในรถแข่งสำหรับเช็คความพร้อมและเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของทั้งรถ และคนขับในสนามแข่ง ช่วยลดค่าใช้จ่ายของทีมวิศวกรที่ต้องเดินทางไปพร้อมกับทีมแข่งในสนามต่างๆ ได้อย่างมหาศาล เพราะความเร็วในสนามแข่งเป็นสิ่งที่ทุกค่ายนักแข่งรถต่างต้องการ…

การใช้ Big Data เพื่อการพัฒนาสายการผลิตอย่างต่อเนื่องของ Omron ประเทศญี่ปุ่น

ในยุคของ Industry 4.0 และ IIoT (Industrial Internet of Things) เครื่องจักรการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ จะมีการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบไอทีขององค์กรการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ดูจะเป็นเรื่องท้าทาย แต่สำหรับ ออมรอน คอร์ปอเรชัน แล้ว…

โมเดลธุรกิจเพื่อการเกษตรเข้มแข็งในประเทศญี่ปุ่น

โครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ เกิดจากการร่วมมือกันสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจเพื่อการเกษตรเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้โดยใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้อันหลากหลายโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะเกิดจากการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทฟูจิตสึ โอริกซ์ และมาสึดะ ซีด โดยบริษัทชั้นนำ 3 บริษัทได้จับมือกันจัดทำโครงการนวัตกรรมทางเกษตรกรรม โดยบริษัทแรกเป็นบริษัทที่มีเครือข่ายการจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่แข็งแกร่ง ส่วนบริษัทที่สองเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเรือนเพาะชำพืชการเกษตรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่หลากหลาย และบริษัทที่สามคือบริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีทักษะความชำนาญในด้านเทคโนโลยีดิจิตอล โครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะเปิดตัวเมื่อต้นปี 2016 และมีจุดประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองธุรกิจใหม่ ที่เกิดจากการร่วมมือกันของผู้ประกอบธุรกิจที่หลากหลาย…