May 16, 2024

ยูนิเวอร์ซัล โรบอทระบุระบบอัตโนมัติแบบมีส่วนร่วมช่วยป้องกันการสูญงาน ของภาคการผลิตของไทยที่ชะลอตัว

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หรือ ยูอาร์ ผู้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือโคบอทระดับโลกจากประเทศเดนมาร์ก กระตุ้นให้ผู้นำอุตสาหกรรมของประเทศไทยเร่งการนำระบบอัตโนมัติและโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่มาใช้เพื่อปรับให้เข้ากับสภาวะผันผวนที่ผู้ผลิตในท้องถิ่นดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ภาคการผลิตในประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการปิดโรงงานและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ซึ่งทำให้งานตกอยู่ในความเสี่ยง ระบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์โคบอทช่วยชะลอการลดลงของงานการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตลงทุนในโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มผลผลิตของแรงงานทุกหน่วย ควบคู่ไปกับการปรับปรุงสภาพการทำงานสำหรับแรงงานคน   จาการที่เศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19  ทำให้อัตราการว่างงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนสิงหาคมของปี 2563 และเพิ่มขึ้น 1% จากเดือนสิงหาคม ปี 2562[1]

สหพันธหุ่นยนต์นานาชาติ หรือไอเอฟอาร์ (IFR) ได้รายงานว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดยเอเชียเป็นหนึ่งในตลาดที่แข็งแกร่งที่สุดสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม    สำหรับประเทศไทยได้สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในด้านระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  โดยไอเอฟอาร์ ยังได้รายงานว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 15 ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม.[2]  ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลไทย ทำให้มีการติดตั้งระบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมการผลิต

“การเดินไปสู่ระบบอัตโนมัติยังไม่สิ้นสุด เราเข้าสู่ช่วงที่ระบบอัตโนมัติปกป้องคนงานที่มีทักษะจากการจ้างงานภายนอก โดยได้เพิ่มมูลค่าของเวลาและความพยายามของพวกเขา   อุตสาหกรรมในปัจจุบัน   การปรับปรุงมูลค่าของทุนมนุษย์ที่ไม่เคยมีความสำคัญมาก่อน     ตอนนี้เรามุ่งเน้นทั้งสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมและไม่มีการควบคุมซึ่งมีการใช้อุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงาน ระบบอัตโนมัติช่วยให้ผู้ผลิตมีวิวัฒนาการด้วยโซลูชันที่เป็นนวัตกรรม เช่น โคบอทที่ปลอดภัยและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะทำงานที่ซับซ้อนควบคู่ไปกับมนุษย์ได้”  นายเจมส์  แมคคิว ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าว

ตัวอย่าง เช่น บริษัท เบนซ์มาร์ค อิเล็กทรอนิกส์ (Benchmark Electronics) ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการผลิตและเทคโนโลยีของประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะให้บริการด้านการผลิตระดับโลกท่ามกลางตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้น  ได้ติดตั้งหุ่นยนต์โคบอท รุ่น UR5 จำนวน  4 ตัวและ UR10e จำนวน 2 ตัวสำหรับงานประกอบและทดสอบในโรงงานผลิตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต  หุ่นยนต์โคบอทมีความยืดหยุ่นสูงช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ช่วยประหยัดพื้นที่การผลิตได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ     การนำโคบอทของยูอาร์ ได้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของบุคลากร โดยช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานที่มีทักษะสูงขึ้นซึ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้น

จากข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ  พบว่า ในเอเชียมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.1 ล้านคนต่อปี  สาเหตุจากอุบัติเหตุในที่ทำงานหรือโรคภัยไข้เจ็บ[3]     ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการทำงาน 124 รายในภาคการผลิตในปี 2563 ซึ่งภาคการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่อันตรายที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น[4]

ทุกวันนี้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะถ่ายโอนกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงไปยังหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ช่วยให้บริษัทก่อสร้างย้ายคนงานออกจากงานที่มีความเสี่ยงสูงและไปยังงานที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

ความปลอดภัยเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญสำหรับบริษัท PT JVC Electronics Indonesia (JEIN) ผู้ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย    โดย JEIN ได้ปรับใช้โคบอท ยูอาร์ทรี (UR3) จำนวนเจ็ดตัว เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานในบริเวณใกล้เคียงโดยไม่ต้องใช้รั้วป้องกัน (เมื่อประเมินความเสี่ยง) โคบอทของยูอาร์    ช่วยพนักงานที่เป็นมนุษย์จากงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การบัดกรีและการแยกชิ้นส่วนแผ่นวงจรพิมพ์      ซึ่งปล่อยควันอันตรายและมีอนุภาคฝุ่น

ในอดีต นักเทคโนโลยี เคยกล่าวว่า  โลกทุกวันนี้จะเป็นระบบอัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์ใช้แรงงานน้อยที่สุด  และมีบทบาทสำคัญในการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์

“เครื่องจักรที่ล้ำสมัยเหล่านี้ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ ช่วยลดการบาดเจ็บในสถานที่ทำงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน        โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตในประเทศไทยใช้แรงงานมนุษย์และหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  จะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์แบบเดิมให้ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่น  และความรู้ในโลกแห่งความเป็นจริง ในขณะที่หุ่นยนต์โคบอทให้ความสามารถในการทำซ้ำ ความแม่นยำ และความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมงต่อ 7 วัน”

นายแมคคิว กล่าวสรุป