November 24, 2024

เอสเอพี แนะองค์กรภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูล

เอสเอพีประกาศความตั้งใจในการใช้ประโยชน์จาก ดิจิตอลคอร์ (digital core) เทคโนโลยีแห่งอนาคต และความเชี่ยวชาญด้าน ERP ขององค์กร เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นธุรกิจดิจิตอลที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้และฉลาดขึ้น นี่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์โดยรวมของบริษัทในการขับเคลื่อนแผนงานด้านนวัตกรรม รวมถึงการสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลและการใช้งานคลาวด์ผ่านโซลูชั่นต่างๆ ของเอสเอพี

นายเคลาส์ แอนเดอร์เซ่น ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ ของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ในขณะที่ภาครัฐบาลและเอกชนในภูมิภาคอาเซียนกำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนโดยระบบดิจิตอลตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน ปี 2563 (ASEAN ICT Masterplan 2020 – AIM 2020) เรามองเห็นโอกาสมากมายสำหรับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Data) ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจดิจิตอลเอ็นเตอร์ไพรซ์ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลปัจจุบัน เอสเอพีช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ผ่านข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ สู่การมอบประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจให้กับลูกค้า พนักงาน และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ

AIM 2020 คือแผนแม่บทที่ถูกสร้างขึ้นและได้รับการอนุมัติโดยกลุ่มรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศจากประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2558 ในที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ASEAN Telecommunications and IT Ministers Meeting) ครั้งที่ 15 ณ ประเทศเวียดนาม โดยแผนดังกล่าว นำเสนอคู่มือสำหรับหน่วยงานภาครัฐบาลและธุรกิจต่างๆในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 5 ปี ระหว่างปี 2559 – 2563

ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่แนวคิThailand 4.0 โดยหนึ่งในสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดคือ การเปลี่ยนประเทศไทยสู่การเป็น ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือ สิ่งนี้สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ มากมายสำหรับธุรกิจต่างๆ ในการปลดล็อคศักยภาพของตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าสู่ยุคเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลสำรวจจากไอดีซี พบว่า องค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปดำเนินการต่อได้ จะส่งผลให้องค์กรเหล่านั้นสามารถเพิ่มรายได้จากการผลิตได้มากขึ้นถึง 4.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 14 ล้านล้านบาท (ทั่วโลก)ภายในปี 2563 นายชวี คาน ฉัว ผู้อำนวยการแผน Global Research, BDA and Cognitive/AI กล่าวว่า ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มมีการดำเนินงานแบบดิจิตอลและทำงานเชื่อมต่อกันมากขึ้น จำนวนและรายละเอียดของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นในธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ รวมถึงสื่อมัลติมีเดีย โซเชียลมีเดีย และอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (ไอโอที) จะส่งผลให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาลในอนาคตอันใกล้ ทั้งภาครัฐบาลและธุรกิจจึงต้องมีความพร้อมในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีและเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นให้กลายเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาและจำนวนลูกค้าที่มีมากขึ้น  

นิยามการเป็นผู้นำด้านดิจิตอล

ผลการศึกษาล่าสุดจากเอสเอพี สนับสนุนโดย Oxford Economics ที่ชื่อ การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลในกลุ่มผู้บริหารทั่วโลกของเอสเอพี: 4 วิธีสำหรับผู้นำองค์กรในการสร้างความแตกต่าง (4 Ways Leaders Set Themselves Apart) จากการทำสำรวจกับผู้บริหารระดับสูงจาก 17 ประเทศในหลากหลายภูมิภาครวมไปถึงผู้นำองค์กร 195 รายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า 84% ขององค์กรทั่วโลกมองว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจในอีกห้าปีข้างหน้า แต่มีองค์กรเพียง 3% เท่านั้น ที่เปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว โดยผลการศึกษาดังกล่าว ได้ถูกเผยแพร่ที่งาน SAP Asian Innovators Summit (AIS) ในวันที่ 8 สิงหาคม ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยผลการศึกษาได้ระบุถึงความท้าทาย โอกาส คุณค่า และเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

002

สำหรับประเทศไทย หลายองค์กรมีการเริ่มต้นเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีการคาดการณ์ว่า การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีจะสูงขึ้น 7% ในปีนี้เนื่องมาจากความต้องการของดีไวซ์และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไอดีซี ประเทศไทยยังคาดการณ์ว่าตัวเลขการลงทุนดังกล่าวจะแตะที่ 5 แสนล้านบาทภายในปี 2563 และเกือบ 30% ของธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรซ์ชั้นนำ 500 รายในประเทศไทย จะพึ่งพาธุรกิจของตนบนความสามารถในการขยายผลิตภัณฑ์ การให้บริการ และประสบการณ์ของผู้บริโภคด้วยระบบดิจิตอลมากยิ่งขึ้น

นายลีเฮอร์ ออบิซูร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า เทคโนโลยีได้กลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการเปลี่ยนวิธีการทำงานของธุรกิจต่างๆ ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลทุกวันนี้ และจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำองค์กรต่างๆ จะต้องมีความเข้าใจ และสามารถปรับวิธีการดำเนินธุรกิจให้ได้ ก่อนที่จะถูกคู่แข่งนำหน้า ซึ่งการพัฒนาความสามารถด้านดิจิตอลโดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กร จะช่วยให้ธุรกิจในประเทศไทยกลายเป็นผู้นำดิจิตอลที่แท้จริงได้

Digital Business Framework 06 08 17-2

ยกระดับลูกค้าสู่เส้นทางการเป็นองค์กรดิจิตอล

เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากขุมพลังของข้อมูลและยกระดับการเป็นองค์กรดิจิตอลเอ็นเตอร์ไพรซ์ได้อย่างสมบูรณ์ ล่าสุดเอสเอพีได้เปิดตัวชุดโซลูชั่นไอโอทีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ SAP Leonardo ชุดโซลูชั่นนวัตกรรมดิจิตอล (Digital Innovation System) โดยโซลูชั่นไอโอทีนี้จะใช้ความสามารถที่ก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่าง บิ๊กดาต้า และอนาลิติกส์, ความสามารถในการเชื่อมต่อผู้คน สิ่งของ และธุรกิจเข้าด้วยกันผ่าน SAP Cloud Platform และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น machine learning เพื่อสนับสนุนให้แนวคิดด้านไอโอที และอุตสาหกรรม 4.0 ให้สามารถเกิดขึ้นได้จริงทั้งในธุรกิจโลจิสติกส์, การผลิต และการบริหารจัดการทรัพย์สินในองค์กร

โดยชุดโซลูชั่นดังกล่าว ประกอบด้วย:

·      SAP Leonardo IoT Bridge ศูนย์สั่งการดิจิตอลที่สามารถกำหนดค่าในการทำงานได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานและสามารถตอบสนองได้ทันทีแบบเรียลไทม์

·      SAP Global Track and Trace โซลูชั่นคลาวด์ที่ช่วยจัดการเครือข่ายธุรกิจซัพพลายเชนได้แบบองค์รวม ตั้งแต่การติดตามผลตั้งแต่ต้นจนจบไปจนถึงการมอนิเตอร์และรายงานผลการทำงานของสิ่งของและขั้นตอนการดำเนินงานของธุรกิจโดยรวม

·      SAP Leonardo IoT Edge ซอฟต์แวร์ที่มอบความสามารถในการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และความสามารถในการทำ business semantics บนคลาวด์ ให้กับดีไวซ์อัจฉริยะต่างๆ ที่อยู่นอกดาต้า เซ็นเตอร์ โดยทำให้ธุรกิจดำเนินงานได้ในลักษณะใกล้เรียลไทม์

·      SAP Digital Manufacturing Insights โซลูชั่นการบริหารจัดการประสิทธิภาพการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตบนคลาวด์แบบรวมศูนย์ ช่วยมอบการมองเห็นกระบวนการทำงานด้านการผลิตแบบครอบคลุม ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

·      SAP Asset Manager โมบายแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ สำหรับการบริหารจัดการสภาพทรัพย์สิน (asset health), สินค้าคงคลัง (inventory), การบำรุงรักษา (maintenance) และความปอดภัย (safety)

ก้าวสู่การเป็นธุรกิจโลจิสติกส์แบบดิจิตอล ด้วย SAP Leonardo ที่มอบทั้งการมองเห็น, ข้อมูลเชิงลึก, และผลกระทบต่อการทำธุรกิจ

SAP Leonardo IoT Bridge คือศูนย์ปฏิบัติการแบบไลฟ์ ซึ่งทำหน้าที่ควบรวมและเชื่อมต่อข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์ไอโอทีเข้ากับกระบวนการดำเนินธุรกิจและข้อมูลในลักษณะที่มีและไม่มีโครงสร้าง นอกจากนี้ยังมี SAP Global Track and Trace ซึ่งคือโมเดลที่ช่วยติดตามการดำเนินธุรกิจที่ถูกสร้างขึ้นบนโครงสร้างบิ๊ก ดาต้า เพื่อรองรับข้อมูลและการรับส่งข้อมูลในปริมาณสูง โดยจะแบ่งปันข้อมูลระหว่างพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจต่างๆ ในเครือข่ายการจัดหา (supply)

ทั้งสองโซลูชั่นดังกล่าว เมื่อทำงานร่วมกัน จะช่วยให้จำลองสถานการณ์การทำงานภายในส่วนต่างๆ ขององค์กรได้ เช่น แผนกโลจิสติกส์ขาออก  (outbound logistics) ด้วยการใช้ข้อมูลการส่งมอบสินค้า การขนส่งสินค้า หมายเลขการส่งมอบสินค้า และหมายเลขยานพาหนะที่ได้จาก SAP Global Track and Trace รวมเข้ากับข้อมูลที่ได้จากซอฟต์แวร์ SAP Connected Goods เช่น ข้อมูลจากเซ็นเซอร์บนแท่นวางสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์, ข้อมูลที่อยู่ในการจัดส่งที่ได้จากแอพพลิเคชั่น SAP Vehicle Insights, และข้อมูลออเดอร์สั่งซื้อที่ได้จากซอฟต์แวร์ SAP S/4HANA® ที่อยู่ในระบบคอร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ขององค์กร SAP Leonardo IoT Bridge จะสามารถมอบการมองเห็นการดำเนินการธุรกิจแบบทั้งข้ามกระบวนการ และข้ามระบบ ในทุกภาคส่วนขององค์กรเอ็นเตอร์ไพรซ์ ซึ่งจะช่วยให้ศูนย์สั่งการและผู้นำภาคปฏิบัติการสามารถระบุได้ทันที เมื่อต้องการทราบว่า ขณะนั้นสินค้าที่ถูกจัดส่งอยู่ที่ไหนแล้ว หรือมีสินค้าอะไรบ้างที่อยู่ในการจัดส่งครั้งนั้นๆ รวมไปถึงสามารถระบุได้ว่า เงื่อนไขในการจัดส่งและประสิทธิภาพในการจัดส่งของพาหนะนั้นๆ เป็นอย่างไร

เอสเอพี ได้ร่วมสร้างนวัตกรรมด้านดิจิตอล โลจิสติกส์ กับบริษัทชั้นนำมากมายทั่วโลก รวมถึง The Bosch Group บริษัทผู้จัดหาเทคโนโลยีและการให้บริการระดับโลก ซึ่งมีพนักงานกว่า 390,000 รายทั่วโลก โดย Bosch และเอสเอพี ได้ร่วมกันสร้างโครงการสำหรับการติดตามการส่งมอบสินค้า ด้วยการทำงานแบบ cloud-to-cloud บนแพลตฟอร์มที่มีขื่อว่า Bosch IoT Cloud 

อุตสาหกรรมการผลิตแบบดิจิตอล, อุตสาหกรรม 4.0 จากการประมวลผลอันชาญฉลาดที่ส่วน Edge

SAP Leonardo IoT Edge ใช้โครงสร้างคอนเทนเนอร์จาก SAP Cloud Platform IoT services เพื่อมอบการทำงานที่ไหลลื่นร่วมกับการใช้งานโซลูชั่นสำหรับสายธุรกิจอื่นๆ เช่น SAP Digital Manufacturing Insights ซึ่งเป็นโซลูชั่นคลาวด์ที่มาพร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลหลายชั้น เพื่อการมองเห็นอุตสาหกรรมการผลิตได้ในหลายๆ ขั้นตอน ทั้งยังช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อกับฝ่ายผลิตที่ไหลลื่นและปลอดภัย สิ่งนี้จะช่วยให้ข้อมูลที่มีความสำคัญสูงสามารถซ้อนทับกับข้อมูลด้านอื่นๆของธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดการตัดสินใจทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อทำงานร่วมกัน โซลูชั่นด้านอุตสาหกรรมการผลิต และไอโอที จากเอสเอพี จะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการด้านการปฏิบัติการที่เชื่อมต่อกัน และเกิดการวางกลยุทธ์อุตสาหกรรม 4.0 ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยไอโอที

จากความร่วมมือกับ Apple ของเอสเอพี ส่งผลให้ SAP Asset Manager ช่วยให้บุคลากรผู้มีทักษะจำนวนมาก สามารถระบุขั้นตอนการบริหารจัดการสินทรัพย์หลัก ทั้งนี้แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรเอ็นเตอร์ไพรซ์ดังกล่าว ยังใช้งานได้ง่าย และสามารถใช้งานได้ผ่าน SAP Fiori® บนระบบ iOS 

เอสเอพีมีจุดมุ่งหมายในการเชื่อมต่อกับโซลูชั่นดิจิตอลต่างๆ และต่อยอดความสามารถด้านไอโอทีของ SAP Leonardo เช่น SAP Asset Intelligence Network และ SAP Predictive Maintenance and Service เพื่อขยายขีดความสามารถในการบริหารจัดการสินทรัพย์, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานผ่านดีไวซ์ต่างๆ พร้อมทั้งเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบนิเวศของไอโอที และเครือข่ายนักพัฒนาต่างๆ