May 16, 2024

MIT คิดค้น PhotoGuard ป้องกันการนำภาพไปทำ Deepfake

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี AI ทำให้เกิดเครื่องมือที่สร้างความหวั่นวิตกให้คนทั่วไปมากมาย ตัวอย่างเช่น การทำภาพหรือวิดีโอปลอมโดยใช้ Deepfake ตัดต่อภาพบุคคลไปใส่ในภาพหรือวิดีโออื่น ที่มีความความคมชัดสูง และท่าทางที่สมจริง จนอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ หรือละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น หลายคนน่าจะเบาใจได้แล้ว เมื่อนักวิจัยของ MIT คิดค้นเทคนิคใส่ลายน้ำ ป้องกันไม่ให้คนอื่นนำภาพของเราไปใช้ทำ Deepfake ได้แล้ว

โดยฮาดี ซัลมาน นักศึกษาปริญญาโทจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT พัฒนา PhotoGuard เพื่อป้องกันการทำภาพหรือวิดีโอปลอมด้วย Deepfake

PhotoGuard คือเทคนิคการการป้องกันรูปภาพด้วยการใส่ลายน้ำหรือลายเซ็นดิจิทัลของรูปภาพ ซึ่งจะทำให้ AI ไม่สามารถแปลงภาพได้อย่างสมบูรณ์

ในตัวอย่างสาธิตการทำงาน เป็นภาพถ่ายแสดงนักแสดงตลกทางโทรทัศน์ของสหรัฐฯ เทรเวอร์ โนอาห์ และไมเคิล คอสตาที่การแข่งขันยูเอสโอเพ่น

ภาพแถวบนจะเป็นถ่ายต้นฉบับที่ไม่มีการป้องกัน จึงสามารถตัดต่อและสร้างภาพปลอมได้อย่างแนบเนียน

ขณะที่ภาพแถวล่าง เป็นภาพที่ใส่ลายน้ำด้วย PhotoGuard เมื่อให้ AI แปลงภาพ จะพบว่าไม่สามารถทำได้เนียนเมื่อก่อนแล้ว

เมื่อมีการพัฒนาสมบูรณ์ PhotoGuard ติดตั้งเป็นฟังก์ชันหนึ่งของกล้องถ่ายภาพหรือแอปแต่งรูปในอนาคตก็ได้

ที่มา : theregister