May 10, 2024

รายงานผลการวิจัยของ Financial Times ระบุว่าสองในสามของธนาคารในเอเชียแปซิฟิกจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดหากไม่ปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

รายงานฉบับใหม่จากแพลตฟอร์มการธนาคารบนระบบคลาวด์ Mambu และ The Financial Times Focus (FT Focus) ระบุว่าสองในสามของธนาคาร (67%) เชื่อว่าตนจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดภายในสองปีหากยังไม่ปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัล

รายงานชื่อว่า ‘Evolve or be extinct’ ซึ่งจัดทำโดย FT Focus ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารธนาคารอาวุโส 500 คนทั่วโลกเพื่อรับรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่ออุตสาหกรรมการธนาคาร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ผลลัพธ์เผยให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ธนาคารจะต้องเร่งปรับปรุงการนำเสนอบริการของตนให้ทันสมัย โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 58% คนทั่วโลกคาดการณ์ว่า ธุรกิจของตนจะสูญหายไปโดยสิ้นเชิงในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้าหากไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ

เมื่อดูที่เอเชียแปซิฟิกเป็นหลัก รายงาน FT Focus ระบุว่าภูมิภาคนี้ล้าหลังภูมิภาคอื่นในแง่ของการปฏิรูป อย่างไรก็ตาม ธนาคารในเอเชียแปซิฟิกกำลังดำเนินขั้นตอนเพื่อ ‘ตามให้ทัน’ ภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก โดยมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนด้านบิ๊กดาต้า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และบล็อกเชน ในอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อย่างมาก

คุณไมลส์  เบอร์ตรานด์  กรรมการผู้จัดการ Mambu ประจำทวีปเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การวิจัยแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการธนาคารกำลังใช้วิธีการที่แตกต่างกันในการปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัล แม้ว่าธนาคารในเอเชียแปซิฟิกไม่ถึงหนึ่งในสามอธิบายว่ากลยุทธ์การปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัลของตนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่หรือเป็นแบบขั้นสูงแล้ว แต่ก็ยังมีกลุ่ม ‘นักวิวัฒนาการ’ ทางดิจิทัลเกิดใหม่ที่เป็นผู้นำเทรนด์และอยู่ในแถวหน้าอย่างแท้จริง ผู้เล่นที่มีแนวคิดก้าวหน้าเหล่านี้กำลังสร้างพิมพ์เขียวให้อุตสาหกรรมส่วนที่เหลือเดินรอยตามควบคู่ไปกับแนวทางการใช้งานทางธุรกิจที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

“และแม้ว่าธนาคารในเอเชียแปซิฟิกจะให้คำมั่นสัญญาอย่างหนักแน่นว่าจะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ธนาคารในภูมิภาคนี้ยังจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการนำนวัตกรรมมาใช้ด้วย และเริ่มร่วมมือกับพันธมิตรรายใหม่ ๆ โดยใช้แนวทางแบบ ‘ระบบนิเวศ’ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อในภูมิภาคอื่น ๆ และยิ่งธนาคารในเอเชียแปซิฟิกกว่าครึ่งมีข้อกังวลว่าพนักงานของตนขาดทักษะบางอย่างที่จำเป็นต่อการปฏิรูป แนวทางนี้ก็น่าจะมีประสิทธิภาพในภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกัน”

คุณเกียรติพงศ์ หาญไทยผลดี ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย ของ Mambu กล่าวเสริมว่า: “เราทราบว่าผู้บริโภคในเมืองไทยมีความต้องการระบบธนาคารดิจิทัลเป็นอย่างมาก และเราได้เห็นอุตสาหกรรมนี้ตอบสนองด้วยการเปิดตัวโซลูชันการเงินดิจิทัลมากมาย ตั้งแต่เทคโนโลยีการชำระเงินบนมือถือ ไปจนถึงการใช้คิวอาร์โค้ดในการทำธุรกรรม และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย โซลูชันเหล่านี้ทำให้ธนาคารต้องรับมือกับปริมาณการทำธุรกรรมที่สูง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงต้องมีการกำหนดการออกใบอนุญาตการธนาคารดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย นี่คือการแข่งขัน และธนาคารชั้นนำในประเทศไทยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแผนรองรับการปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัลทั่วทั้งองค์กร หรือการเปิดตัวหน่วยงานธนาคารดิจิทัลแยกต่างหาก ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงการถูกทำให้หมดโอกาสในการดำรงอยู่โดยคู่แข่งด้านดิจิทัลที่ไหลทะลักเข้ามา ”

สองในห้า (40%) ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกกล่าวว่า พวกเขาต้องการที่จะปรับปรุงบริการบนแพลตฟอร์มของตนให้ทันสมัยหลังวิกฤติโควิดคลี่คลาย โดยร่วมมือกับผู้ให้บริการจากภายนอกเพื่อพัฒนาบริการการธนาคารแบบพลั๊กแอนด์เพลย์ที่ทำงานบนระบบที่ยืดหยุ่นและเป็นอิสระ การปรับปรุงโครงสร้างที่ทำงานบนแพลตฟอร์มให้ทันสมัยและการลงทุนด้านความสามารถของข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทที่มีความก้าวหน้าด้านดิจิทัลแตกต่างจากธนาคารอื่น ๆ

คุณเอลเลียต  ลิมบ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าของ Mambu กล่าวว่า: “ช่วง 18 เดือนที่ผ่านมาได้แสดงให้ธนาคารเห็นว่าการมีบริการธนาคารดิจิทัลที่แข็งแกร่งและคล่องตัวมีความสำคัญมากแค่ไหน โดย 53% ของผู้ตอบแบบสำรวจยอมรับว่าตนกำลังเสี่ยงต่อการพลาดเป้าหมายด้านการปฏิรูปไปสู่ระบบดิจิทัล และถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรมนี้จะต้องให้ความสำคัญแก่ ‘นักวิวัฒนาการ’ ทางการเงินที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านนี้ ซึ่งได้แก่ บริษัทฟินเทค Challenger Bank (ธนาคารที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างแพร่หลาย) และธนาคารแบบเดิมที่มีหัวคิดก้าวหน้าซึ่งให้ความสำคัญกับบริการตามวัตถุประสงค์และการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้า”

รายงานนี้ยังเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าที่เชื่องช้าและความท้าทายที่ธนาคารต้องประสบในขณะที่เปลี่ยนผ่านจากบริการการธนาคารแบบดั้งเดิมและแบบเก่าไปสู่ธนาคารแบบดิจิทัล

ด้วยการที่ผู้นำธนาคารเกือบหนึ่งในสี่เรียกกลยุทธ์ดิจิทัลของตนว่าอยู่ใน ‘ช่วงแรกกำเนิด’ หรือ ‘ช่วงการสำรวจ’ ผลการสำรวจจึงสะท้อนให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันมากขึ้นภายในชุมชนการธนาคาร รวมทั้งโอกาสสำหรับผู้เล่นที่มีหัวคิดก้าวหน้าที่จะเปิดรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านระบบนิเวศฟินเทค