November 24, 2024

NIA สร้างทักษะนวัตกรรมให้ครูไทยในงาน “EDUCA 2019” จัดเวิร์คชอป “STEAM4INNOVATOR”

NIA สร้างทักษะนวัตกรรมให้ครูไทยในงาน “EDUCA 2019”
จัดเวิร์คชอป “
STEAM4INNOVATOR”

ขั้นตอนสร้างนวัตกร ต่อยอดพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย

นอกจากระบบการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยหลักวิชาและองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว การสร้างแนวคิด “สร้างสรรค์” และการเรียนรู้ฝึกฝนกระบวนการสร้าง “นวัตกรรม” เป็นสิ่งที่ครูและบุคลากรทาง การศึกษายุคนี้ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมและนำไปส่งต่อให้กับนักเรียนนักศึกษาของเราได้ อีกทั้งหากเรามีความสามารถในการนำ “นวัตกรรม” มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนและความสามารถในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมก็จะช่วยยกระดับการศึกษาและเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมให้กับเยาวชนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนงาน “EDUCA 2019  หรือ มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 12  ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด “พลังของชุมชนแห่งการเรียนรู้” (The Power of Learning Community) พร้อมจัดกิจกรรมสัมมนาและเวิร์คชอปฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรรมตามกระบวนการ “STEAM4INNOVATOR” ให้กับกลุ่มครูอาจารย์ที่มาร่วมงานตลอด วัน ที่ผ่านมา

นางสาวปัทมาวดี พัวพรหมยอดผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA (Miss Pattamawadee Phuaphromyod, Innovation Counselling Manager, Innopreneurship Development Department of National Innovation Agency) เผยว่า “EDUCA เป็นงานที่รวมครูอาจารย์ที่มีคุณภาพไว้มากมาย และมีการนำเสนอสาระคอนเทนต์และกระบวนการสอน ที่อัพเดททันสมัยให้กับกลุ่มครูอาจารย์ที่สนใจในการพัฒนาตนเองและพัฒนากระบวนการสอนในสถานศึกษาของตนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่ NIA นำมาเสริมให้ในบทบาทของหน่วยงานสนับสนุนการสร้างธุรกิจนวัตกรรมในประเทศ แน่นอนก็ต้องคือ กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการพัฒนาความคิดเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ชื่อว่า STEAM4INNOVATOR ซึ่งครูอาจารย์สามารถเรียนรู้และนำกลับไปฝึกฝนจนชำนาญเพื่อนำไปสอนลูกศิษย์ให้มีกระบวนการคิดที่ต่อยอดเป็นนวัตกรรมได้ ซึ่ง STEAM4INNOVATOR จะเป็นกระบวนการ ขั้นตอน ที่นอกจาก มุ่งใช้สร้างนวัตกรรมแล้ว เรายังสามารถนำไปปรับใช้ในการวิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาทุกๆ โจทย์ที่เราจะต้องเจอในชีวิตประจำวันได้ด้วย มองปัญหาให้เป็นโอกาสในการคิดสร้างสรรค์ คิดโซลูชั่น และเราอาจสร้างนวัตกรรม  ที่ยิ่งใหญ่ได้จากโจทย์หรือช่องว่างเล็กๆ ที่คนอื่นมองไม่เห็น”

STEAM4INNOVATOR คือ แนวทางการพัฒนาศักยภาพ ที่ใช้พื้นฐานความรู้ด้าน STEAM ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (Science)เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), ศิลปะ (Artและคณิตศาสตร์ (Mathematics) ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผ่านกระบวนการ ขั้นตอน ได้แก่ Insight รู้ลึกรู้จริง, Wow! Idea คิดสร้างสรรค์ไอเดีย, Biz model แผนพัฒนาธุรกิจ และ Production & Diffusion การผลิตและการกระจาย โดย Innovator คือ นวัตกร หรือ ผู้สร้างนวัตกรรม จะต้องมี คุณลักษณะเด่น คือ มีแรงบันดาลใจมีจินตนาการมีความคิดสร้างสรรค์สามารถบูรณาการได้ และลงมือทำจริง

อย่างไรก็ตามทั้ง ขั้นตอน ประกอบไปด้วยหลากหลายเครื่องมือที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามทางที่ถนัด อาทิ ขั้นตอนที่ 1 รู้ลึกรู้จริง – เราต้องรู้ลึก และต้องรู้จริง ว่าลูกค้าเป็นใคร และปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เพราะบางครั้งสิ่งที่เรารู้อาจจะเป็นมุมเราที่เห็นคนเดียว ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้นการหา Insight ที่แท้จริงของลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราเห็นปัญหาที่จะหยิบมาแก้ไขได้ชัดเจน ซึ่งเราสามารถหา insight ได้ วิธีคือ Immersion ลองด้วยตนเอง, Observation การสังเกต และ Interview การสัมภาษณ์ ซึ่งวิธีสุดท้ายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลจากลูกค้าเป้าหมายถ้าเราสามารถตั้งคำถามได้ดี เนื่องจากเราจะรู้ Pain point หรือปัญหาจริง จากการสัมภาษณ์ ที่มาพร้อมการแสดงอารมณ์ความรู้สึก ตลอดจนอาจได้ Surprising Insight หรือประเด็นที่เราคาดไม่ถึง โดยเทคนิคในการถามที่ดีต้องไม่ใช่คำถามปลายปิด ต้องเปิดโอกาสให้คนถูกสัมภาษณ์ได้ใช้เวลาคิด ต้องเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด ที่สำคัญคือต้องพยายามเจาะลึกถึงปัญหาให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาแก้ไขได้อย่างตรงจุด

ขั้นตอนที่ คิดสร้างสรรค์ไอเดีย – เป็นการคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย โดยตั้งต้นจากการใช้โครงสร้างคำถาม How might we? เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อ…..เมื่อได้คำตอบแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือแก้ปัญหา ทั้งนี้การ Brain storm ระดมความคิดจากทีมงานในการแก้ปัญหามี 2 แบบ คือ Critical thinking (Yes, but…) การคิดเชิงวิพากษ์ คิดแบบมีวิจารณญาน และ Creative thinking การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Yes, and…) ซึ่งแบบที่ จะถูกใช้ให้มากเพื่อเป็นการสนับสนุนและต่อยอดความคิดเห็นของกันและกันขึ้นไป

ขั้นตอนที่ แผนพัฒนาธุรกิจ – ประกอบด้วย เรื่องสำคัญ คือ การหาเครือข่ายความร่วมมือ การทำผลงานต้นแบบ และการวางแผนธุรกิจอย่างครอบคลุมและรอบคอบ (Business model) ที่ต้องระบุได้ว่า กลุ่มลูกค้าคือใคร, คุณค่าที่มีต่อลูกค้า, ช่องทางการส่งคุณค่านี้ไปยังลูกค้า, การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า, วิธีการหาเงิน, ทรัพยากรที่ใช้, ขั้นตอนต่างๆ ในการสร้างคุณค่า, การหาความร่วมมือในการทำธุรกิจครั้งนี้ และต้นทุนมีอะไรบ้าง ทั้งนี้ ผลงานต้นแบบ (Prototype) ที่เราต้องทำขึ้นก่อนในขั้นตอนนี้ ก็เพื่อทดสอบไอเดียและสมมติฐานที่เรามีกับลูกค้า ซึ่งผลงานต้นแบบนี้ ต้องจับต้องได้และสร้างประสบการณ์การใช้งานเสมือนได้ เพื่อขอรับข้อคิดเห็นในการปรับปรุงงานให้ดึงดูดความสนใจลูกค้าได้มาก ดังนั้น หัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์ต้นแบบคือ “การดึงจุดขาย”

ขั้นตอนที่ การผลิตและการกระจายสินค้า – เป็นการสร้างมูลค่าผลงานนวัตกรรมออกสู่ตลาดจริง โดยนำผลงานที่พัฒนาจากขั้นตอนที่มาผลิตจำหน่าย รวมถึงการนำเสนอเพื่อขายไอเดียให้กับนักลงทุน ทั้งนี้ทริคในการหยิบประเด็นการนำเสนอ สามารถใช้ “Star model” คือพูดถึง Situation สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Pain point หรือปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย, Task ทางเลือกที่จะสร้างหรือพัฒนาคือสิ่งใดบ้างเพื่อแก้ปัญหา Pain point ข้างต้น, Action สิ่งที่เราลงมือทำหรือสร้างขึ้นคืออะไร ความพิเศษของนวัตกรรมของเราคืออะไร, และ Result ผลลัพธ์ของการใช้งาน หรือประโยชน์ของนวัตกรรมที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับ

“ทั้งนี้โปรแกรม STEAM4INNOVATOR เป็นหลักสูตรเสริมที่จะทำให้ครูมีความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดให้นักเรียนได้มีแนวคิดที่จะสร้างนวัตกรรมได้ดียิ่งขึ้น โดยหลักสูตรก็เป็นเรื่องของสาระเนื้อหากรอบการเรียน สิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่ต้องฝึกฝน คือ ส่วนของกระบวนการและวิธีคิดที่ได้รับการถ่ายทอด ฉะนั้นต่อไป “ครู” จะไม่ใช่แค่ ผู้ที่มาสอนหนังสือ แต่จะต้องเป็น “กระบวนกร” คือ เป็นผู้ที่ฝึกให้เด็กคิดและลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะเด็กให้เป็นคนช่างหาข้อมูล เป็นคนรอบรู้ ไม่ใช่เพียงช่างฟังและช่างจำ เพราะเมื่อเด็กถูกฝึกให้คิดและทำ กับโจทย์อื่นๆ ซ้ำๆ ก็จะช่ำชองในกระบวนการ และจะสามารถพัฒนาใช้ในการสร้างโอกาสจากปัญหาต่างๆ ที่พบในอนาคตต่อไปได้” นางสาวปัทมาวดี พัวพรหมยอด กล่าวปิดท้าย