AI ในอาเซียน
AI เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงมายาวนาน ซึ่งในอดีตดูจะเป็นเรื่องไกลตัวและเพ้อฝัน จนกระทั่งในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ AI เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก ผลการสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดย IDC บริษัทวิจัยการตลาดและให้คำปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของโลก ระบุว่าการนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้ในภูมิภาคอาเซียนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายบริษัทนำปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ได้อย่างอัจฉริยะของระบบคอมพิวเตอร์ (AI/Cognitive Intelligence) เข้ามาฝังไว้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น
มีผู้ตอบแบบสำรวจถึง 52% จัดลำดับให้ความต้องการค้นหาข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึกทางธุรกิจ (Business Insights) ได้ดีขึ้นเป็นพลังผลักดันที่สำคัญที่สุดในการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ เหตุผลนี้ถูกเลื่อนจากอันดับ 3 ในปีก่อนขึ้นมา เผยให้เห็นว่าตลาดในภูมิภาคนี้มีกำลังมีวุฒิภาวะ (Maturity) เพียงพอที่จะนำ AI มาช่วยขยายธุรกิจได้ เหตุผลอื่นในลำดับต้นๆ ที่เป็นตัวผลักดันการนำ AI เข้ามาใช้มีเรื่องของความต้องการเพิ่มความเป็นอัตโนมัติในกระบวนการทำงาน (51%) และปรับปรุงความสามารถในการผลิต (42%)
อินโดนีเซียเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของภูมิภาคในการนำ AI เข้ามาใช้ถึง 24.6% ขององค์กรทั้งหมดในประเทศ ตามด้วยอันดับสองคือประเทศไทย (17.1%) สิงคโปร์ (9.9%) และมาเลเซีย (8.1%) ประเภทการใช้งานในระดับต้นๆ ในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ใช้สร้าง Algorithm ในการคาดการณ์ตลาด (17%) และการบริหารจัดการสินทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นอัตโนมัติ (11%)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการนำ AI เข้ามาใช้จะสูงขึ้น แต่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน แต่ก็ยังตามหลังในภูมิภาคเอเชียเหนือ ในเรื่องของการกำหนดให้ AI เป็นวาระหลักในแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Agenda) ของตน อย่างเช่น มีบริษัทมากกว่า 80% ในประเทศจีนและเกาหลีใต้เชื่อว่าการที่ตนมีความสามารถในเชิง AI จะเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ (Critical) ต่อการประสบความสำเร็จและการมีความสามารถเชิงแข่งขันในอนาคตอันใกล้ เปรียบเทียบกับบริษัทที่เชื่อในเรื่องนี้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีไม่ถึง 40%
หันมาดูประเทศของเรา แม้จะอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน แต่จากการสำรวจพบว่า องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยตอบแบบสำรวจเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงอันดับแรกเลยว่าการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เป็นอุปสรรคที่สำคัญมากๆ ประกอบกับมีองค์กรส่วนใหญ่ในบ้านเรา เห็นว่าความสามารถของ AI เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการอยู่รอดในเชิงการแข่งขันขององค์กรของตนในอนาคต
ขอบคุณบทความดีๆ จากนิตยสาร CAT MAGAZINE