CAT มอบรางวัล “ที่สุดนวัตกรรมสมองกล” โครงการ TESA Top Gun Rally 2018 : Smart National Park 4.0
นายณัฏฐวิทย์ สุฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้แทนร่วม มอบรางวัลผลงานนักศึกษาที่ชนะเลิศ โครงการ “TESA Top Gun Rally 2018” การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “Smart National Park4.0” ให้แก่ ทีม Hookworms จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมเงินสดมูลค่า 50,000 บาท โดยรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ ทีม KU A Team จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีมชมพูพันธ์ทิพย์-2 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ณ ค่ายเยาวชนสุรัสวดี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้
ปีนี้โครงการ “TESA Top Gun Rally 2018” การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 12 จัดขึ้นภายใต้หัวข้ออุทยานแห่งชาติ 4.0 “Smart National Park” โดยมีนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกันประชันคิดค้นพัฒนาต้นแบบสมองกลฝังตัวเพื่อใช้งานในการแจ้งเตือนอัจฉริยะสำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดย กสท โทรคมนาคม (CAT) ให้การสนับสนุนโครงข่าย LoRaWAN โครงข่ายไร้สายที่ออกแบบเพื่อการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ช่วยให้อุปกรณ์สมองกลในโครงการดังกล่าวเชื่อมโยงสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ปีนี้โครงการ “TESA Top Gun Rally 2018” ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 12 โดยเป็นการเปิดเวทีให้กับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ร่วมกันประชันคิดค้นพัฒนาต้นแบบสมองกลฝังตัว เพื่อใช้ประโยชน์ในการแจ้งเตือนอัจฉริยะสำหรับอุทยานแห่งชาติ4.0 โดย CAT เป็นผู้สนับสนุนโครงข่าย LoRaWAN ซึ่งออกแบบเพื่อการใช้งาน IoT โดยเฉพาะให้ ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารของอุปกรณ์สมองกลในโครงการดังกล่าว อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการแข่งขัน
รางวัลชนะเลิศ : ทีม HookWorm จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : ทีม KU A Team จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
รองชนะเลิศอันดับ 2 : ทีมชมพูพันธ์ทิพย์-2 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
รางวัลชมเชย : ทีม See-It มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัล Top Score ประเภทต่างๆ มีดังนี้
- Top Score on Hardware Programming ได้แก่ทีม ชมพูพันธ์ทิพย์ – 2 จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- Top Score on Server Programming ได้แก่ทีม HookWorm จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดฯ กระบัง
- Top Score on Data Computing ทีมชมพูพันธ์ทิพย์ 2 จากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- Top Score on System Engineer ได้แก่ทีม HookWorm จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง และทีม KU A Team จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน
- Top Score on Presentation ได้แก่ทีม UTK Flight จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
นอกจากนี้ ก็มีรางวัลพิเศษ คือ รางวัล Friendship Award ที่ได้จากการโหวตของผู้เข้าประชันทักษะทุกคน ได้แก่ทีม Hook Worm จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง