เอ็นทีทีเผย เพียง 22.7% ของการทรานส์ฟอร์มทางดิจิทัล ในเอเชียแปซิฟิกเพิ่มประสิทธิภาพได้
หนึ่งปีนับจากการแพร่ ระบาดของโควิด-19 องค์กรต่างๆ ทั่วโลกเผชิญกับการเปลี่ ยนแปลงครั้งใหญ่ จนทำให้หลายองค์กรต้องเสริ มความแข็งแกร่ง เพิ่มความคล่องตัวและปรับเปลี่ ยนกระบวนการเพื่อให้ได้ประสิทธิ ภาพการทำงานที่ดีขึ้น โดยผลการวิจัยของบริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้ นนำระดับโลก เผยแพร่ในรายงาน 2021 Global Managed Services Report พบว่า 89.7 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารธุรกิ จและไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ กเห็นพ้องว่าโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคั ญในกระบวนการทำงาน โดย 91.8 เปอร์เซ็นต์ มองว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้องค์กรต้องเสริ มกลยุทธด้านกระบวนการทรานส์ฟอร์ มทางดิจิทัล (Digital Transformation)
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน และการเร่งให้เกิ ดกระบวนการทรานส์ฟอร์มทางดิจิทั ล เป็นโอกาสสำคัญที่องค์กรต่างๆ สามารถใช้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้ านเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกั บการดำเนินธุรกิจ โดย 92.4 เปอร์เซ็นต์ของทีมเทคโนโลยี จากทั่วโลกยอมรับว่า กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีขององค์ กรโดยรวมมีการปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิ จแทบทั้งหมด (49.8 เปอร์เซ็นต์) หรือบางส่วน (42.6 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทีมไอที สามารถตอบสนองความต้ องการขององค์กรที่เปลี่ ยนแปลงได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ที่เกี่ ยวข้องในการดำเนินธุรกิจหั นมาใช้บริการและโซลูชันที่บริ หารจัดการโดยฝ่ายไอที เช่น การสนับสนุนการใช้รู ปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ไปยั งกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น
แม้องค์กรมีการวางกลยุทธ์ที่ดี ขึ้น การขาดการเชื่อมต่อระหว่างส่ วนงานธุรกิจและฝ่ายไอทียังคงเป็ นประเด็นสำคัญ 69.9 เปอร์เซ็นต์ของทีมปฏิบัติ การจากทั่วโลก เชื่อว่าการมีกลยุทธ์ด้ านเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่ อนโอกาสทางธุรกิจอย่างมีประสิ ทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ ขณะที่มีเพียง 48.0 เปอร์เซ็นต์ของทีมไอทีเท่านั้ นที่เห็นด้วย นอกจากนี้ 69.6 เปอร์เซ็นต์ของทีมปฏิบัติการทั่ วโลก ยังมองว่าความเร็วและความคล่ องตัวเป็นองค์ประกอบสำคั ญในการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี แต่ 53.4 เปอร์เซ็นต์ของทีมไอทีกลับมี ความคิดเห็นในทางตรงข้าม
Damian Skendrovic รองประธานบริหารของ NTT Ltd. ให้ความเห็นว่า “โควิด-19 ทำให้เกิดความท้าทายที่คาดไม่ถึ ง ธุรกิจต่างๆ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้ องของการดำเนินธุรกิ จและระบบไอที รวมทั้งยังต้องทำให้ทุกคนในองค์ กรเข้าใจลำดับความสำคัญขององค์ กรของตน ฝ่ายไอทีอยู่ภายใต้แรงกดดั นมหาศาลที่จะต้องบริหารจั ดการระบบให้เป็นไปตามความต้ องการขององค์กรในปัจจุบัน อีกทั้งยังต้องวางแผนในการพั ฒนาระบบและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการใช้ งานในอนาคตไปพร้อมๆ กัน ด้วยเทคโนโลยีและความคล่องตัวที่ จะสนับสนุนการเจรจาทางธุรกิจ การจัดลำดับความสำคัญจึงไม่ใช่ ทางเลือกอีกต่อไป เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ จะช่วยสร้างความยั่งยื นและความมั่นคงของธุรกิจ”
Bold, brave, and resilient (กล้าเผชิญอย่างกล้ าหาญและความยืดหยุ่นคล่องตัว)
ในขณะที่องค์กรระดั บโลกพยายามเสริมความคล่องตัวให้ ธุรกิจ ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่ายังมี แนวทางการจัดการขององค์กรที่ แตกต่างกัน บางองค์กรมองว่าการเพิ่มประสิ ทธิภาพของต้นทุนเป็นวิธีเสริ มสร้างความคล่องตัวทางธุรกิจ ขณะที่หลายองค์กรให้ความสำคัญกั บความกล้าเผชิญความท้าทาย โดยมองว่าการแพร่ระบาดของโควิด- 19 เป็นโอกาสทางการตลาดที่องค์ กรสามารถใช้ประโยชน์ในการขยายธุ รกิจ ซึ่ง 33.8 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วโลกมุ่ งเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ อให้บรรลุเป้าหมาย
สิ่งที่น่าสนใจ คือตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 41.7 เปอร์เซ็นต์ หากองค์กรมีการบริหารจั ดการระบบไอทีโดยบริษัทผู้ให้บริ การจากภายนอกอย่างน้อยสามในสี่ ของระบบทั้งหมด ในทางกลับกัน หากองค์กรไม่มีการใช้บริ การการจัดการระบบไอทีจากภายนอก หรือมีเพียงเล็กน้อย ตัวเลขจะลดลงเหลือเพียง 25.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ISG หนึ่งในลูกค้าของเอ็นทีทีได้ แสดงวิสัยทัศน์ในการเป็นบริษั ทที่ให้บริการด้านการก่อสร้างที่ มีพลวัตมากที่สุดในโลก ด้วยการส่งมอบสิ่งก่อสร้างที่ช่ วยให้ผู้คนและธุรกิจเติบโต ภายใต้วิสัยทัศน์นี้ องค์กรจำเป็นต้องมีความหนักแน่ นและกล้าเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
“เนื่องจากเราได้วางจุดยืนองค์ กรเป็นบริษัทที่ให้บริการด้ านการก่อสร้างที่มีพลวัตมากที่ สุดในโลก เราจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิ ภาพองค์กรไอซีที โดยมุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ดิจิทัลใหม่ ๆ ภายใต้การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การทำงานร่วมกับ NTT Ltd. ทำให้เรามีการควบคุมเชิงกลยุทธ์ และมองเห็นภาพการปฏิบัติงานอย่ างสมบูรณ์และชัดเจน ซึ่งเราได้ วางใจในระบบการทำงานอัตโนมัติ และการรองรับปริมาณงานบน Microsoft Azure”
Skendrovic กล่าวว่า ปัจจุบันไม่ใช่ทุกองค์กรที่ มองว่า Disruption เป็นโอกาสทางธุรกิจ แต่อย่างน้อยหนึ่งในสามได้มี การปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่จะได้ รับประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิ ดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่ วนการทำงานแบบกระจายศูนย์ และการนำเทคโนโลยีและนวั ตกรรมมาใช้
“ธุรกิจที่กล้าเผชิญความท้าทาย จะสามารถสร้างความคล่องตัวในรู ปแบบใหม่ การมีพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่ เชื่อถือได้จะช่วยให้องค์ กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้” Skendrovic กล่าว
ความต้องการในปัจจุบัน การส่งมอบในอนาคต – อยู่ที่ความเร็ว (Present needs, future delivery – at speed)
รายงานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และความสามารถในการปรับใช้นวั ตกรรมได้อย่างรวดเร็วเป็นกลยุ ทธ์สำคัญที่ทำให้ธุรกิ จประสบความสำเร็จในอนาคต ผลการสำรวจพบว่า 93.9 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารธุรกิ จและไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เห็นว่าเทคโนโลยีใหม่มีความสำคั ญต่อการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี ขณะที่ 43.6 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าพวกเขามีเทคโนโลยีที่ สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ ขององค์กรได้ทันที
กระนั้นความเชื่อดังกล่าว อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดขององค์ กรระดับโลกจำนวนไม่น้อย เนื่องจากธุรกิจจำเป็นต้องสร้ างสมดุลสำหรับความต้องการในปั จจุบัน ขณะที่ยังต้องลงทุนในเทคโนโลยี และการปรับปรุงกระบวนการให้มี ความทันสมัยเพื่อสร้ างโอกาสในการเติบโตและขยายธุรกิ จ ซึ่งนั่นหมายถึง ความกล้าในการเผชิญความท้ าทายใหม่
“การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็ นแรงกดดันให้กับทีมไอที ขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกั บธุรกิจคาดหวังว่าจะใช้ความคล่ องตัวในการดำเนินงาน ทีมไอทีจึงต้องรับมือกับความท้ าทายต่างๆ นับตั้งแต่การจัดการความซับซ้ อนของผู้ขายที่มี การนำเสนอการผสานรวมของระบบที่ แตกต่างกัน การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ โครงสร้างพื้นฐานแบบเก่า จนถึงข้อจำกัดด้านงบประมาณ และการขาดทักษะในการก้าวให้ทั นกับความต้องการทางธุรกิจ” Skendrovic กล่าว
เนื่องจากความเร็วในการออกสู่ ตลาดเป็นปัจจัยในการสร้ างความแตกต่างทางการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพการทำ Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญ องค์กรที่มีความกล้าเผชิญความท้ าทายใหม่ๆ มีโอกาสที่จะเพิ่มประสิทธิ ภาพความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และการเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริ การด้านการจัดการไอทีก็ทำให้ องค์กรได้รับการสนับสนุนด้ านไอทีไปมากกว่าครึ่ง
การลดความกดดันของทีมไอทีด้ านการจัดการระบบโครงสร้างพื้ นฐานที่เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ระบบอัติโนมัติ บนแพลตฟอร์ม DevOps จะทำให้ ความพยายามในกระบวนการทรานส์ ฟอร์มทางดิจิทัลมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น โดยทีมไอทีสามารถมุ่งเน้นไปที่ การพัฒนานวัตกรรม ซึ่งจะส่งผลให้ระยะเวลาเฉลี่ ยนใจการซ่อมแซมระบบ(Mean Time to Repair: MTTR) ดีขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้ นทุนและพัฒนาปรับปรุงระบบอย่ างต่อเนื่องเพื่อรองรับการดำเนิ นธุรกิจ
“ขณะที่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้ นไม่ได้ส่งผลบวกเสมอไป จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่องค์ กรจำเป็นต้องตระหนักว่า การทรานส์ฟอร์มจะนำมาซึ่ งโอกาสใหม่สำหรับการเสริมสร้ างความคล่องตัวขององค์กร การขยายธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรม” Skendrovic กล่าวสรุป
ระเบียบวิธีวิจัย
รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นจากการสำรวจความคิดเห็ นองค์กร 1,350 แห่งใน 21 ประเทศ 6 ภูมิภาค 2020 โดยเป็นองค์กรในภูมิภาคเอเชี ยแปซิฟิก 330 แห่ง ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมู ลทางออนไลน์โดย Jigsaw Research ผู้ศึกษาวิจัยในนามของ NTT Ltd. ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้มี อำนาจตัดสินใจทางธุรกิจและไอที และเป็นผู้ทรงอิทธิพลใน 15 ภาคอุตสาหกรรม