กลยุทธ์ความปลอดภัยแบบบูรณาการในการปฏิรูประบบดิจิทัล
ที่งานสัมมนาประจำปี “361o Security Conference” ที่ได้จัดขึ้นไปเมื่อเร็วๆ นี้ นายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทยแห่งฟอร์ติเน็ตได้เผยผลการสำรวจจากการปฏิรูประบบดิจิทัลประจำปีคศ. 2018 นี้ว่า มี 92% จากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกว่า 300 แห่งทั่วโลกที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่า การปฏิรูประบบดิจิทัลมีผลกระทบต่อการเลือกเทคโนโลยีคลาวด์ ไอโอที โมบิลิตี้สำหรับธุรกิจและในการเชื่อมโยงเข้ากับการปฏิบัติงานขององค์กรเป็นอย่างมาก
มีผู้ตอบจำนวน 85% ยอมรับว่าการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายเป็นอุปสรรคในการปฏิรูประบบดิจิทัลซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำงานของระบบไอทีที่แตกต่างและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการปฏิรูปนั้น ฟอร์ติเน็ตจึงแนะนำกลยุทธ์ความปลอดภัยแบบบูรณาการบนซีเคียวริตี้แฟบริค ที่สามารถให้ความปลอดภัยครอบคลุมและให้ศักยภาพในการเห็นภายในเครือข่าย อุปกรณ์และแอปพลิเคชั่นตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง ในงานนี้ ฟอร์ติเน็ตยังได้เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่ฟอร์ติพร็อกซี่ที่ช่วยให้องค์กรมีเว็ปเกทเวย์ที่ปลอดภัยและฟอร์ติเกตเอสดีแลนที่ช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังทุกที่นอกองค์กรที่ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั่วโลกกำลังใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ไอโอที โมบิลิตี้ในการปฏิรูประบบดิจิทัลของตนเองเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและผลประกอบการทางธุรกิจของตนให้ดีขึ้น ทางฟอร์ติเน็ตจึงได้ทำการสำรวจการปฏิรูประบบดิจิทัลประจำปีคศ. 2018 ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง (CISOs) ขององค์กรกว่า 300 แห่งทั่วโลก เพื่อให้สามารถเข้าใจในผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยเครือข่ายและไอที จึงได้เปิดเผยรายงานว่า มีผู้ตอบจำนวน 92% ยอมรับว่า การปฏิรูประบบดิจิทัลมีผลกระทบต่อการเลือกเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจและเชื่อมโยงเข้ากับการปฏิบัติงานขององค์กรเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ผู้ตอบจำนวน 85% ยอมรับว่าการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายเป็นอุปสรรคในการปฏิรูประบบดิจิทัลซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำงานของระบบไอทีที่แตกต่างและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการปฏิรูป ดังนั้น ฟอร์ติเน็ตจึงแนะนำกลยุทธ์ความปลอดภัยแบบบูรณาการบนซีเคียวริตี้แฟบริค ที่สามารถให้ความปลอดภัยครอบคลุมและให้ศักยภาพในการเห็นภายในเครือข่าย อุปกรณ์และแอปพลิเคชั่นตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง
นายชาญวิทย์ได้อธิบายว่า “ผลจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั่วโลกข้างต้น ทำให้ในปีคศ. 2018 นี้ ฟอร์ติเน็ตได้เน้นพัฒนาเทคโนโลยีในโซลูชั่นด้านความปลอดภัยสำหรับเครือข่าย 4 ประเภทด้วยกันคือ 1) ความปลอดภัยให้กับโครงข่ายขนาดใหญ่ (Infrastructure) โดยได้ยกระดับคุณสมบัติการป้องกันให้สูงมากขึ้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ครบต่อความต้องการมากขึ้น 2) เครือข่ายคลาวด์ (Cloud) ซึ่งปัจจุบันโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตได้รับการยอมรับในเครือข่ายคลาวด์ทั้งประเภทไพรเวท พับลิคและไฮบริดได้ โดยสามารถทำงานร่วมกับผู้ให้บริการระดับโลก ได้แก่ AWS, Azure และ Google Cloud Platform ส่งให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างกว้างขวางและง่ายดาย 3) เครือข่ายไอโอที (Internet of Things) อันเป็นเทรนด์สำคัญที่องค์กรใรทุกอุตสาหกรรมกำลังมุ่งไป และ 4) เครือข่ายโอที (Operational Technology) ซึ่งเป็นระบบปิดที่มีการใช้งานเฉพาะในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่นระบบไฟฟ้า น้ำประปา ที่ต้องการความต่อเนื่องของบริการ ซึ่งทั้งหมดนี้ ฟอร์ติเน็ตจะทำการตลาดในประเทศไทยโดยให้ความรู้ใหม่ๆ แก่ลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ ในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเครือข่ายทั้ง 4 กลุ่มข้างต้นอันเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูประบบดิจิทัลทั่วโลกนั้น ฟอร์ติเน็ตได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งในงานนี้เอง ฟอร์ติเน็ตถือโอกาสได้เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่สำหรับตลาดลูกค้าองค์กรในประเทศไทย ได้แก่ โซลูชั่นฟอร์ติพร็อกซี่ (FortiProxy) ที่ทำหน้าที่เป็นเว็ปเกทเวย์ที่ปลอดภัย (Secure Web Gateway) มาพร้อมคุณสมบัติครบถ้วนอาทิ การการกรองยูอาร์แอล กรองเว็บนอกเหนือจากการทำงานด้านเก็บและกระจายข้อมูล (Caching) ได้อย่างรวดเร็วในราคาที่เป็นเจ้าของได้ พร้อมโซลูชั่นฟอร์ติเกตเอสดีแวน (FortiGate SD-WAN) ที่เมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้ ทาง NSS Labs ได้จัดอันดับเรทติ้งว่า เป็นอุปกรณ์รายเดียวที่เป็นประเภทแนะนำให้ใช้ (Recommended rating) เนื่องจากมีครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดในอุตสาหกรรม โดดเด่นในคุณสมบัติที่สามารถช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นในการใช้เทคโนโลยีการขนส่งแบบใดก็ได้ร่วมกันเพื่อเชื่อมต่อผู้ใช้กับแอปพลิเคชัน รวมทั้งบริการบรอดแบนด์สาธารณะ โดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพหรือความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน