เทคโนโลยีพลิกโฉมสถานการณ์สู่ความสำเร็จของผู้ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาที่สำคัญในแวดวงธุรกิจค้าปลีก ในโลกยุคทางกายภาพและดิจิทัล ที่พัฒนาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าในการเชื่อมต่อทางมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งเป็นการเร่งการปรับใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) สำหรับภาคธุรกิจค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บรรดาร้านค้าปลีกที่ยังปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ไม่ทันอาจจะสูญเสียลูกค้าไปได้
ในโลกของอุตสาหกรรมเดินหน้าเพื่อขยายการเติบโตการค้าปลีกที่หลากหลาย สำหรับอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพของผลผลิต ความสามารถในการมองเห็นสินค้าคงคลัง และความพึงพอใจของลูกค้า ซีบรา เทคโนโลยีส์ได้ทำการสำรวจการค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2560 โดยมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อความพึงพอใจของลูกค้า ได้แก่ สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สินค้าที่ราคาถูกกว่าที่อื่น และสินค้าที่ต้องการไม่ได้วางจำหน่ายในร้านนั้นๆ
แต่หากเรามองไปในผลลัพธ์เชิงบวกแล้ว เราสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี บรรดาผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องมองหาอุปกรณ์ที่อัจฉริยะที่สามารถสนับสนุนธุรกิจของตนได้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT) เข้ามามีบทบาทสำคัญตั้งแต่หลังร้าน ซัพพลายเชน และในร้านค้า
ในปัจจุบันนี้ ร้านค้าจำนวนมากพบกับความท้าทายในเรื่องความสามารถในการมองเห็นสินค้าคงคลัง (in-store inventory visibility challenges) ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากผู้ค้าปลีกต่างเปิดร้านค้ามากขึ้น รวมทั้งการขยายธุรกิจร้านค้าไปยังตลาดต่างประเทศทำให้ธุรกิจต่างๆมีความหลากหลายด้วยช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเข้าถึงซัพพลายเชนอย่างรวดเร็ว
จากการรายงานพบว่า มีจำนวนเงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลกสูญหายไปเนื่องจากความไม่แน่นอนของสินค้าที่มีอยู่ในร้าน จำนวนสินค้าล้นสต็อค จำนวนสินค้าขาดตลาด และสินค้าที่มีจำนวนน้อยลง โดยบริษัท McKinsey & Company คาดการณ์ว่าจำเป็นต้องลดจำนวนสินค้าล้นสต็อคและสินค้าขาดสต็อค ซึ่งจะทำให้เราสามารถลดต้นทุนได้ถึง 10%
จากผลการศึกษาเรื่องการค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี2560 พบว่ามีจำนวน 68% ของผู้ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างวางแผนที่จะเริ่มมองหาช่องทางการลงทุนในอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT ) โดย พบว่ามีจำนวน 65 % จะลงทุนไปกับการเรียนรู้ทางด้านเครื่องจักรและระบบจดจำคอมพิวเตอร์ (Machine Learning/ Cognitive Computing) และ 57% จะลงทุนด้านการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนในการทำงาน
ผู้ค้าปลีกต่างนำยกระดับการมองเห็นสินค้าคงคลัง โดยการนำเครื่องจักรมาใช้แทนคนในการทำงานมาใช้ในซัพพลายเชน อ้างอิงจากผลสำรวจในปี 2564 พบว่ามี 73% ของผู้ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างวางแผนที่จะนำเสนอซัพพลายเชนในรูปแบบใหม่ด้วยการมองเห็นแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถทำได้โดยการนำเครื่องจักรมาใช้แทนการใช้แรงงานคนในการทำงาน ระบบเซนเซอร์ และการวิเคราะห์ข้อมูล
สำหรับเทรนด์การค้าปลีกแบบช่องทาง Omni-channel กำลังเข้าสู่รูปแบบ “ฟิจิทัล” สำหรับร้านค้าทางกายภาพได้กลายมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะเฟื่องฟูไปด้วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (จากนักช้อปจำนวน 7.9 ล้านผู้คนในปี 2559) ทว่าร้านค้าแบบดั้งเดิมนั้นยังถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ประสบการณ์การบริโภคในร้านค้าเป็นไปอย่างธรรมชาติ ผู้ค้าปลีกต่างเพิ่มเทคโนโลยีเข้าสู่ร้านค้า เปลี่ยนพื้นที่ทั้งหมดให้เป็นร้านค้าที่ทันสมัย โดยใช้ความรู้สึกที่ทำให้สามารถจับสถานที่และการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งได้อย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และสินทรัพย์ทั้งหลาย รวมทั้งการแปลข้อมูลดังกล่าวให้อ่านออกได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดการแข่งขันในทิศทางบวก ร้านค้าแบบฟิจิทัลนั้นหลอมรวมโลกที่สมบูรณ์แบบทั้งสองใบเข้าด้วยกัน ทั้งโลกของความพึงพอใจของกายสัมผัสของร้านค้าแบบฟิจิทัลและความเป็นธรรมชาติของอีคอมเมิร์ซ
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 76% ของผู้ค้าปลีกต่างผสมผสานอีคอมเมิร์ซและประสบการณ์ในร้านค้าให้เป็นเรื่องเร่งด่วนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งผลสำรวจไม่ได้ทำให้เราแปลกใจมากนัก 68% ของผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะติดตั้งเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือได้ และอีก 76% จะจัดสรรระบบเซนเซอร์ในการติดตามลูกค้า ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถทราบได้เมื่อมีลูกค้าเป้าหมายเข้ามาในร้านค้า ทำให้สามารถเตรียมการสำหรับลูกค้าแบบเป้าหมายที่มาเยี่ยมชมร้านค้าได้
ประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบกำหนดเองของผู้บริโภคถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการค้าปลีกแบบดิจิทัล ทั้งการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ บรรดาเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์นั้นต่างเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างมากด้วยการบันทึกข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการจับจ่ายของผู้บริโภคทำให้ผู้ค้าปลีกสามารถอ้างอิงไปยังสินค้าหรือการบริการที่มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อตอบสนองสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ
ในพื้นที่ทางกายภาพ บรรดาผู้ค้าปลีกต่างกำลังมองหาเทคโนโลยีการระบุพิกัดขนาดไมโครเพื่อค้นหาลูกค้าและเสริมสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคลแก่พวกเขา ตัวอย่างเช่น บีคอนส์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการติดตั้งในจุดติดต่อดิจิทัลของร้านค้า เช่น ชั้นวางป้าย ชั้นโชว์ผลิตภัณฑ์และที่สามารถโต้ตอบกับสมาร์ทโฟนของลูกค้าผ่านสัญญาณบลูทูธพลังงานต่ำ บีคอนส์สามารถส่งสัญญาณในสภาพแวดล้อมที่สัญญาณและสามารถเข้าถึงเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์กับลูกค้าหลายคนภายในร้านค้า ด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ระบุพิกัด สามารถช่วยให้ติดตามลูกค้าที่เข้ามาในร้าน และเกิดการผลิตข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น ผลิตภัณฑ์หรือหมวดหมู่ร้านค้าที่เคยจับจ่ายซื้อของเพื่อเพิ่มความต้องการและยอดขาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้าและรูปแบบการซื้อสินค้า และทำให้ร้านค้าปลีกสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เช่นการจัดเรียงผลิตภัณฑ์ที่ขายดีในลักษณะที่น่าสนใจมากขึ้น โดยแสดงในที่เห็นได้ชัดหรือเพิ่มระดับสินค้าคงคลัง
การวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญของการค้าปลีกแบบดิจิทัล โดยแบ่งกระบวนการออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเซนเซอร์จะรวบรวมข้อมูลดิบที่สร้างขึ้นจากแท็ก RFID วิดีโอและโทรศัพท์มือถือ ส่วนที่สอง จะมีการนำซอฟต์แวร์ที่มีความซับซ้อนมาใช้เพื่อแปลเหตุการณ์เหล่านี้ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงการปฏิบัติงานของร้านได้ในทุกวัน โดยวิธีนี้จะมีการใช้บุคคลในการจัดการ ด้วยการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผ่านข้อมูลเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในอดีตและกำหนดวิธีการปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลแบบดิจิทัลนั้นยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของร้านค้า แต่ทว่าในระยะยาวนั้นจะไม่มีข้อจำกัด ซึ่ง 72% ของผู้ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้โหวตให้การจัดการข้อมูลบิ๊กดาต้า (Big Data) เข้ามามีบทบาทสำคัญทางธุรกิจ
เราจะเป็นผู้กำหนดคลื่นลูกต่อไปของร้านค้าดิจิทัล ในขณะที่อุตสาหกรรมต่างมองเห็นการผสมผสานระหว่างร้านค้าแบบกายภาพและออนไลน์ในไม่กี่ปีถัดมา สำหรับผู้ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ต้องการแข่งขันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การเปิดรับเทคโนโลยีนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก ผู้ประกอบการหลายๆคนได้เริ่มเปิดรับเทคโนโลยีหรือบางคนอาจจะมีการวางแผนที่จะเพิ่มความสามารถผู้ทำงานระดับแนวหน้าด้วยการใช้เทคโนโลยี รวมทั้ง อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT ) เซนเซอร์การติดตาม การเชื่อมต่อ และเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น 86% ของผู้สำรวจแบบสอบถามต่างริเริ่มการวางแผนที่จะลงทุนในอุปกรณ์มือถือ ณ จุดขาย ซึ่ง 84% ลงทุนกับคอมพิวเตอร์มือถือและสแกนเนอร์ 86% ลงทุนกับแท็บเล็ตและอีกกว่า 77% กับร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งไว้ในจุดที่ลูกค้ามักเดินผ่าน
บรรดาผู้ค้าปลีกในธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก สามารถได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของ
ทัศนวิสัยในการดำเนินงาน ร้านค้าปลีกขนาดเล็กยังสามารถเริ่มต้นด้วยระบบขั้นพื้นฐานที่เป็นเครื่องสแกนบาร์โค้ดและเครื่องพิมพ์ ร้านค้าปลีกขนาดกลางสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเช่น TC51 ของซีบรา เทคโนโลยีส์ เพื่อการจัดการสินค้าคงคลังในร้านค้าและผู้ค้าปลีกรายใหญ่สามารถใช้เทคโนโลยีระบบคลาวด์ (Cloud-Based) เพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ว่าซัพพลายเชนกำลังทำงานได้เป็นที่น่าพอใจ
ด้วยการยกระดับการมองเห็น เช่นเดียวกับการสร้างโอกาสใหม่ๆ จะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการจัดการและการผลิต การประหยัดราคา เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และท้ายที่สุดและสำคัญที่สุด คือผลกำไรเพิ่มขึ้นต่อธุรกิจค้าปลีก ยุคที่น่าตื่นเต้นของธุรกิจด้านการค้าปลีกกำลังมาถึงแล้ว