ทีพี-ลิงค์ เอเชียแปซิฟิก เชื่อมั่นศักยภาพการลงทุนในประเทศไทยจัดประชุม TP-Link APAC Enterprise Partner Summit 2024 สุดยิ่งใหญ่
บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอเชีย – แปซิฟิก ผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจองค์กร (SMB) และระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย จัดงานประชุม TP-Link APAC Enterprise Partner Summit 2024 ครั้งแรกในประเทศไทย สุดยิ่งใหญ่ ในงานมีการแสดงนวัตกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย
โดยมีผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วย นาย Brian Dong รองประธานบริษัท ทีพี-ลิงค์ เอเชีย – แปซิฟิก กล่าวเปิดงาน, นาย Gary Wen ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ หน่วยธุรกิจ เน็ตเวิร์ค กล่าวในหัวข้อ Beyond Connectivity : Insights into Enterprise Networking , นาย Eden Xu ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ หน่วยธุรกิจ ระบบกล้องวงจรปิดเฝ้าระวังความปลอดภัย กล่าวในหัวข้อ : Challenges and Opportunities in the Surveillance Market โอกาสนี้ยังได้รับเกียรติจาก นาย ST Liew รองประธานและประธาน Qualcomm ไต้หวัน และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อ Qualcomm Leading the World into Wi-Fi 7 Era ร่วมด้วยพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมงานกว่า 800 คน จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นาย Brian Dong รองประธานบริษัท ทีพี-ลิงค์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า การจัดประชุม TP-Link APAC Enterprise Partner Summit 2024 ครั้งนี้ เป็นการจัดประชุมครั้งแรกในประเทศไทยที่รวบรวมพันธมิตรธุรกิจ Business to Business (B2B) ในระดับเอเชียแปซิฟิกเพื่อใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินธุรกิจและเรียนรู้กลยุทธ์สู่ความสำเร็จจากการนำผลิตภัณฑ์ TP-Link ไปใช้ในโครงการต่างๆ สามารถตอบโจทย์การทำงานในสถานการณ์ต่างๆ (Product Scenario) ได้อย่างยืดหยุ่นและยังเป็นการรับรู้เสียงผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ TP-Link สำหรับการเลือกกรุงเทพฯ ประเทศไทย ในการจัดประชุมครั้งนี้ ประการหนึ่งเพราะ TP-Link มีการดำเนินธุรกิจประมาณ 30 ประเทศในภูมิภาคนี้ ครอบคลุมถึงอินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีสถานที่ตั้งเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางโลกเพราะมีระบบการขนส่งที่เชื่อมต่อไปยังหลายประเทศ และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยอดเยี่ยมมาก ทั้งนี้ จากประสบการณ์ในแต่ละปี ตนมีโอกาสได้เดินทางไปติดต่อทางธุรกิจทั่วโลก อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะมีจุดเด่นในด้านงานภาคบริการและการอำนวยความสะดวกสบาย รวมถึงบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ (Service & Hospitality) มีศูนย์ประชุมที่การเดินทางสะดวกสบาย ทั้งทางรถยนต์และรถไฟฟ้า ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในบริเวณโดยรอบ
รวมทั้ง TP-Link ยังได้เลือกให้กรุงเทพฯ ประเทศไทยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ของ TP-Link อีกด้วย นอกจากนี้ TP-Link มีผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้งานในด้านต่างๆ การจัดประชุมครั้งนี้ จึงถือโอกาสเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อแสดงถึงพลังของการดำเนินธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่งเพื่อให้พันธมิตรธุรกิจได้เห็นถึงการผนึกกำลังสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน (Together Power The Future)
นาย Brian Dong รองประธานบริษัท ทีพี-ลิงค์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเป็นยุคของ AI โดยปีที่ผ่านมา TP-Link ได้ย้ายศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์ไปยังแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาเพื่อมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีล่าสุดเข้ามาผนึกรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งจัดหาและทดสอบเทคโนโลยีให้กับพันธมิตรและลูกค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้ง VIGI และ OMADA ล้วนมีคุณสมบัติเทคโนโลยี AI มาในอุปกรณ์ โดยล่าสุด บริษัทยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ OMADA ที่ใช้ประสิทธิภาพของ AI เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับระบบ Cloud ซึ่งจะให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงให้กับลูกค้า พร้อมเสริมด้วยคุณสมบัติการทำงานใหม่ๆ
ปัจจุบัน AI เข้ามาอยู่ในทุกอุปกรณ์ (Devices) ซึ่งจะเห็นการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ จากผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ TP-Link มองว่า AI คือเครื่องมือพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ที่จะมาช่วยยกระดับอุปกรณ์ ไม่ว่าจะใช้งานกับเครือข่ายแบบมีสาย หรือ Wi-Fi สร้างโอกาสมหาศาลให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย ขณะเดียวกันกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์ ยังรวมไปถึงผู้ใช้งานทั่วไป ทั้งภาคการศึกษา บริการภาครัฐ เป็นต้น และจากประสิทธิภาพการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น การตรวจจับและประมวลผลรวดเร็วขึ้น ลดการใช้บุคลากรในการดูแลจัดการระบบ เป็นต้น
เราขอให้คำมั่นกับทั้งพันธมิตร และทีมงานทุกคนของ TP-Link ในประเทศไทยว่าจะให้การสนับสนุนในทุกก้าวย่างเพื่อไปสู่ความสำเร็จ อีกทั้งเสริมความแข็งแกร่ง (Empower) ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ควบคู่การติดอาวุธทางความรู้ที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาด โดยตลอดทั้งปีนี้จะดำเนินการผ่านหลักสูตรฝึกอบรมที่เตรียมจัดไว้ให้ตลอดทั้งปี ทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ VIGI บริษัทจะใช้สูตรการตลาด 4E คือการใช้งานง่าย (Easy to use) และติดตั้งง่าย (Easy to deploy) สนับสนุนการจัดการระบบอย่างง่ายดาย ได้ผ่านแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์
นาย Gary Wen ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ หน่วยธุรกิจ อุปกรณ์เน็ตเวิร์ค (OMADA) และ นาย Eden Xu ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ หน่วยธุรกิจ ระบบกล้องวงจรปิดเฝ้าระวังความปลอดภัย (VIGI) กล่าวถึงกลยุทธ์ธุรกิจว่า บริษัทฯ มุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้า จึงเน้นการประสานรวมระบบการจัดการของกลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องวงจรปิดในอุตสาหกรรมรักษาความปลอดภัยภายใต้แบรนด์ VIGI และผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายแบรนด์ OMADA เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการจัดสร้าง Ecosystem ของทั้ง 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์เข้าด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการให้บริการกับลูกค้า ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความแตกต่างให้กับ TP- Link เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ ในตลาด เนื่องจากโดยทั่วไปแต่ละบริษัทจะเน้นให้บริการเพียงผลิตภัณฑ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ทำเฉพาะตลาดกล้องวงจรปิด หรือเฉพาะตลาดระบบเครือข่าย
ขณะที่ในส่วนของบริษัท TP-Link มีการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการแบบรวมศูนย์ สำหรับสนับสนุนผลิตภัณฑ์กลุ่มกล้องวงจรปิด VIGI และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครือข่าย OMADA ร่วมกัน โดยใช้จุดแข็งด้านเทคโนโลยีของ VIGI มาเสริมความแข็งแกร่งให้กับลูกค้าที่ใช้กล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย สามารถสร้างธุรกิจใหม่ๆ และยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการ ตลอดจนขยายขอบข่ายการทำธุรกิจให้ไปได้ไกลมากขึ้น
นาย Chen Kun กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์ธุรกิจในตลาดประเทศไทย TP-Link เน้นขับเคลื่อนการเติบโตโดยแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่าย OMADA มีการกำหนด Brand Strategy ไว้ เพื่อให้ครอบคลุมการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการวางตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน และกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกิจระดับ SMEs และธุรกิจระดับ SMBs ที่ทำการตลาดมาก่อนหน้า บริษัทฯ มุ่งชูจุดขายเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพดีที่ใช้งานง่าย ( Easy to use) และมีราคาที่เหมาะสม
รวมทั้ง การเปิดตัว OMADA Pro เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) ซึ่งจากการวิเคราะห์ตลาดพบว่าลูกค้าองค์กรใหญ่ มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีโซลูชันที่ดี และสามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานขององค์กร ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องถูกขับเคลื่อนด้วยโซลูชันที่ดีจะทำให้มีข้อได้เปรียบ และผลิตภัณฑ์ของ TP-Link มีจุดแข็งด้านนี้อยู่แล้ว ส่วนการผลักดันตลาด OMADA Pro เราจะทำควบคู่กันไป ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่าย โดยจะมีการเพิ่มแรงจูงใจให้กับพันธมิตรตัวแทนจำหน่าย เพื่อนำผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ไปต่อยอดสร้างโครงการใหม่ๆ ขยายธุรกิจใหม่ เพิ่มโอกาส รวมทั้งแหล่งรายได้ใหม่ให้กับพันธมิตรได้อีกด้วย อีกทั้งการที่ TP-Link มีแพลตฟอร์มการจัดการแบบรวมศูนย์ ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง และความพร้อมเหล่านี้สนับสนุนให้บริษัทสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ทั่วถึง ซึ่งอยู่ในแผนการตลาดประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้
งานประชุม TP-Link APAC Enterprise Partner Summit 2024 ครั้งนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในโครงการเด่น ๆ จากพันธมิตรในหลายประเทศที่นำโซลูชันจากผลิตภัณฑ์ OMADA และ VIGI ไปติดตั้งและให้บริการลูกค้าในหลากหลายภาคธุรกิจ ได้แก่ โครงการที่พักอาศัยระดับสูงในออสเตรเลีย การติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย สำหรับ Business Apartment ในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการติดตั้งระบบ CCTV และ ผลิตภัณฑ์ OMADA เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับโรงเรียนสำหรับเด็กเล็ก ที่อยู่ภายใต้เครือข่ายการบริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการนี้ เป็นการยกระดับประสิทธิภาพรักษาความปลอดภัยสำหรับเด็ก เป็นต้น
ขณะที่ในส่วนของลูกค้า TP-Link เราได้ผสานรวมการสนับสนุนการจัดการ ทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ ระบบเครือข่าย และ กลุ่มผลิตภัณฑ์กล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินผ่านเทคโนโลยีอัจฉริยะ สร้างความปลอดภัยในสังคมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็สามารถจัดซื้อผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ในงาน TP-Link APAC Enterprise Partner Summit 2024 ครั้งนี้ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งพาร์ทเนอร์ ในประเทศไทย และต่างประเทศ เข้าร่วมงาน อาทิ The Engineering Craft จากประเทศไทย, Infinity Networks Security Sdn Bhd จากประเทศมาเลเซีย, Tecco จากประเทศออสเตรเลีย, Jnets Co,.Ltd จากประเทศญี่ปุ่น, Ammel Technology จากประเทศสิงคโปร์, Fore Solutions Private จากประเทศอินเดีย, และ t’order จากประเทศเกาหลีใต้