ห้าประโยชน์สำคัญของระบบ ERP ภาคการผลิตที่ออกแบบเพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ โดย เทอร์รี สมา
หากธุรกิจคุณพิเศษไม่เหมือนใคร คุณควรเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ ในขณะที่โลกการผลิตกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ หลายองค์กรกำลังพยายามกำหนดแผนใหม่เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่เวลาไม่ได้เป็นใจให้กับอุตสาหกรรมการผลิต Deloitte ได้ระบุไว้ในการคาดการณ์ปี 2566 ว่า “อุตสาหกรรมการผลิตกำลังฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วโดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาใหญ่ด้านแรงงานและระบบห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น ผู้ผลิตควรจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งเสริมแนวคิดเรื่องความยั่งยืนเพื่อรักษาโมเมนตัมนี้ไว้”
ผู้ที่เปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ ปัจจุบันต่างก็มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น และอาจกำลังเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดของคุณแล้ว ในทางกลับกัน บริษัทผู้ผลิตเช่นคุณจะสามารถลดผลกระทบจากความเสี่ยงนี้ และขยายธุรกิจให้เกิดผลกำไรรวดเร็วได้อย่างไร ความร่วมมือทางเทคโนโลยีคือคำตอบสำหรับหลายคนในเรื่องนี้
ความร่วมมือกันเพื่อจะบรรลุการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืนกำลังทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลจากต้นน้ำหรือปลายน้ำของคู่ค้าภายในห่วงโซ่อุปทาน หรือการพิจารณาถึงผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกจำนวนมหาศาลเกี่ยวกับความสามารถของระบบคลาวด์ที่ทันสมัยและนวัตกรรมระดับแนวหน้า
ภาคการผลิตกำลังเปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชันที่ออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันเกือบทุกแอปพลิเคชันจะอยู่ในรูปแบบคลาวด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน มีความยืดหยุ่น รวมถึงทำให้สามารถมองเห็นงานทั้งระบบ การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และความปลอดภัย รวมถึงการลดต้นทุนในระยะยาว
ประโยชน์ของระบบวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจ (ERP) เฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม
องค์กรต่าง ๆ เริ่มเห็นความสำคัญของความสามารถที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะสำหรับใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมที่ติดตั้งเบ็ดเสร็จอยู่ในโซลูชัน ERP ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานที่ราบรื่น และการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก รวมถึงการทำให้เกิดเวิร์กโฟลว์และการรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีประโยชน์สำคัญ ๆ ดังตอไปนี้ :
- ERP ระบบคลาวด์เฉพาะสายอุตสาหกรรมนั้นมีฟังก์ชันการทำงานที่สอดคล้องกับวิธีที่คุณดำเนินธุรกิจ (หรือควรจะดำเนินธุรกิจ) พร้อมแนวทางดีที่สุดในการปฏิบัติงานที่ติดตั้งไว้ในตัวเบ็ดเสร็จ
- คุณสามารถใช้การมองเห็นทั่วทั้งระบบเพื่อจัดการระบบนิเวศทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการดำเนินงานแบบเรียลไทม์เพื่อปลดล็อกศักยภาพขององค์กร และเนื่องจากระบบ ERP เป็นโซลูชันบนคลาวด์ จึงสามารถใช้งานได้เร็วกว่าและเห็นความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น เช่น Camatic โรงงานผลิตสัญชาติออสเตรเลีย ผู้ผลิตที่นั่งในสนามกีฬา โรงภาพยนตร์ และโรงละครระดับโลกที่สร้างโรงงานผลิตใหม่ในประเทศมาเลเซียได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎระเบียบในท้องถิ่นได้ทุกประการ
- การมุ่งเน้นเฉพาะอุตสาหกรรมและการมองเห็นภาพรวมของธุรกิจจะช่วยให้คุณสามารถระบุความแปรปรวนจากประสิทธิภาพการดำเนินงานที่คาดการณ์ไว้ได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงสามารถวิเคราะห์และจัดการข้อยกเว้นต่าง ๆ ได้ก่อนที่ทีมการเงินของคุณจะรับรู้ถึงสิ่งเหล่านี้เสียอีก จากนั้นองค์กรจะสามารถให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มระดับการมองเห็นที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซัพพลายเออร์ และหน่วยงานกำกับดูแลได้อย่างรวดเร็ว ลดการปรับแต่งเฉพาะบุคคลให้เหลือน้อยที่สุด
- ใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ตามต้องการ ทำให้เป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวมากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้
ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่าเมื่อมาถึงเรื่องที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ตัวขับเคลื่อนทางธุรกิจมักจะเป็นความซับซ้อนระหว่างความคาดหวังและความต้องการจากลูกค้าในประสบการณ์การซื้อที่ดีขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการดำเนินงานและระบบอัตโนมัติ ไปจนถึงความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ ผู้จำหน่ายเทคโนโลยีซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันของคุณจึงควรนำเสนอโซลูชันที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมของคุณโดยเฉพาะ
โรงงานและสายการผลิตมีความต้องการที่แตกต่างจากภาคบริการอย่างมาก และไม่ควรคาดหวังว่าแอปพลิเคชันทั่วไปจะสามารถตอบสนองความต้องการที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณได้ เช่น การจัดการความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมที่ต้องผลิตตามคำสั่งหรือกำหนดค่าตามคำสั่ง ที่ต้องการภาพรวมในการมองเห็นตั้งแต่แนวคิดไปจนถึงการเสนอราคา การสร้าง การส่งมอบ และบ่อยครั้งรวมถึงการบริหารจัดการบริการหลังการขายและการรับประกันสินค้า อะไรก็ตามที่น้อยกว่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับกระบวนการการผลิตทั้งหมดได้
ในความร่วมมือที่แท้จริง เมื่อทุกคนเข้าใจความต้องการที่แตกต่างขององค์กรและอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายฝ่ายจะร่วมมือร่วมใจกันสร้างผลลัพธ์ที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้พัฒนายุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมครบวงจร เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัยมาสู่ภาคการผลิตของประเทศ ได้แก่ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC), เมืองนวัตกรรมอัจฉริยะ (Digital Park Thailand), โครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแบบคลัสเตอร์ (CBSED) และโครงการพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (ILDP) เป็นต้น โดยมุ่งหวังจะใช้โครงการดังกล่าวในการเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมการแข่งขัน และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการมอบแรงจูงใจให้กับธุรกิจที่นำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้งาน เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ AI การทำวิจัยและพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดใหญ่ และบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอุตสาหกรรมการผลิต