November 24, 2024

ZORT คาดปีนี้โซเชียลคอมเมิร์ซแข่งเดือด หนุนตลาดอีคอมเมิร์ซ 15-20% ตั้งเป้าโต 100%รับ 3 ปัจจัยหนุน

ZORT สตาร์ตอัปแพลตฟอร์มบริหารจัดการออเดอร์และสต๊อกครบวงจรชั้นนำของไทย ตั้งเป้ายอดขายโต 100% ปูทางเข้าตลาดหุ้นใน 3-5 ปี มองปี 2566 ตลาดอีคอมเมิร์ซยังคึกคัก คาดมูลค่าตลาดโต 15-20% จากยอดปีก่อน 6.6 แสนล้านบาท เปิด 3 ปัจจัยหนุน ตลาดปี 2566 เติบโต

ทั้ง 1. ตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซปีนี้แข่งขันเดือด หลังปี 2565 พบโซเชียลคอมเมิร์ซเชื่อมต่อ[GU1] ผ่าน ZORT เพิ่ม 30% ทุกแพลตฟอร์มปล่อยฟีเจอร์ใหม่หนุนการทำธุรกรรมครอบคลุมตั้งแต่การขายไปถึงการโอนเงินจบในแพลตฟอร์มเดียว 2. พฤติกรรมผู้บริโภคไทยติด ท็อป 3 การชอปผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซของโลก เป็นรองแค่จีนและอินเดีย 3. Short Video Commerce เทรนด์ใหม่ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมากขึ้นพร้อมมองปัจจัยเสี่ยงต้องจับตา ทั้ง ค่าธรรมเนียม E-Marketplace มีโอกาสปรับขึ้น และการฟื้นตัวของตลาดออฟไลน์ กลยุทธ์ Omnichannel จะเริ่มกลับมา แนะผู้ค้าปรับตัวบริหารต้นทุนด้วยเทคโนโลยีจัดการร้านค้า เพื่อรักษายอดขาย รองรับการเติบโตในทุกมิติ 

นายสวภพ ท้วมแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) แพลตฟอร์มบริหารจัดการออเดอร์และ สต๊อกครบวงจร (Seller Management Platform) เปิดเผยว่า ปี 2565 สามารถสร้างผลงานเติบโตเกินเป้าหมายมีลูกค้าที่ใช้บริการเพิ่มขึ้น 50% ผ่านอีคอมเมิร์ซทุกแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อในระบบ ZORT เพิ่มขึ้นเป็นขึ้นเป็น 49,000 ล้านบาท ซึ่งโตขึ้นประมาณ 62% จากปี 2564 ที่มีประมาณ 30,000 ล้านบาท ส่วนปี 2566 ZORT ตั้งเป้าหมายการเติบโต 100 % เนื่องจากมองว่าปีนี้จะเป็นอีกปีที่ดีของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะการชอปปิ้งออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ZORT คาดการณ์ว่าตลาดจะโตประมาณ 15-20% จากปี 2565 ที่น่าจะมีมูลค่าการตลาดรวมประมาณ6.6 แสนล้านบาท ซึ่งการเติบโตดังกล่าวมาจากปัจจัยสนับสนุน ดังนี้   


1.      เทรนด์ Social Commerce ได้รับความนิยมมากขึ้น การแข่งขันของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Facebook, 

LINE, TikTok จะดุเดือดมากยิ่งขึ้น เห็นได้ชัดจากปี 2565 ที่ทุกแพลตฟอร์มพัฒนาฟีเจอร์ให้พร้อมรองรับการทำธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ มากขึ้น ช่วยให้ผู้ค้าสามารถขายสินค้าได้อย่างครบลูปและผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้า พร้อมชำระเงินได้อย่างไร้รอยต่อภายในแพลตฟอร์มเดียว โดยตัวเลขการเติบโตของผู้เชื่อมต่อ Social Commerce กับแพลตฟอร์ม TikTok Shop และ LINE SHOPPING ในระบบ ZORT ในปี 2565 มีร้านเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น 30% รวมถึงลูกค้าเดิมที่มีการขยายช่องทางการขายไปยัง TikTok Shop 13% ของช่องทางการขายทั้งหมด ลูกค้าเดิมที่มีการขยายช่องทางการขายไปยัง LINE SHOPPING 15 % ของช่องทางการขายทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการชาวไทย พร้อมปรับตัวไปยังทุกแพลตฟอร์ม ที่มีกลุ่มผู้บริโภคไปรวมตัวอยู่ที่นั่น

2.          พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยหนุนตลาด โดยจากข้อมูลของ ‘วันเดอร์แมน ธอมสัน’ พบว่าไทยเป็นประเทศที่มี

สัดส่วนซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซสูงที่สุดในโลก คนไทย 95% ระบุว่าชอปปิ้งออนไลน์มีส่วนเข้ามาช่วยเรื่องการใช้ชีวิตในช่วงโควิดในช่วงปี 2564 ทำให้สัดส่วนการชอปออนไลน์ก็มาแรงต่อเนื่องจนแซงหน้าการชอปปิ้งออฟไลน์
อีกทั้งยังพบว่ารายการชำระเงินผ่านการชอปปิ้งออนไลน์ของ ไทยครองอันดับ 3ของโลกด้านการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (Real-time Payment)   เป็นรองแค่จีนกับอินเดียที่มีประชากรสูงกว่าไทย

3.          Short Video Commerce เทรนด์ใหม่ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ เทรนด์การขายที่เปลี่ยนไปในรูปแบบ VDO 

สั้น สอดรับกับพฤติกรรมการรับสื่อผู้บริโภคที่ให้ความสนใจกับการดูสื่อแบบเคลื่อนไหวในปัจจุบัน กลยุทธ์การเปลี่ยนคอนเทนต์เป็นยอดขาย หรือ Shoppertainment ที่ผสมผสานการชอปปิ้งเข้ากับความบันเทิง อย่างการโปรโมทสินค้าผ่านคลิปที่กระชับ น่าสนใจ จะช่วยเพิ่มยอดขายและกระตุ้นการซื้อของลูกค้าได้ เช่น การพัฒนาของ TikTok Shop ที่ชูจุดเด่น Short Video Commerce และ Live Commerce ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อให้บริการเฉพาะ Short video เพียงอย่างเดียว แต่มีบริการอื่นของ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น การเปิดร้านค้าเข้ามาเสริมด้วย ล่าสุดแพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็เริ่มพัฒนาฟีเจอร์ Short VDO มาแข่งขันในตลาด เช่น  Reels บน Facebook และ Instagram , Youtube Shorts และ LINE VOOM พร้อมพยายามผลักดันให้มีผู้ใช้งานมากขึ้น 

อย่างไรก็ดีในปีนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซยังมีความเสี่ยง 2 ด้าน ที่ผู้ค้าควรวางแผนรับมือและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังนี้

1.          การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเพิ่มค่าธรรมเนียมของแพลตฟอร์ม E-Marketplace 

ในปี 2565 E- Marketplace เจ้าตลาดได้ปรับค่าธรรมเนียมการขายเพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้ผู้ค้ามีต้นทุนค่าธรรมเนียมการขายและค่าคอมมิชชั่น อยู่ที่ 5.35% ทั้งนี้ในอนาคตก็ยังมีความเสี่ยงที่ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะปรับขึ้นได้อีก โดยเฉพาะหลังจากที่ JD Central ประกาศถอนตัวจากสงคราม E-Marketplace ในประเทศไทย 2 แพลตฟอร์ม  เจ้าตลาดที่เคยใช้เงินลงทุนมหาศาลไปกับการสร้างตลาดก็มีโอกาสที่จะปรับขึ้นค่าธรรมเนียมได้คล่องตัวขึ้น[GU2] [GU3] [RP4] เมื่อไร้คู่แข่งอย่าง JD Central ส่งผลให้ร้านค้าที่มีหน้าร้านบน E-Marketplace ต้องวางแผนหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้สามารถคุมราคาสินค้าได้ดี และไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขาย 

     2.    การฟื้นตัวของตลาดออฟไลน์ กลยุทธ์ Omnichannel จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ปัจจัยนี้น่าจับตาอย่างมีนัยสำคัญ โดยสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดกลุ่มนี้เริ่มตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2565 หลังจากการประกาศคลายล็อกของรัฐบาลและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ผู้บริโภคทั้งในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติออกมาจับจ่ายใช้สอยตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้นผู้ค้าออนไลน์จึงควรปรับตัว ด้วยการเพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไปอย่างไร้รอยต่อ

ดังนั้นผู้ประกอบการที่วางแผนขยายธุรกิจทั้งบนออนไลน์และออฟไลน์ควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการร้านค้า  (Seller Management Platform)   เพื่อเสริมการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งการวางแผนการตลาด การจัดการหลังร้านออเดอร์และสต๊อก ไปจนถึงการขนส่งสินค้า ที่สามารถรวมการขายจากหน้าร้านทุกแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์มาไว้ที่เดียวอย่างไร้รอยต่อ ทั้ง Social Commerce และ E-commerce  และรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาธุรกิจและบริการให้ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้บริโภค ก็จะทำให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการอย่างมืออาชีพได้ในทุกแพลตฟอร์