January 10, 2025

แนวโน้มเทคโนโลยี ความท้าทาย ผลกระทบ และการปรับตัวขององค์กร ปี 2025 ในมุมมองของซิสโก้

ในปีที่ผ่านมา ภูมิทัศน์ทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องทบทวนรูปแบบการดำเนินงาน หนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือการมี AI แบบสร้างสรรค์ ในโลกธุรกิจและใช้ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ด้วยผลกระทบในวงกว้างในปัจจุบัน AI อาจมีความสำคัญเหนือกว่าคลาวด์ หรืออินเทอร์เน็ตในฐานะ “ตัวพลิกโฉมเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิธีที่ธุรกิจจะรับมือกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่องว่างด้านทักษะ ความยั่งยืน และความปลอดภัย

6 แนวโน้มสำคัญที่จะกำหนดภูมิทัศน์ทางธุรกิจของประเทศไทยในปี 2025

1. AI ยังคงมีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ แต่การนำมาใช้งานจริงกลับพบอุปสรรคที่ไม่คาดคิด

เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้วที่ AI กลายเป็นประเด็นหลักในโลกธุรกิจ แรงกดดันในการนำ AI มาใช้งานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยทุกบริษัทที่ร่วมผลการสำรวจความพร้อมด้าน AI ของ Cisco ปี 2024 รายงานว่ามีความเร่งด่วนในการนำโซลูชัน AI มาใช้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา

เมื่อองค์กรต่างๆ เริ่มนำ AI มาใช้ พวกเขาก็ตระหนักว่าการใช้ประโยชน์จาก AI นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด มีเพียง 21% ของบริษัทในไทยที่มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI ขณะที่เริ่มปรากฏชัดว่าต้องใช้อะไรบ้างจึงจะประสบความสำเร็จ แม้ว่า AI จะเป็นการลงทุนที่มีความสำคัญ แต่หลายบริษัทกำลังพบว่าผลตอบแทนจากการลงทุนเหล่านี้ต่ำกว่าที่คาดหวังไว้

ความท้าทายหลักยังคงเป็นเรื่อง“ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีช่องว่างในด้านการประมวลผล เครือข่ายศูนย์ข้อมูล และความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงด้านอื่นๆ โดยมีเพียง 33% ของบริษัททั้งหมดที่มี GPU ที่รองรับความต้องการด้าน AI ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และน้อยกว่าครึ่ง (47%) ที่มีความสามารถในการปกป้องข้อมูลในโมเดล AI ด้วยการเข้ารหัสแบบ end-to-end รวมถึงการตรวจสอบความปลอดภัย การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบทันที

ขณะที่บริษัทต่างๆ กำลังชั่งน้ำหนักการตัดสินใจระหว่างการพัฒนาหรือซื้อโซลูชัน AI การปรับปรุงศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัยและการใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI แบบ plug-and-play ที่สามารถพัฒนาไปพร้อมกับความต้องการโดยไม่เพิ่มความซับซ้อนก็เป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น AI PODS ของซิสโก้ที่นำเสนอชุดโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งาน AI เฉพาะด้าน โดยรวมการประมวลผล เครือข่าย การจัดเก็บข้อมูล และการจัดการคลาวด์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งให้ความยืดหยุ่นแก่บริษัทต่างๆ โดยสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กรได้อย่างง่ายดาย

2. เมื่อ AI เข้าถึงได้ง่ายและแพร่หลายมากขึ้น การควบคุม และการกำกับดูแลข้อมูลจะกลายเป็นประเด็นสำคัญ

เมื่อ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันมากขึ้น ประเด็นการถกเถียงจะมุ่งเน้นไปที่การใช้งานอย่างรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การคุ้มครองข้อมูล กฎหมาย anti-discrimination และมาตรฐานคุณภาพของ AI

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดมาตรฐานและกฎระเบียบที่ส่งเสริมนวัตกรรมและเพิ่มความปลอดภัยของ AI  โดยผู้นำระดับโลกจะเผชิญแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นในการนำกรอบการทำงานมาใช้เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบของระบบ AI และจัดการกับปัญหาด้านจริยธรรมและข้อมูลบิดเบือนที่เกิดจากการใช้ AI องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำกรอบการทำงานด้าน AI ที่มีรับผิดชอบมาใช้ ทำการประเมินความเป็นส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงพัฒนาและนำแผนการจัดการเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้ AI อย่างรอบคอบ

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเป็นอีกหลักการหนึ่งในการกำกับดูแล AI องค์กรจะเผชิญแรงกดดันในการนำมาตรการมาใช้เพื่อให้การจัดเก็บและประมวลผลสอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่นมากขึ้น กฎหมายความเป็นส่วนตัวจะยังคงผลักดันความโปร่งใส ความเป็นธรรม และความรับผิดชอบในด้านต่างๆ เช่น การเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูล การไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สามารถตรวจสอบได้ บริษัทต่างๆ จะต้องพิจารณาวิธีที่พนักงานของตนมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ AI และพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดการละเมิดข้อมูลและความเสี่ยงผ่านการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

3. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยกระดับสู่การทำงานด้วย ‘ระบบอัตโนมัติ ขณะที่เครือข่ายจะทำหน้าที่ทั้งเชื่อมต่อและปกป้องทุกสิ่ง

เครือข่ายจะไม่ได้ถูกใช้เพียงเพื่อการเชื่อมต่ออีกต่อไป เมื่อมีอุปกรณ์และบริการเชื่อมต่อมากขึ้น ความเสี่ยงและความซับซ้อนของการโจมตีจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น การโจมตีแบบ social engineering ทำได้ง่ายขึ้นเนื่องจากผู้คนแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มต่างๆ การโจมตี supply chain ก็เป็นปัญหาเช่นกัน เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งใช้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการดำเนินงาน ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เช่น ควอนตัมคอมพิวติ้งก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนขึ้น สิ่งเหล่านี้จะผลักดันให้ความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องทำงานโดยอัติโนมัติ

เครือข่ายจะกลายเป็นเสาหลักสำคัญในการจัดการเวิร์คโหลด และทำหน้าที่เป็นทั้งด่านแรกและด่านสุดท้ายในการป้องกันความปลอดภัย และจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อการโจมตีใช้วิธีการเคลื่อนที่แบบแนวราบ (lateral movement attacks) ที่เข้าถึงจุดเดียวเพื่อแทรกซึมเข้าสู่ส่วนที่เหลือของเครือข่ายและเจาะลึกเข้าไปในระบบขององค์กร

AI จะเปลี่ยนโฉมความปลอดภัย โดยช่วยทีมรักษาความปลอดภัยจัดการเครื่องมือง่ายขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์และการตัดสินใจของมนุษย์ให้แม่นยำมากขึ้น และทำให้ขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนเป็นแบบอัตโนมัติ นวัตกรรมที่ผสานความปลอดภัยเข้ากับโครงสร้างของเครือข่าย เช่น Hypershield ที่ถูกออกแบบให้เสริมการบังคับใช้ความปลอดภัยเข้าไปในซิลิคอนขั้นสูงในเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่าย จะกำหนดความสามารถใหม่ให้ธุรกิจในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสามารถอัปเดตและแก้ไขทั้งหมดด้วยทีมงานขนาดเล็ก

ขอบเขตใหม่ของความปลอดภัยไม่เพียงเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยภายในองค์กรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอีโคซิสเต็มของพันธมิตรและเวนเดอร์ เมื่อระบบรักษาความปลอดภัยมีการกระจายตัวสูงและข้อมูลมีการเชื่อมโยงถึงกันทั้งระบบ องค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายจะกลายเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นทางดิจิทัลและสามารถป้องกันตนเองได้

4. บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการรักษาสมดุลระหว่าง ‘ความยั่งยืน และการเติบโตในยุคที่ขับเคลื่อนด้วย AI

การแข่งขันด้าน AI จะยังคงเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ระดับการใช้พลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปล่อยคาร์บอนในทุกระดับ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2570 การใช้งาน AI เพียงอย่างเดียวจะใช้น้ำมากเท่ากับประเทศนิวซีแลนด์ทั้งประเทศ ในโลกที่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และการลดการปล่อยคาร์บอนมีความสำคัญมาก บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องหาโซลูชันที่สร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายด้านความยั่งยืนกับโอกาสการเติบโตจาก AI

เพื่อให้เกิดความสมดุล ธุรกิจจะมองหาพันธมิตรที่สามารถจัดหาผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ประหยัดพลังงาน หรือช่วยให้พวกเขาปรับใช้โมเดลธุรกิจแบบหมุนเวียนที่สอดคล้องกับการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์มากขึ้น AI จะมีบทบาทสำคัญในการปลดล็อกประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ เราเห็น AI ประกาศศักราชใหม่ของเครือข่ายพลังงาน ซึ่งรวมความสามารถของเครือข่ายที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ และระบบไฟฟ้าที่ประกอบด้วยไมโครกริดกระแสตรง (DC) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงการมองเห็น ข้อมูลเชิงลึก และการทำงานอัตโนมัติที่มากขึ้น

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านวัสดุและกระบวนการออกแบบยังช่วยสร้างสมดุลให้กับความต้องการด้านความยั่งยืน สถาปัตยกรรมอย่าง Cisco Silicon One chip สามารถทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยฮาร์ดแวร์ที่น้อยลง ลดการใช้พลังงานโดยรวม พร้อมทั้งลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ โปรแกรมการรับคืนและนำกลับมาใช้ใหม่ที่อนุญาตให้บริษัทต่างๆ ส่งคืนฮาร์ดแวร์ที่หมดอายุการใช้งานจะมีความสำคัญมากขึ้น

5. มนุษย์และ AI จะอยู่ร่วมกันในแรงงานยุคต่อไป

อนาคตของการทำงานจะไม่ใช่การเลือกระหว่างมนุษย์หรือเครื่องจักรเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง  AI จะพัฒนาจากการเป็นเพียงผู้สนับสนุนงาน สู่การเป็นส่วนสำคัญของแรงงานในอนาคตช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะในอุตสาหกรรมต่างๆ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในภาคเทคโนโลยีเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และทวีความรุนแรงขึ้นจากการมีประชากรสูงวัยในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย การเคลื่อนย้ายแรงงานและความหลากหลายของประชากรที่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะช่วยบรรเทาแรงกดดันเหล่านี้ได้

พนักงานที่สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ในการทำงานจะมีผลงานที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ AI ทั้งในด้านคุณภาพของงาน ผลผลิต และประสิทธิภาพ การมีทักษะที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์จาก AI จะมีความสำคัญ และพนักงานทุกคนจะต้องพัฒนาทักษะของตนเองเพื่อเท่าทันยุคสมัย

โครงการริเริ่มต่างๆ เช่น Cisco Networking Academy ที่ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลรวมถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีความสำคัญในการลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล เมื่อเทคโนโลยียังคงก้าวหน้าต่อไป การพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัย และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมล่าสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

6. องค์กรจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ต้องอาศัยการสร้างคุณค่าขององค์กร ควบคู่ไปกับการสร้างความไว้วางใจ

การกลับมาทำงานที่บริษัทควรเป็นแรงดึงดูด ไม่ใช่ข้อบังคับ เมื่อเรามองภาพอนาคตของการทำงาน จะเป็นการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งบทบาทในการทำงานจะพัฒนาไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และผู้คนจะแสวงหาความยืดหยุ่นในการทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ

เมื่อพนักงานปรับเปลี่ยนมุมมองจากการมาบริษัทเพื่อมุ่งหน้าทำงานอย่างเดียว มาเป็นการทำงานร่วมกับทีม และสร้างนวัตกรรม นายจ้างจึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นประเภทของงาน สถานที่ หรือผู้ทำงาน ‘ความไว้วางใจเป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ นายจ้างต้องไว้วางใจว่าพวกเขาได้จ้างคนที่เหมาะสมสำหรับบทบาทที่เหมาะสม และพนักงานจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในทำนองเดียวกัน พนักงานต้องไว้วางใจว่าความพยายามของพวกเขาจะได้รับการยอมรับ พร้อมโอกาสในการเติบโตและพัฒนา ความไว้วางใจจะกลายเป็นความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทน องค์กรที่สร้างและรักษาความไว้วางใจนี้ไว้ได้ จะมีประสิทธิภาพและผลงานที่เหนือกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด