UiPath จัดงาน UiPath AI-Powered Automation Summit ครั้งแรกในไทย พร้อมเปิดตัวความสามารถด้าน AI ภาษาไทย พร้อมด้วย LLM ชุดใหม่
เมื่อเร็วนี้ UiPath บริษัทชั้นนำด้านซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติ และ AI ระดับองค์กร จัดงาน UiPath AI-Powered Automation Summit เป็นส่วนหนึ่งของโรดโชว์ที่จัดขึ้นใน 15 เมืองสำคัญทั่วเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นในปี 2567 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางที่องค์กรธุรกิจต่างๆ จะสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ด้วยการ ประยุกต์ ใช้ และเชื่อมต่อ AI เข้ากับระบบอัตโนมัติ (Automation)
โดยมีไทยเป็นประเทศแรกของการจัดงานในครั้งนี้ นอกจากการนำโซลูชัน AI และระบบอัตโนมัติมาแสดงในงานแล้ว UiPath ได้เปิดตัวโมเดล AI และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language models (LLM)) รุ่นใหม่ล่าสุด และฟีเจอร์ Extended Languages Optical Character Recognition (OCR) รองรับภาษาไทยแล้ว
เกรแฮม เชลดอน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ UiPath กล่าวว่า “UiPath เล็งเห็นศักยภาพที่สูงมากของประเทศไทย เพราะองค์กรต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป กล่าวคือ ตอนนี้การปรับใช้เทคโนโลยี AI ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด โดยผู้บริหารองค์กรธุรกิจต่างๆ กำลังมองหาหนทางที่จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และ UiPath LLM ชุดใหม่ของเราจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ทำอย่างนั้นได้ ด้วยการปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของ GenAI และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร ขณะเดียวกัน เครื่องมือ UiPath OCR ที่รองรับภาษาไทย จะช่วยให้องค์กรของไทยสามารถใช้การประมวลผลเอกสารอัจฉริยะที่แม่นยำมากขึ้น เรามุ่งหวังที่จะสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในไทย เพื่อให้เติบโตอย่างรวดเร็วโดยอาศัยพลังของ AI และระบบอัตโนมัติ”
DocPATH และ CommPATH
LLM ชุดใหม่ นั่นคือ DocPATH และ CommPATH จะช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถใช้งาน LLM ที่ได้รับการฝึกอย่างกว้างขวางสำหรับงานเฉพาะด้านในส่วนของการประมวลผลเอกสารและการสื่อสาร ทั้งนี้ โมเดล GenAI สำหรับการใช้งานทั่วไป อย่างเช่น GPT-4 มีประสิทธิภาพและความแม่นยำน้อยกว่าโมเดลที่ได้รับการฝึกเป็นพิเศษสำหรับงานเฉพาะด้าน นอกจากนั้น แทนที่จะต้องพึ่งพางานวิศวกรรมที่ต้องใช้เวลานานและขาดความแม่นยำ DocPATH และ CommPATH มอบเครื่องมือมากมายให้กับองค์กรธุรกิจสำหรับการปรับแต่งโมเดล AI ให้สอดรับกับความต้องการที่แน่ชัด เพื่อให้โมเดลดังกล่าวเข้าใจเอกสารและข้อความหลากหลายประเภท DocPATH และ CommPATH จะเปิดให้ทดลองใช้งานในรูปแบบของ Public Preview ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน
UiPath Extended Languages OCR ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเฟรมเวิร์ก UiPath Document Understanding รองรับภาษาไทยแล้วโดยตอนนี้ OCR สามารถแปลงเอกสารเป็นรูปแบบดิจิทัลได้มากกว่า 200 ภาษา รวมถึงภาษาไทย เวียดนาม ภาษาหลักทั้งหมดของอินเดีย และภาษาที่ใช้ตัวอักษรซีริลลิกและกรีกซึ่งจะช่วยให้ขั้นตอนการดึงข้อมูลจากเอกสารกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะลูกค้าจะสามารถสร้างเวิร์กโฟลว์เพียงหนึ่งเดียวสำหรับการดึงข้อมูลจากเอกสารหลากหลายประเภท
Context Grounding เพื่อยกระดับโมเดล GenAI ด้วยข้อมูลเฉพาะทางธุรกิจ
องค์กรธุรกิจต้องการวิธีที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากสำหรับการใช้งานข้อมูลทางธุรกิจร่วมกับโมเดล AI เพื่อตอบสนองความต้องการนี้ UiPath จึงได้นำเสนอ Context Grounding ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ภายใน UiPath AI Trust Layer ซึ่งจะเปิดให้ทดลองใช้งานแบบ Private Preview ในช่วงเดือนเมษายน UiPath Context Grounding จะช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ปรับปรุงความแม่นยำของโมเดล GenAI ด้วยการจัดหาข้อมูลบริบททางธุรกิจผ่านกระบวนการ Retrieval Augmented Generation ระบบนี้จะดึงข้อมูลจากชุดข้อมูลเฉพาะของบริษัท เช่น ฐานความรู้หรือนโยบายและขั้นตอนภายในองค์กร เพื่อสร้างคำตอบที่ถูกต้องแม่นยำและรายละเอียดที่มากขึ้น
ระบบอัตโนมัติสำหรับนักพัฒนาและผู้ทดสอบ
UiPath Autopilot™ คือชุดระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย GenAI บนแพลตฟอร์ม ซึ่งทำให้ผู้สร้างและผู้ใช้ระบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น Autopilot สำหรับนักพัฒนา (Developer) และผู้ทดสอบ(Tester) อยู่ระหว่างการทดลองใช้งาน และจะเปิดให้ใช้งานทั่วไปในเดือนมิถุนายน องค์กรต่างๆ มากกว่า 1,500 แห่งกำลังใช้ UiPath Autopilot™ โดยมีการสร้างผลลัพธ์มากกว่า 7,000 รายการ และมีการสร้างสัญลักษณ์
ต่าง ๆ (Expression) มากกว่า 5,500 รายการต่อสัปดาห์ Autopilot for Developers ช่วยให้นักพัฒนาระบบอัตโนมัติทั้งมืออาชีพและคนทั่วไปสามารถสร้างระบบอัตโนมัติ โค้ด และสัญลักษณ์ (expression)โดยใช้ภาษาธรรมชาติ พร้อมทั้งเพิ่มความรวดเร็วให้กับทุกแง่มุมของการสร้างระบบอัตโนมัติ ส่วน Autopilot for Testers จะช่วยปรับปรุงกระบวนการทดสอบทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนไปจนถึงการวิเคราะห์ ทั้งยังช่วยลดภาระงานในการดำเนินการทดสอบด้วยตนเอง และช่วยให้ทีมงานฝ่ายทดสอบขององค์กรสามารถทำการทดสอบแอปพลิเคชั่นได้เพิ่มมากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
แดเนียล-โซอี้ จีเมเนซ รองประธาน หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมดิจิทัล, ซอฟต์แวร์, CX, DNB, SMB และช่องทางจัดจำหน่ายของ IDC กล่าวว่า “AI ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในประเทศไทย โดยจะมีการเปิดตัวกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการด้าน AI ระดับชาติระยะที่ 2 ในช่วงปี 2567 ด้วยการรวมระบบอัตโนมัติเข้ากับ AI องค์กรต่างๆ ของไทยจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต และการเติบโตของธุรกิจ
ล่าสุด UiPath ได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำด้านการประมวลผลเอกสารอัจฉริยะเป็นปีที่สองติดต่อกัน ตามที่ระบุไว้ในรายงาน PEAK Matrix Assessment 2024 ของ Everest Group สำหรับผลิตภัณฑ์ Intelligent Document Processing (IDP)