October 6, 2024

เปิดกลยุทธ์ TrueX กับเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยผ่านเทคโนโลยีที่เข้าถึงง่าย

IoT Analytics ระบุว่าจำนวนการเชื่อมต่อ IoT ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 18% ในปี 2565 โดยปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ 14.3 พันล้านชิ้น และคาดว่าในปี 2566 จำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 16% เป็น 16.7 พันล้านชิ้น แม้ว่าการเติบโตในปี 2566 นั้นคาดว่าจะต่ำกว่าในปี 2565 เล็กน้อย แต่การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ก็มีแนวโน้มจะเติบโตต่อไปอย่างมีนัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า นอกจากนี้ จากรายงานของ Fortune Business Insights ยังพบว่าตลาด IoT ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาด IoT นี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ภายหลังการรวมทรูดีแทค ได้ก้าวสู่การเป็น เทเลคอม เทคคอมปานี เต็มรูปแบบ ผสานพลังกันนำประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างสรรค์สิ่งที่ดียิ่งกว่า นำความฝันในยุคดิจิทัลมาทำให้เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะล่าสุด ทีมีการสร้างสรรค์แอปพลิเคชัน TrueX ด้วยเป้าหมายที่จะนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันที่ช่วยยกระดับวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชัน TrueX ที่มีเป้าหมายในการนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันที่ช่วยยกระดับวิถีชีวิต และคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม ทีมงานผู้อยู่เบื้องหลัง TrueX จึงมาบอกเล่าแนวคิด โอกาส และความท้าทาย ในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยให้ปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ตลาด IoT ที่เติบโตไม่หยุด

ยศพล อรรถจริยา TrueX’s Channel and Operation ฉายภาพจุดเริ่มต้นของ TrueX ว่ามาจากแอปพลิเคชัน True LivingTECH ที่ให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ของกลุ่มทรู ซึ่งทำให้เห็นการเติบโตของผู้ใช้งานที่สะท้อนถึงพัฒนาการของตลาด IoT ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยช่วงปี 2562-2565 มีการเติบโตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จากการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่องนี้เอง พร้อมกับความพร้อมของเทคโนโลยี 5G ที่ถือเป็นเทคโนโลยีแวดล้อมที่สำคัญของ IoT กระตุ้นให้ IoT ในประเทศไทยมีการพัฒนาตัวเองไปอย่างก้าวกระโดด ทรูจึงเร่งนำ IoT เข้ามาต่อยอดเป็นบริการและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยผ่าน 6 โซลูชันที่อยู่ในแอป TrueX ได้แก่ X Home, X Health, X Learning, X Utility & Energy, X Shopping และ X Entertainment ซึ่งล้วนตอบโจทย์ Pain point ไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบันทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ในเวลานี้ โซลูชันที่เติบโตโดดเด่นคือ X Home โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย

“คนไทยให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยอยู่มาก สิ่งที่เห็นชัดคือ กล้องวงจรปิดเติบโตรวดเร็ว จากทั้งราคาที่ถูกลงทุกปี และคนไทยมีอัตราการใช้งานสูงขึ้น ยิ่งพออุปกรณ์พัฒนาเป็น IoT ที่ติดตั้งง่าย ก็ทำให้ตลาดยิ่งเติบโต” ยศพลกล่าว

ภรรททิยา โตธนะเกษม จากทีม New Business Growth Engine อธิบายเพิ่มเติมว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปเป็นตัวเร่งให้ตลาด IoT ขยายตัวไปเช่นกัน จากทั้งการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการแยกตัวออกมาอยู่ลำพังของคนรุ่นใหม่
“ผู้บริโภคจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวประสานในการดูแลความปลอดภัย ที่ไม่ใช่แค่ดูแลบ้าน แต่ดูแลคนในบ้าน รวมถึงทรัพย์สินที่มีค่าภายในบ้านด้วย” เธอให้ข้อสังเกต พร้อมเผยว่า ฟังก์ชันที่เวลานี้ลูกค้าให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ ในด้านความสะดวกสบาย

“แอปพลิเคชัน TrueX สามารถทำงานอัตโนมัติจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่เปลี่ยนแปลงไป (Ultra-personalization) ได้ถึง 4 รูปแบบ นั่นคือ หนึ่ง โลเคชัน เช่น ถ้ารถเข้ามาใกล้บ้านในรัศมี 300 เมตร ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเปิดรอต้อนรับได้ทันที สอง สภาพแวดล้อม โดยเราตั้งค่าให้ไฟเปิดตามเวลาพระอาทิตย์ตกในเขตพื้นที่ของบ้านได้ ซึ่งแต่ละบ้านก็มีเวลาที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ สาม ตารางเวลา โดยปรับให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน เช่น ตั้งเวลาสมาร์ทปลั๊กให้เปิดเครื่องชงกาแฟตอน 8 โมงตรง และสี่ การเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกัน เช่น ถ้าผู้สูงอายุกดปุ่มกดฉุกเฉินอัจฉริยะ จะมีข้อความแจ้งเตือนไปที่มือถือ พร้อมทั้งเปิดไฟในตำแหน่งนั้นให้สว่าง เพื่อให้คนอื่นเห็นได้จากระยะไกล” ภรรททิยากล่าว

สร้างความต่างและเพิ่มมูลค่าเพื่อแข่งขันในตลาด

หลังจากเปิดตัว TrueX เมื่อต้นเดือนเมษายน 2566 ยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน (โดยรวมจากฐานลูกค้าโซลูชัน True LivingTECH เดิม) นั้นมีมากกว่า 350,000 ครั้ง และทางทีมตั้งเป้าให้ไปถึง 1 ล้านครั้งในสิ้นปี 2566 รวมถึงการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานต่อวัน (Daily Active Users) ให้ถึง 200,000 ครั้ง

สำหรับข้อได้เปรียบของ TrueX คือ การดึงระบบนิเวศของบริษัทเทคโนโลยี-โทรคมนาคมของทรูมาใช้ในการขยายบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของบ้านอัจฉริยะที่มีมากขึ้น และเน้นให้เห็นถึงความต่างกับคู่แข่ง ผ่านกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
• Telecommunications Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทับที่ทรูมีอยู่ เป็นรากฐานในการเชื่อมต่อสินค้าและบริการ IoT ให้ฐานลูกค้าเดิมและผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ
• Seamless User Experience การรวมบริการทั้งหมดเพื่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมาไว้ด้วยกันในแอปเดียว ช่วยลดความยุ่งยากและให้ใช้งานได้ไร้รอยต่อ
• Cross-selling and Bundle Deal การขยายการเติบโตผ่านการนำเสนอสินค้าที่มีความสอดคล้อง พร้อมไปกับการรวมสินค้าหลากหลายไว้ในแพ็กเกจที่คุ้มค่า
• After-sale Service Support สินค้าและบริการใน TrueX เชื่อมต่อกับบริการหลังการขายของทรู โดยติดต่อ True Call Center 1242 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมมีการรับประกันสินค้าที่สามารถเปลี่ยนได้ที่ช้อปทรูทั่วประเทศ
• Turnkey Solutions การพัฒนาโซลูชัน IoT แบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การเชื่อมต่อ อุปกรณ์ แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน ไปจนถึงบริการติดตั้ง ทำให้ตอบสนองความต้องการที่ครอบคลุม และนำเสนอโซลูชันในแบบเฉพาะบุคคล
• Privacy อุปกรณ์ IoT ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม การกำหนดค่าทุกอย่างมาจาก End User โดยตรง
• Ecosystem การต่อยอดสิทธิประโยชน์ภายในเครือฯและพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิทธิพิเศษจากแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง
ภรรททิยาเผยถึงแผนในอนาคตไว้ว่า “TrueX มุ่งสู่การเป็นแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น โดยจะขยายโซลูชันให้มากขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง คัดสรรสินค้าใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในไทย รวมทั้งนำ AI มาใช้ในการพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการเพื่อให้ก้าวทันความต้องการในอนาคต”

ความแตกต่างหลากหลายกับการเห็นโอกาสรอบตัว

เมื่อถามถึงโอกาสท่ามกลางตลาด IoT ในไทยเติบโตเพิ่มขึ้น สุฐิดา วัยวุฒิภิญโญ Head of IoT Consumer Business เล่าว่า ได้เห็นโอกาสเหล่านั้นจาก use case ที่มีการนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ IoT มาประยุกต์ใช้งานแบบหลากหลายและเฉพาะตัว ซึ่งหลายครั้งมาจากประสบการณ์ของทีมงาน ที่มีความหลากหลายทั้งด้านเพศ วัย ทักษะความถนัด รวมถึงไลฟ์สไตล์ ความแตกต่างนี้กลายเป็นเบื้องความสำเร็จในการออกแบบนวัตกรรมต่างๆ ที่ต้องก้าวให้ทันความต้องการของผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน

“เราได้เห็นโอกาสในตลาดจากมุมมองหรือแม้แต่ use case ของคนในทีม หรือคนใกล้ตัวของเขา อย่างน้องรุ่นใหม่ First Jobber ก็มีไอเดียนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่แตกต่างกับคนวัย 40 เช่น มีน้องคนหนึ่งเอาเซ็นเซอร์ประตูและหน้าต่างไปติดที่ตู้เสื้อผ้าที่เก็บของมีค่า เพราะไม่อยากให้ใครมาเปิดตู้นี้ ถ้ามีใครมาเปิดจะแจ้งเตือนมาที่แอป หรือมีเพื่อนใช้กล้องวงจรปิดในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่บ้าน โดยใช้ส่งเสียงพูดคุยและดูว่าสัตว์เลี้ยงกินอาหารมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นมุมมองที่น่าสนใจที่เราจะนำไปเป็นโอกาสขยายตลาดได้”

เดินหน้าสู่ความเท่าเทียมในการใช้เทคโนโลยี

แม้ปัจจุบันการใช้อุปกรณ์ IoT จะเป็นเรื่องที่ง่ายและใกล้ตัวมากขึ้น แต่ ปวริศา เชิงรู้ Marketing Manager ของ TrueX ระบุว่าความท้าทายสำคัญในประเทศไทยคือ การเปิดรับเทคโนโลยีของผู้บริโภค “ผู้ใช้อาจจะเกิดจากความไม่มั่นใจว่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์เองได้ไหม หรือจะมีความยากในการควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้หรือเปล่า TrueX จึงออกแบบมาให้ทุกอย่างใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้งานสามารถ DIY ได้เอง เรายังมีเครื่องมือที่ช่วยอธิบายการติดตั้งหลากหลายรูปแบบ รวมถึงมีการสั่งงานผ่านเสียงภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทุกเพศทุกวัยให้เข้าถึงการใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วย” เธออธิบาย

รายงานของ Economist Intelligence Unit ระบุว่า อุปสรรคอันดับแรกที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล คือความสามารถในการซื้อบริการ (affordability) ดังนั้น TrueX จึงนับเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะขยายการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่พื้นที่ทั่วประเทศไทย ในราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งความพยายามดังกล่าวดูจะเริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบัน 30 % ของลูกค้าทรูออนไลน์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ้านจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเสริมไปด้วย (ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2566)

“พอลูกค้าใช้กล้องวงจรปิดก็ต้องมีแอปพลิเคชัน TrueX ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการใช้ IoT โดยต่อไปจะมีการต่อยอดใช้เทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ TrueX ยังเปิดให้ผู้ใช้งานจากทุกค่ายมาใช้บริการได้ เพราะเราตั้งใจอยากให้คนไทยทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากที่สุด” สุฐิดาทิ้งท้าย