November 24, 2024

บริการดูแลระบบไฟฟ้ายุค IoT กันไว้ดีกว่าแก้

IoT ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มศักยภาพในปัจจุบัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) พบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ IoT จะมีการเติบโตมหาศาล โดยคาดการณ์ว่าจะทะลุ 30.9 พันล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2568  ทว่าอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น แม้ว่าแนวคิดและการนำ IoT มาประยุกต์ใช้ จะพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ที่มีการเริ่มใช้คำนี้มานานกว่าสองทศวรรษ ถึงกระนั้นก็ตาม หลายบริษัทยังคงพลาดโอกาสมากมายในการปรับปรุงธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน และสร้างมูลค่าได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น  IoT มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2573 โดยประมาณอยู่ที่ 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการปรับปรุงด้านเทคโนโลยี ก็จะไม่สามารถบรรลุตัวเลขนี้ได้ เช่น การผสานรวมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการดำเนินงาน (OT) ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น การปรับปรุงความยั่งยืน การแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

เทคโนโลยียังคงพัฒนาและได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆ

Covid เป็นปัจจัยที่เร่งให้บริษัทต่างๆ นำ IoT มาใช้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น มีรายงานว่า 48% ของระบบสาธารณูปโภค ได้เร่งปรับใช้ IoT เพื่อตอบสนองความท้าทายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการระบาดของโควิด จึงนับเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า IoT ให้ประโยชน์อย่างมากจนมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาเป็นแนวทางหลักในการทำงาน

นั่นเป็นเพราะว่า IoT สามารถตอบโจทย์ปัญหาบางประการที่เป็นจุดบอดใหญ่ที่สุดของธุรกิจได้ เช่น การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากระยะไกล และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ IoT ระบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันได้อย่างฉลาดมาใช้ จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ปลดล็อกแหล่งข้อมูลใหม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ได้ โดยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งช่วยป้องกันปัญหา และเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ รวมถึงช่วยให้ดำเนินงานได้ยืดหยุ่นและให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น IoT ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นจากแนวทางปฏิบัติด้านการบำรุงรักษาที่ดีขึ้น

IoT ช่วยเพิ่มความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยให้พลังงาน อุปกรณ์ และกระบวนการต่างๆ ดำเนินไปตามแนวทางปฏิบัติด้านการบำรุงรักษาที่ดียิ่งขึ้น อาทิ เซ็นเซอร์วัดความชื้นหรืออุณหภูมิของอุปกรณ์ อย่าง หม้อแปลงไฟฟ้า และสวิตช์เกียร์ ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นความรู้เพื่อใช้บ่งชี้และคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อมูลดังกล่าว ช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษาโดยช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวของอุปกรณ์ และระบุระยะเวลาการซ่อมที่เหมาะสม แทนที่จะทำตามเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอให้อุปกรณ์เสียหายก่อน การเตือนล่วงหน้าช่วยป้องกันการหยุดทำงาน ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และสร้างระบบให้บริษัทต่างๆ กำหนดแนวทางในการเปลี่ยน ปรับปรุง และซ่อมแซมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ความสามารถด้านดิจิทัลของ IoT ยังช่วยขับเคลื่อนความริเริ่มด้านความยั่งยืนในหลายโครงการและช่วยให้ใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทที่เพิ่มความสามารถด้านดิจิทัล จะสามารถตรวจสอบ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยข้อมูลพวกนี้ล้วนนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้นและช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดการสูญเสีย

IoT ช่วยชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าพลังงานถูกใช้ไปในส่วนใดบ้าง รูปแบบการใช้เป็นอย่างไร และส่วนใดที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด ซึ่งแดชบอร์ดและรายงานการใช้พลังงาน ช่วยให้ทีมสามารถกำหนดค่าพื้นฐาน พร้อมติดตามความคืบหน้าของโครงการในด้านประสิทธิภาพพลังงานได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย อีกทั้งยังแนะนำการปรับการดำเนินงานในไซต์งานได้อย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดและหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น

มุมมองด้าน IoT ที่เป็นตัวเปลี่ยนโฉมหน้าของเกมได้มากที่สุด คือความสามารถในการคาดการณ์อนาคต แทนที่จะใช้วิธีตั้งรับแบบเดิม IoT ช่วยให้บริษัทต่างๆ คาดการณ์อนาคตและตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลจริง

ตัวอย่างเช่น หลายอุตสาหกรรมล้วนพึ่งพาพลังงานที่ให้ความต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานระบบสำคัญทำงานต่อไปได้ และหลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าขัดข้องและการหยุดชะงักของระบบโดยที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์ ยังระบุว่า ผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานบกพร่องเนื่องจากการเกิด Downtime ของเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์เพียงอย่างเดียว อยู่ที่ประมาณ 5,600 เหรียญสหรัฐต่อนาที ซึ่งการนำ IoT มาช่วยปรับปรุงด้านการบำรุงรักษาช่วยลดความเสี่ยงเรื่อง Downtime ได้

สิ่งที่เป็นอันตราย อย่างการเกิดไฟไหม้จากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกว่าเรื่องการเสียเงิน เพราะคุกคามถึงชีวิตและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้แบบจำลองการคาดการณ์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT ที่ติดอยู่ที่อุปกรณ์ เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถระบุความเสี่ยงได้ เช่น ประกายไฟที่เกิดจากอาร์คหรือการเสื่อมสภาพที่อาจทำให้เกิดการระเบิด

เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ธุรกิจควรนำบริการด้านข้อมูลจาก IoT มาใช้ให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของกิจกรรมต่างๆ ในระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมและการบริหารจัดการพลังงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำบริการด้านข้อมูลที่ให้ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ให้ประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เจาะลึกถึงวิธีการใช้ IoT สำหรับระบบการจ่ายไฟฟ้า

เรียนรู้เคล็ดลับเรื่องการบำรุงรักษาในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้า คลิก https://www.se.com/th/th/work/services/

โดย ยอน เรนาด หัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานด้านบริการระดับโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค