แนวโน้มเทคโนโลยี การมอนิเตอร์ระบบเครือข่าย จะมีความสำคัญมากขึ้นในปี 2565
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะชะงักงันแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นปัจจัยเร่งให้องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวสู่ภาวะปกติแบบใหม่ เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตจะทำให้เห็นองค์กรต่างๆ ดำเนินงานด้วยความคล่องตัวมากขึ้น ปรับตัวได้เร็วขึ้น และปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งใหม่เนื่องจากโครงสร้างทางอุตสาหกรรมและรูปแบบธุรกิจยังคงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เมื่อเข้าสู่ปี 2565 การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม และรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง การเผชิญกับภาวะชะงักงันในปีที่ผ่านมา เป็นบทเรียนที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องมองหารูปแบบธุรกิจใหม่ที่รองรับต่อการให้บริการบนดิจิทัล การคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ Paessler เชื่อว่าแนวโน้มเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้จะมีความสำคัญสำหรับองค์กรในการก้าวสู่บริการดิจิทัลปีนี้
คาดการณ์การใช้งานคลาวด์ในปี 2565
การใช้งานคลาวด์ และแอพพลิเคชันบนคลาวด์ มีความสำคัญมาในระยะหนึ่งแล้ว การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เป็นปัจจัยที่ทำให้การใช้งานบนคลาวด์มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้ ความสำคัญของการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคลาวด์ เครือข่าย หรือแอปพลิเคชัน เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยในปีนี้ และปีต่อๆ ไป ประกอบกับการเติบโตของไฮบริดคลาวด์ ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องติดตามและคอยวัดผลเครือข่ายและสภาพแวดล้อมมากกว่าที่เคยเป็นมา
โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีนับว่าจะมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โซลูชันเฉพาะทางที่สามารถจัดการเทคนิคระดับเชิงลึกในแต่ละงานจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด การจัดการแบบรวมศูนย์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งวิธีการที่จะจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ซับซ้อน คือ ใช้โซลูชั่นการมอนิเตอร์ระบบที่สามารถตรวจสอบเครือข่ายได้ครอบคลุมมากที่สุดทุกรูปแบบ รวมถึงสามารถมอนิเตอร์องค์กรในแต่ละแผนกในเชิงลึกได้ด้วย
แผนกไอทีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น
การก้าวสู่ระบบดิจิทัลทำให้แผนกไอทีมีหน้าที่รับผิดชอบสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และจะมีความสำคัญต่อไปในอีกไม่น้อยกว่า 12 เดือนข้างหน้า แผนกไอที จะเป็นศูนย์กลางของการดำเนินธุรกิจต่างๆ และต้องติดต่อกับทุกแผนก ทักษะและเครื่องมือที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการจัดการข้อมูลดิจิทัล แผนกไอทีต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดได้รับการจัดเก็บและส่งมอบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยไม่สะดุด
ทั้งนี้ องค์กรต้องมั่นใจว่า มีเครื่องมือในการตรวจสอบมอนิเตอร์โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เพื่อช่วยให้แผนกไอทีสามารถจัดการระบบดิจิทัล และตรวจสอบระบบได้ในทุกภาคส่วน ตามความรับผิดชอบที่มีเพิ่มมากขึ้น
ขยะดิจิทัลจะมีความสำคัญมากขึ้น
ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติปี 2564 มีการเรียกร้องให้ตระหนักถึงขยะดิจิทัล เป็นไฮไลท์ในวาระการประชุม องค์กรทั่วโลกจะต้องพิจารณาว่าพวกเขาสามารถลดขยะดิจิทัลได้อย่างไร และการตรวจสอบด้านระบบไอทีจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการการจัดการขยะดิจิทัล
ระบบการตรวจสอบสามารถช่วยปรับปรุงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทำงานในระดับที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ดิจิทัล และสามารถลดการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ และลดปริมาณขยะดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการจัดการของเสียด้านไอที ทีมที่รับผิดชอบจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ดี ดังนั้น ธุรกิจควรเน้นที่กลยุทธ์การตรวจสอบระบบเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์จะใช้งานได้สูงสุดและมีอายุยืนยาว ทีมไอทีที่มีข้อมูลที่จำเป็นในการกำจัดจะสามารถลดขยะดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตข้างหน้าได้
AI เป็นเรื่องฝันเกินจริง หรือว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง
ทุกวันนี้มองไปทางไหนก็เห็นว่า AI แทรกซึมอยู่ทุกที่ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านคลาวด์ก็เช่นกัน การนำ AI มาใช้งานบนคลาวด์เด่นชัดมาก และมีแนวโน้มคาดว่าจะเติบโตอย่างชัดเจนในปี 2565 นี้
หากพูดถึงหน้าที่ในการตรวจสอบเฝ้าระวังการทำงานของระบบเครือข่าย AI รับบทสำคัญในการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้น วิเคราะห์และจดจำรูปแบบของข้อมูลที่สัญจรอยู่บนเครือข่าย AI สามารถตรวจพบความผิดปกติและเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อให้องค์กรมีข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเพื่อช่วยในการมองเห็นแนวโน้มและประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น และนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาที่ได้เตรียมการจากข้อมูลที่มีไว้แล้ว ในอนาคตองค์กรต้องมองหาโซลูชันสำหรับการตรวจสอบที่ไม่ใช่แค่พร้อมสำหรับการทำงานร่วมกับคลาวด์ได้เท่านั้น แต่ยังต้องสามารถนำเอา AI เข้ามาปรับใช้ทำงานร่วมกันได้ในอนาคต
ขาดแรงงานที่มีทักษะสำหรับวันนี้และอนาคต
ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมไอทีทั่วโลกพบปัญหาเดียวกัน คือ แรงงานขาดทักษะ แม้ว่าปัญหานี้จะมีผลกระทบมหาศาลแต่ก็ยังหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ในระยะเวลาอันสั้นนี้ไม่ได้และยังคงจะเรื้อรังส่งผลยุ่งยากไปจนถึงปีหน้า ทำให้สิ่งสำคัญของการปรับกระบวนการทางด้านไอทีไปสู่การทำงานอัตโนมัติให้มากที่สุด และให้คนเข้าแก้ไขปัญหาในกรณีที่เป็นปัญหาเร่งด่วนและมีความสำคัญทางธุรกิจ ขบวนการอัตโนมัติจะทำให้ฝ่ายไอทีมีเวลามากขึ้น เพื่อหันมามุ่งเน้นการสร้างการเติบโตทางธุรกิจ
นอกจากนี้ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดทักษะนั้นส่งผลให้องค์กรธุรกิจต้องหันไปพึ่งพา ผู้ให้บริกการจัดการระดับสูง (high-level Managed Services Providers ,MSP) ทำให้เกิดความต้องการบริษัทที่มีทีมงานมืออาชีพที่มีความสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรผู้ใช้ปลายทางจากระยะไกลได้สูงขึ้นกว่าที่เคย ดังนั้น สิ่งที่จะพบก็คือ ธุรกิจผู้ให้บริการจัดการระบบนั้นจะพยายามทำข้อเสนอการให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานที่มีอยู่มากขึ้นในปีหน้า
เส้นที่บรรจบกันของเทคโนโลยีระหว่าง สารสนเทศ และการดำเนินธุรกิจ
การกำกับดูแลข้อมูล การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โครงสร้างพื้นฐานระบบประมวลผล และสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีแบบองค์รวมและสอดคล้องกัน และทักษะทั้งภายในและภายนอกเพื่อสนับสนุนสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นจุดโฟกัสหลักในปี 2565 และต่อไปอีกในอนาคต การเติบโตของอุตสาหกรรมยุค 4.0 ทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในหลายสิ่งในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ และรวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการดำเนินธุรกิจก็มีการตรวจสอบว่าส่วนใดนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงไปด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีเฉพาะโซลูชันการตรวจสอบระดับกลางและสูงเท่านั้นที่มั่นใจได้ว่าสามารถตรวจสอบกระบวนการข้ามแผนกหรือทีมงานในกระบวนการวางแผนและการผลิต รวมถึงเปิดเผยให้เห็นถึงจุดเชื่อมต่อกันของกระบวนการทำงานแต่ละฝ่าย ความท้าทายของงานนี้ก็คือ ความสามารถในการปรับตัวตามปริมาณของแอพพลิเคชันที่ปัจจุบันนั้นมีความต้องการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นได้ว่าเรื่องของไอทีและเรื่องของการดำเนินการทางธุรกิจมักต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลที่ถูกเร่งให้เร็วขึ้น เราเชื่อว่าภายในปี 2565 จะเกิดการร่วมมือเชิงพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างอุตสาหกรรมไอทีและเรื่องของกระบวนการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น มากถึง 40% ที่จะนำเสนอโซลูชั่นที่มีความสามารถครบสมบูรณ์ ที่ทั้งลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบลงได้ 20% พร้อมกับสนับสนุนการทำงานแบบอัตโนมัติซึ่งจะช่วยให้องค์กรนั้นสามารถลดการลงทุนได้ถึง 40% ในการกำกับดูแลข้อมูล รวมถึงการจัดการองค์กรด้วยศาสตร์ในการจัดการแบบดิจิทัลและเทคโนโลยีในการดำเนินงานแบบดิจิทัล
การปรับสู่ระบบดิจิทัลพร้อมแล้ว แต่ยังต้องรอก่อน
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลก หลายบริษัทถูกบังคับให้ปรับสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังถูกกระตุ้นด้วยจากความต้องการเชื่อมต่อการทำงานจากระยะไกล จากการศึกษาของ Bitkom จะเห็นการใช้การประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอและเครื่องมือในการทำงานร่วมกันมากขึ้นกว่าในอดีต และการเกิดขึ้นของโมเดลธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ
กระบวนการทำงานแบบดิจิทัลและระบบการทำงานจากระยะไกล จะยังคงเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงและเกี่ยวข้องในองค์กรมากขึ้น การเฝ้าติดตามในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกกระจายศูนย์ออกไปยังคงเป็นความท้าทายหลัก ที่หลายๆ บริษัทนั้นยังต้องเผชิญอยู่ในขณะที่ยังต้องเดินหน้าธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน
โดย มิสเตอร์เซบาสเตียน ครูเกอร์ รองประธาน Paessler ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก