5 กลวิธีในการเลือกกล้องส่องสายไฟเบอร์
จุดเชื่อมต่อที่สกปรกนั้นยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของปัญหาที่เกี่ยวกับสายไฟเบอร์ และการทำงานล้มเหลวที่เกิดทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ ในพื้นที่เชื่อมต่อของเขตสำนักงาน ในองค์กรต่างๆ ไปจนถึงระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ซึ่งการทำความสะอาดหน้าตัดสายไฟเบอร์อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะทำให้เรามั่นใจถึงความสะอาดได้จนกว่าจะสามารถมองเห็นหน้าตัดได้อย่างชัดเจน
ในตลาดมีกล้องวิดีโอและไมโครสโคปหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรร มากจนกระทั่งเป็นภาระในการเลือกเฟ้นกล้องส่องที่ดีที่สุดสำหรับเครือข่ายสายไฟเบอร์ตอนนี้ ดังนั้นทาง Fluke จึงลิสต์คำถามสำหรับช่วยมองหากล้องที่นำมาใช้ตรวจสายได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ที่ไม่จำเป็นว่าคุณต้องการใช้ตรวจเพียงไม่กี่สิบเส้น หรือต้องเอามาส่องหน้าตัดสายไฟเบอร์หลายพันเส้นก็ตาม ก็สามารถถามคำถามเดียวกันนี้กับตัวเองได้:
1. กล้องนี้ใช้ตรวจหัวต่อสายไฟเบอร์ที่คุณใช้ได้ครบทุกแบบหรือไม่
เครือข่ายสายใยแก้วนำแสงปัจจุบันค่อนข้างซับซ้อน มักมีสายทั้งแบบซิงเกิลและมัลติโหมด ใช้รูปแบบการมัลติเพล็กช์หรือส่งสัญญาณคู่ขนานสารพัดวิธีเพื่อรองรับครอบคลุมทุกการใช้งานตั้งแต่การเชื่อมต่อความเร็วสูงของผู้ให้บริการ ไปจนถึงลิงค์ที่เชื่อมต่อระหว่างสวิตช์ ระหว่างเซิร์ฟเวอร์ด้วยกัน หรือแม้แต่ลิงค์ไฟเบอร์ที่นำมาใช้แทนในวงแลนยุคใหม่ จนตอนนี้แทบจะพบสายไฟเบอร์กันแทบทุกที่โดยเฉพาะในดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อให้ได้ความเร็วสูงระดับ 100, 200, และ 400 กิกะบิต ที่มีการใช้หัวต่อมัดรวมสายไฟเบอร์แบบ MPO ทั้ง 8 และ 16 เส้น รวมทั้งใช้หัวต่อที่ทำดูเพล็กซ์ถึง 4 ไปจนถึง 8 ดูเพล็กซ์ อย่างเช่นรูปแบบการใช้งาน 4×25, 4×100, หรือ 8×50 กิกะบิต ซึ่งนำมาใช้เชื่อมต่อสวิตช์หรือเซิร์ฟเวอร์ระดับล่างลงมาเพื่อประหยัดทั้งพื้นที่และค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ยังมีหน้าตัดสายแบบ APC (Angled Physical Contact) ที่นำมาใช้เชื่อมต่อ MPO แบบซิงเกิ้ลโหมด ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งซิงเกิลโหมดดูเพล็กซ์ และ MPO มัลติโหมดยุคใหม่ระดับ 400 กิกะบิตเนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการสะท้อนลำแสงได้ดีกว่า ทำให้ระบบเครือข่ายไฟเบอร์ตอนนี้จะประกอบด้วยหน้าตัดสายทั้งแบบ APC และ UPC (Ultra Physical Contact) โดยแทบจะเหลือเครือข่ายน้อยมากที่มีสายไฟเบอร์และหัวต่อเพียงแค่แบบเดียวทั้งเครือข่าย ทำให้คุณจำเป็นต้องใช้กล้องส่องสายไฟเบอร์อย่าง Fluke Networks’ FI-3000 / FI2-7300 FiberInspector™ Ultra Camera ที่มีปลายหัวให้ใช้ตรวจสอบได้หมดทุกแบบ ตั้งแต่หัวต่อสายเดี่ยว จนถึงมัดสายหนึ่งสองมัดแบบ MPO 8, 12, 24, 16, หรือ 32 เส้น ที่ใช้หน้าตัดทั้งแบบ UPC และ APC
2. การตรวจสายไฟเบอร์เป็นแบบอัตโนมัติหรือไม่?
ถึงปัจจุบันเป็นที่ยอมับกันแล้วว่า การตรวจหน้าตัดสายไฟเบอร์ด้วยตัวเองนั้นกระบวนการที่ค่อนข้างไม่แม่นยำ เอาแน่เอานอนไม่ได้ การมองของคนหนึ่งว่าสะอาดแล้วนั้นอาจแตกต่างกันมากในมุมมองของอีกคนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่นที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยอย่างประสบการณ์และสุขภาพดวงตาที่นำไปสู่การตรวจวัดความสะอาดของหน้าตัดสายที่ไม่เที่ยงตรง ดังนั้นเราจึงควรหันมาหาเครื่องมือที่ช่วยตรวจให้เราแบบอัตโนมัติเพื่อลดความผิดพลาดอันเกิดจากมนุษย์ ซึ่งกล้องส่องสายไฟเบอร์ที่ทำได้นี้มีข้อความพิจารณาสองอย่างได้แก่ ความสามารถในการจับโฟกัสอัตโนมัติ และการตัดสินว่า ผ่าน/ไม่ผ่าน ให้แบบอัตโนมัติ
เมื่อกดปุ่มออโต้โฟกัส เครื่อง FiberInspector™ Ultra จะแสดงภาพขึ้นมาทันทีที่ชัดและเป็นแบบถ่ายทอดสดสำหรับภาพหน้าตัดสสายไฟเบอร์ และถ้านำไปใช้ตรวจมัดสาย MPO ตัวกล้องคู่จะทำให้เห็นภาพได้ทั้งสายไฟเบอร์เดี่ยวและแบบที่ครอบคลุมทั้งแผงสาย ซูมเข้าไปดูเฉพาะส่วนที่ต้องการได้เพียงแค่แตะหน้าจอเรียกดูมุมมองขยายละเอียดขึ้นในแต่ละเส้นไฟเบอร์ แต่ที่เด็ดสุดของเครื่อง FiberInspector Ultra คือโหมดออโต้เทสที่ตรวจสอบให้แบบอัตโนมัติ จัดเกรดหน้าตัดสายตามเกณฑ์ความสะอาดของมาตรฐาน IEC 61300-3-35 ที่ให้ผลผ่านหรือไม่ผ่านอิงตามจำนวน ขนาด และตำแหน่งของรอยขีดข่วนหรือตำหนิ
3. คุณต้องแบ่งปันและรายงานข้อมูลผลการตรวจสอบสายไฟเบอร์หรือไม่?
การที่สามารถตรวจสอบหน้าตัดสายไฟเบอร์ทุกรูปแบบได้อย่างอัตโนมัตินั้นถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว แต่ถ้าไม่สามารถแชร์หรือทำรายงานข้อมูลดังกล่าวออกมาได้ การเอารายละเอียดให้คนอื่นในทีมเพื่อประสานงาน หรือนำไปใช้กับผลการทดสอบระดับ Tier 1 หรือ Tier 2 ก็ย่อมยากมาก (หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย) โดยเฉพาะเมื่อต้องจัดการกับลิงค์ไฟเบอร์หลักร้อยหลักพันเส้น แต่นั่นจะไม่เป็นปัญหาเมื่อเลือกใช้กล้องส่องอย่าง FI-3000 / FI2-7300 FiberInspector™ Ultra Camera
คุณสามารถติดตั้งแอพ Fluke Networks’ FiberInspector (FI-IN) บนอุปกรณ์ทั้งแบบ iOS และแอนดรอยด์เพื่อเชื่อมต่อกับกล้อง FI-3000 ผ่านไวไฟ เพื่อใช้ตรวจสอบอย่างรวดเร็วและแสดงผล PASS/FAIL รวมทั้งควบคุมการซูมเข้าออกของภาพแต่ละหน้าตัด เลื่อนกล้องที่ถ่ายภาพสดไปมาได้ เหมาะอย่างยิ่งกับงานขนาดย่อม แอพ FI-IN ยังรองรับการตั้งชื่อและจัดเก็บผลการทดสอบไว้บนอุปกรณ์ หรือส่งรูป หรือแม้แต่รายงานในรูป PDF ให้ทีมงานได้ด้วย
ยังไม่พอ เครื่อง FI-3000 ยังสามารถออกรายงานแบบละเอียดในรูป PDF ด้วยการผสานเข้ากับตัว Versiv™ และ LinkWare™ ที่ใช้จัดการโปรเจ็กต์และงานเอกสารได้เป็นอย่างดี เพียงเชื่อมต่อเครื่อง FI-3000 เข้ากับเครื่อง Versiv ผ่านสายเคเบิลแบบยูเอสบีทั่วไป ก็สามารถใช้ระบบ ProjX™ Management ของ Versiv ในการระบุงานทดสอบแบ่งตามประเภทสาย ชื่อสาย การทดสอบที่ต้องการ และค่าเกณฑ์การทดสอบการสูญเสีย (Tier 1), OTDR (Tier 2), และออกรายงานการตรวจสอบได้ รวมทั้งยังทำงานร่วมกับ LinkWare เพื่อออกเอกสารเต็มรูปแบบที่ระบุรายละเอียดทุกลิงค์ให้คุณสามารถรวมรายงานทั้ง Tier 1, Tier 2, และรายงานตรวจสอบเข้ามาอยู่รายงานเดียวกันได้ รวมทั้งใช้งานผ่านแพลตฟอร์มบนคลาวด์อย่าง LinkWare Live ที่ให้คุณจัดการงานตรวจเทียบมาตรฐานต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ร่วมกับทุกคนได้บนทุกอุปกรณ์
4. กล้องส่องสายไฟเบอร์นี้ใช้ง่าย พกพาสะดวกไหม?
แม้ความง่ายในการใช้งานและการถือระหว่างทำการตรวจสอบนั้นอาจเป็นเกณฑ์ลำดับสุดท้ายของคุณ แต่ถ้าต้องตรวจสอบลิงค์หลายร้อยหลายพันเส้นแล้ว ลองคิดถึงความเมื่อยล้าในการถือกล้องส่องกรณีที่ทั้งหนักทั้งจับยากดูได้ ดังนั้นเครื่องอย่าง FI-3000 จึงออกแบบมาโดยคำนึงถึงจุดนี้เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่กะทัดรัด หยิบจับได้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และเบาเพียงแค่ 11.5 ออนซ์ (326 กรัม) ทำให้ง่ายในการใช้ตรวจสอบสายเคเบิลทั้งผ่าน Bulkhead และมัดสายต่างๆ ตลอดทั้งวัน รวมทั้งยังมีกระเป๋าคาดสำหรับพก หยิบออกมาใช้สะดวก พร้อมที่จัดเก็บปลายหัวตรวจและตัวทำความสะอาดอย่าง Quick Clean™ ด้วย
ยิ่งเราเชื่อมต่อสายไฟเบอร์มัดรวมแน่นอยู่ในพื้นที่จำกัดมากกว่าแต่ก่อน การมองหาพอร์ตไฟเบอร์ที่ถูกต้องในบริเวณที่โยงสายหนาแน่นเป็นพิเศษย่อมยากตามไปด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่แสงน้อยอย่างในดาต้าเซ็นเตอร์หรือห้องชุมสาย ซึ่งเรามักเห็นช่างคอยคาบไฟฉายส่องหาสายเพื่อให้มือว่างในการทำอย่างอื่นใช่ไหม? แต่กล้องอย่าง Fluke Networks’ FI-3000 / FI2-7300 FiberInspector™ Ultra Camera มาพร้อมกับไฟฉาย PortBright™ ที่บิ้วท์อินติดมาให้ใช้มองหาพอร์ตได้ง่ายมาก ไม่ว่าแสงโดยรอบจะเอื้ออำนวยมากน้อยเพียงใดก็ตาม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ – https://www.flukenetworks.com/blog/cabling-chronicles/choosing-fiber-optic-scope