NIA เดินหน้าปั้น “สุดยอดสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีค 2021″
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เดินหน้าจัดกิจกรรม Startup Thailand League 2021 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนิสิต/ นักศึกษาทั่วประเทศให้สามารถเข้ าถึงองค์ความรู้ในการสร้างธุรกิ จสตาร์ทอัพ ตลอดจนทรัพยากรที่จะส่งเสริ มการพัฒนาธุรกิจนวั ตกรรมจากความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่การเป็นผู้ ประกอบการสตาร์ทอัพได้ในอนาคต ซึ่งจะประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก
ได้แก่ 1) การอบรม Coaching Camp ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง (Mentor) เพื่อสร้างความเข้าใจในการพั ฒนาธุรกิจนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ และ 2) กิจกรรม Pitching Startup Thailand League เป็นการประกวดแข่งขันไอเดี ยแผนงานธุรกิจสตาร์ทอัพของนิสิต นักศึกษา ทั้งในระดับภูมิภาคและระดั บประเทศ
ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรรม (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “NIA ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุ ดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เป็นหน่วยงานหลักในการขั บเคลื่อนระบบนิเวศสตาร์ทอั พของไทย (Thailand Startup Ecosystem) ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งหนึ่งในแผนการส่งเสริมสตาร์ ทอัพของประเทศ คือการเพิ่มบทบาทสถาบันการศึ กษาในการสร้างความตระหนักและบ่ มเพาะสตาร์ทอัพ รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีให้แก่ นิสิต/นักศึกษา เพื่อให้สถาบันการศึกษาเป็นแหล่ งสร้างสรรค์ความคิดและนวัตกรรม โดยพยายามผลักดันให้สถาบันการศึ กษาที่มี
ศักยภาพเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็
Startup Thailand League เป็นโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งสร้ างเมล็ดพันธุ์เถ้าแก่น้อย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็ นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในภาคธุรกิจ หรือเป็นพนักงานที่มีคุ ณภาพของบริษัทเอกชน ซึ่งตลอด 5 ปีของการดำเนินกิจกรรมมีนักศึ กษาเข้าร่วมกว่า 70,000 คน จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งรั ฐและเอกชน โดยได้รับเงินสนับสนุนในการพั ฒนาผลงานนวัตกรรมทั้งสิ้นกว่า 1,350 ทีม ทั้งนี้ สามารถต่อยอดจัดตั้งเป็นบริษั ทและปัจจุบันยังดำเนินธุรกิจอยู่ มากกว่า 40 บริษัท ก่อให้เกิดรายได้รวมต่อปีมากกว่ า 400 ล้านบาท (เฉลี่ย 10 ล้านบาทต่อปีต่อบริษัท) นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการกระจายตั วของสตาร์ทอัพไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เกิดการกระจายรายได้ออกสู่ภูมิ ภาค รวมถึงเกิดการจ้างงานและสร้ างความมั่นคงให้กับชุมชนได้ มากขึ้นอีกด้วย
นอกจากการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่ นใหม่แล้ว กิจกรมนี้ยังมีส่วนสำคัญในการส่ งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิ จเริ่มต้น เช่น การเกิดสังคมแห่งผู้ ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ใน 40 มหาวิทยาลัยก การสร้างเครือข่าย Startup Thailand League (Facebook Group) ซึ่งเป็นพื้นที่รวมตัวสร้างเครื อข่ายพลังสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ทั่ วประเทศ สำหรับการแชร์ไอเดียแลกเปลี่ ยนประสบการณ์ หาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ หาพาร์ทเนอร์ แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจสตาร์ทอั พ โดยปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 2,240 คน พื้นที่ Co-Working Space ในมหาวิทยาลัย กองทุนสนับสนุนนักศึ กษาในบางมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเกิดการลงทุนจากบริษั ททั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัย เช่น หลักสูตรการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพั ฒนานักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีส่วนสร้างกระแสความตื่ นตัวในธุรกิจ “สตาร์ทอัพ” ที่เป็นความสนใจของกลุ่มนักลงทุ นรุ่นใหม่
ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเสริมถึงการจัดกิจกรรมในปี นี้ว่า “ด้วยสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้หลายกิจกรรมต้องปรับรู ปแบบเป็นออนไลน์ ซึ่งพบว่า นิสิต/นักศึกษาส่งแนวคิ ดและแผนธุรกิจสตาร์ทอัพในกลุ่ม Health Tech มากขึ้นกว่าทุกปี และมาเป็นอันดับต้นๆ สะท้อนให้เห็นว่านิสิต/นักศึ กษาสามารถใช้วิกฤติเพื่อสร้ างโอกาสในการสร้างสรรค์ ผลงานในการเริ่มต้นธุรกิจได้
ทั้งนี้ NIA จะจัดกิจกรรมแสดงผลงาน/ผลิตภั ณฑ์ต้นแบบจาก “IDEA สู่ Prototype” ที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 200 ผลงาน เพื่อสร้างโอกาสสำคั ญในการนำเสนอแนวคิ ดและแสดงผลงานต่อกลุ่มนักลงทุน ภาคเอกชน และผู้สนใจธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมทั้งจะมีการแข่งขันระดั บประเทศครั้งสุดท้ายในช่ วงปลายปีนี้ เพื่อค้นหาสุดยอด Startup Thailand League ประจำปี 2021 โดยบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จะได้สนับสนุน Cloud Voucher แก่นิสิต/นักศึกษาที่ชนะเลิ ศระดับประเทศ รวมเป็นรางวัลกว่า 36,000 USD หรือประมาณ 1,200,000 บาท
ดร.พันธุ์อาจ ย้ำว่า “เวทีการแข่งขัน Startup Thailand League ระดับมหาวิทยาลัย ไม่เพียงเป็นพื้นที่จุ ดประกายและส่งเสริมการเติ บโตของสตาร์ทอัพให้ก้าวสู่ การเป็นสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ ตอบโจทย์ภาคธุรกิจมากขึ้น แต่ยังสอดรับกับนิสิต/นักศึ กษาที่เพิ่งจบใหม่และอาจว่ างงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ โดยจะทำให้เยาวชนรุ่นใหม่มี โอกาสเรียนรู้อีกทางเลือกหนึ่ งของการเป็นผู้ประกอบการที่ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่ อนเศรษฐกิจและเพิ่มขี ดความสามารถการแข่งขันของประเทศ นอกเหนือจากการเข้าทำงานในองค์ กรธุรกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ในอนาคต NIA จะต่อยอดกิจกรรมเพื่อให้ ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมของประเทศมากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มเติมกิจกรรมที่เสริมสร้ างความรู้/ความสามารถผ่านกิ จกรรมอบรมบ่มเพาะ การส่งเสริมให้สามารถจัดตั้งบริ ษัทประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพได้อย่ างจริงจังเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ เพื่อสร้างทรายเม็ดใหม่เข้าสู่ ระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้ นให้มากที่สุด และจะมุ่งเน้นให้นิสิต/นักศึ กษาทำธุรกิจในนวัตกรรมเชิงลึก (Deep Tech) มากยิ่งขึ้น โดยมุ่งใน 5 เทคโนโลยี ได้แก่ MED TECH, AG TECH, FOOD TECH, SPACE TECH และ ARI TECH