หัวเว่ยเรียกร้องภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี
แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ย ได้กล่าวถึงโครงการที่ริเริ่มโดยนักศึกษา ภายในงานประชุมสัมมนา St. Gallen Symposium ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบการจัดงานครั้งที่ 50 ในปี 2564 เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งมีทั้งบรรดาผู้นำในปัจจุบันและผู้นำรุ่นใหม่หลากหลายเจเนอเรชั่นจากทั่วโลกมากกว่า 1,000 คน รวมถึงผู้บรรยายจากภาคเอกชน
เช่น คริสตอฟ ฟรานซ์ ประธานคณะกรรมการบริหารของโรเช่ (Roche), โอล่า คาเลนิอุส, ประธานคณะกรรมการบริหารของเดมเลอร์ (Diamler), สัตยา นาเดลลา ประธานกรรมการบริหารของไมโครซอฟต์ (Microsoft), และโรชินี นาดาร์ มาโฮตรา ประธานกรรมการบริหารของเอชซีแอล คอร์ปอเรชัน (HCL Corporation) เข้าร่วมเสวนา นอกจากนี้ ยังมีผู้นำทางการเมือง เช่น เซบาสเตียน เคิร์ซ นายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรีย ตัวแทนจากองค์กรนานาชาติ เช่น ดอริส ลีโอทาร์ด ประธาน Swiss Digital Initiative เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองภายใต้หัวข้อ “ความสำคัญของความเชื่อมั่น” ซึ่งเป็นประเด็นที่หัวเว่ยพยายามผลักดันอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและคณะกรรมการบริหารของหัวเว่ย เชื่อว่าการสร้างความเชื่อมั่นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ออกนโยบาย ผู้คุมกฎ รวมถึงหน่วยงานเอกชนด้วย โดยกล่าวว่า “ในขณะที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น บริการต่าง ๆ อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น และโครงข่ายที่สำคัญต้องพึ่งพาอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบทันที (เรียลไทม์) มากขึ้น รัฐบาลทั่วโลกต้องทำให้มั่นใจว่าประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งการตั้งกฏกลางที่ใช้ร่วมกันเท่านั้นจึงจะสามารถการันตีได้ว่าเราจะมีความปลอดภัยเพียงพอในระดับที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เทคโนโลยีได้”
ผู้เข้าร่วมงานต่างเห็นพ้องว่า ความเชื่อมั่นจะต้องสร้างขึ้นด้วยความเปิดกว้างและความโปร่งใส และถึงเวลาแล้วที่เราต้องลงมืออย่างเป็นรูปธรรมในการระบุปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อสถาบันการเมือง สถาบันเศรษฐกิจ เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมไปถึงสื่อมวลชนค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และสถานการณ์นี้ยิ่งย่ำแย่ลงไปอีกเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19
ไซมอน ซัลลิเกอร์ หนึ่งในสมาชิกของทีมนักศึกษาทั้ง 35 คนจากมหาวิทยาลัย เซนต์ กาลเลิน (St. Gallen) ผู้จัดงานสัมมนาในปีนี้ ได้กล่าวว่า “เราในฐานะคนรุ่นใหม่ที่ติดต่อเชื่อมกับผู้คนมากมายผ่านโซเชียลมีเดีย แต่ก็ไม่ได้เป็นกลุ่มคนที่เราเชื่อมั่นและไว้วางใจได้” โดยทีมนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความคิดของพวกในการหาวิธีการเพื่อรักษาและเสริมสร้างความเชื่อมั่นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
แคทเธอรีน เฉิน ยังได้แสดงความหวังว่าผู้นำจากทั่วโลกรุ่นต่อไปจะช่วยสานต่อในการสร้างความเชื่อมั่น รวมทั้งสร้างการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึง โดยเธอได้กล่าวว่า “ดิฉันสนับสนุนให้ผู้นำรุ่นใหม่สานต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน บุคคล และสิ่งแวดล้อม เราต้องสร้างความเชื่อมั่นอันแข็งแกร่งในเทคโนโลยี โดยอาศัยกฎเกณฑ์ นวัตกรรม และความก้าวหน้า สามสิ่งนี้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างมั่นคงและมีความน่าเชื่อถือ”