November 24, 2024

NetApp สร้างปรากฏการณ์ “ไฮบริดคลาวด์อัจฉริยะ” จากทฤษฎีสู่โลกแห่งความเป็นจริง

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมองค์กรด้านไอทีทั้งหลายถึงมอง “ไฮบริดคลาวด์” เป็นระบบที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต จากข้อมูลของบริษัทวิจัยด้านการตลาดอย่าง IDC ได้มีการระบุว่า มีองค์กรจำนวนมากกว่า 65% ย้ายมาใช้ไฮบริดคลาวด์ก่อนปี 2016 เสียอีก ซึ่งการนำระบบใหม่มาใช้อย่างรวดเร็วนี้ต่างถูกผลักดันจากการที่หลายบริษัทต่างมองการเปลี่ยนธุรกิจตัวเองให้มีความคล่องตัว เน้นการเป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการเปิดตัว และขยายตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ของตนเอง

ไฮบริดคลาวด์ ตามทฤษฎีนั้น คือสภาพแวดล้อมด้านไอที ที่ทุกอย่างถูกจัดการได้จากศูนย์กลางเดียวกัน และสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังจุดที่ต้องการได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามแต่ละแพลตฟอร์มต่างก็มีลักษณะด้านประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไป โดยแต่ละแห่งอาจให้บริการแอปพลิเคชั่นและระบบจัดเก็บข้อมูลแตกต่างกันด้วย

ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชั่นที่ทำงานบนระบบที่อยู่ฝั่งองค์กรมักอาศัยอินเทอร์เฟซ โปรโตคอล และรูปแบบข้อมูลที่หลากหลาย และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ทางฝั่งบริการบนคลาวด์ก็มักใช้รูปแบบข้อมูลใหม่ที่อิงตามสถาปัตยกรรม RESTful ตัวอย่างเช่น S3 API ที่มีชื่อเสียงของ  Amazon Web Services หรือ โปรโตคอลอย่าง Swift ที่พัฒนาขึ้นโดยชุมชน OpenStack ดังนั้น ความไม่ตรงกันระหว่างแอปพลิเคชั่นแบบเก่ากับที่ใช้อยู่บนคลาวด์ทำให้เกิดอุปสรรคสำคัญสำหรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องการโยกย้ายงานเดิมที่มีอยู่ขึ้นไปบนคลาวด์ ไม่นับรวมกับองค์กรหลายๆ แห่งเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “ดาต้าเซ็นเตอร์ยุ่งเหยิง” จากการสร้างระบบเพิ่มที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย โดยเฉพาะระบบเวอร์ช่วล จนอาจลามไปถึงระดับที่ตัวเองไม่เคยหรือไม่สามารถจัดการได้มาก่อน

ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย NetApp Data Fabric

NetApp ได้เข้ามาช่วยองค์กรด้านไอทีในการสร้างดาต้าแฟบริก (Data fabric) สำหรับไฮบริดคลาวด์เพื่อเชื่อมต่อทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง อำนวยความสะดวกในการจัดการ การเคลื่อนย้าย และปกป้องความปลอดภัยของข้อมูลทั่วทั้งภายใน และภายนอกคลาวด์ สำหรับดาต้าแฟบริกที่พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีของ NetApp นี้ทำงานบนพื้นฐานที่เป็นซอฟต์แวร์โดยใช้ระบบปฏิบัติการสตอเรจที่ได้การยอมรับมากที่สุดในตลาด ทำให้ได้รูปแบบข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวกัน, การขนส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ, และทางเลือกในการปกป้องข้อมูลมากมายสำหรับผสานเข้ากับระบบไฮบริดคลาวด์

NetApp ให้สถาปัตยกรรมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้จัดการข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องบนทุกบริการคลาวด์ ช่วยขจัดปัญหาการแบ่งแยก และความแตกต่าง ด้วยการทำให้ข้อมูลไหลเวียนไปตามตำแหน่งของแอปพลิเคชั่นที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะวิ่งจากแพลตฟอร์มเก่าไปยังบริการบนคลาวด์ในปริมาณที่ไม่จำกัด หรือจากพับลิกคลาวด์ลงมายังระบบไพรเวทคลาวด์ที่บริหารจัดการโดยฝ่ายไอทีก็ตาม

ดาต้าแฟบริกนี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการข้อมูลอย่างครอบคลุมสำหรับการจัดเก็บข้อมูล และทำให้เคลื่อนย้ายข้อมูลไปมาระหว่างคลาวด์ขนาดใหญ่อย่างเช่น Amazon Web Services (AWS) ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการจัดการ การย้ายงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันบนคลาวด์ได้ด้วย ตัวอย่างเช่นในกรณี NetApp Private Storage for Cloud ซึ่งเป็นระบบแบบไฮบริด ได้เข้ามาช่วยองค์กรบางแห่ง ในการจัดวางระบบจัดเก็บข้อมูลที่เป็นแบบฟิสิคัลของพวกเขาเข้าใกล้กับ AWS โดยที่ไม่ต้องย้ายเข้าไปในคลาวด์ของ AWS ได้ ทำให้บริษัทสามารถรักษากฎระเบียบด้านการบริหารจัดการข้อมูล และยังประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์เป็นจำนวนเงินมหาศาล รวมทั้งได้ความยืดหยุ่นจากเซิร์ฟเวอร์แบบเวอร์ช่วลในคลาวด์ด้วย

ปกป้องข้อมูลของคุณได้อย่างยอดเยี่ยมทั่วทั้งไฮบริดคลาวด์

การย้ายข้อมูลขึ้นไปบนคลาวด์นับเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เรื่องความปลอดภัยจึงกลายเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับเหล่าผู้บริหารด้านไอที ส่งผลให้หลายคนยังลังเลที่จะหันมาใช้งานคลาวด์ แต่อย่างไรก็ตามด้วย NetApp Data Fabric ที่เป็นอินเทอร์เฟซ ในการจัดการรวมศูนย์หนึ่งเดียวที่ทำให้แอดมินไอทีสามารถบังคับใช้นโยบายด้านไอทีให้ได้ตามเป้าหมายทั้งในส่วนของการให้บริการ การเตรียมความพร้อม และการปกป้องข้อมูลทั่วทั้งไฮบริดคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และเนื่องด้วยกฎระเบียบมาตรฐานสากลที่มีความเข้มงวดทำให้ทีมงานด้านไอที ต้องใช้เวลาในการสำรองระบบมากกว่าปกติ รวมทั้งการจัดเก็บบันทึก Log, อีเมล์, และการสื่อสารอื่นๆ ด้วย ซึ่งไม่เพียงต้องการเจ้าหน้าที่ด้านไอทีที่มีความถนัดเป็นพิเศษมาคอยจัดการเทปบันทึกข้อมูลสำรองทุกเดือนเท่านั้น แต่ขั้นตอนการกู้คืนยังต้องใช้หลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง และกินเวลาหลายวัน

NetApp Data Fabric  ได้เข้ามาตอบโจทย์ ด้วยการผสานการใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ของ NetApp ร่วมกับ AWS Glacier ซึ่งเป็นบริการด้านการจัดเก็บข้อมูลของ AWS จะช่วยให้บริษัทตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัย และลดการใช้บริการของระบบเทปบันทึกข้อมูลไปได้มาก รวมทั้งได้ประโยชน์การจัดเก็บข้อมูลผ่านคลาวด์ในราคาที่ย่อมเยาด้วย ในท้ายที่สุดผลที่ได้รับก็คือ การสำรองข้อมูลจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ, การกู้คืนระบบก็ทำได้รวดเร็วและสะดวกสบาย ทำให้ทีมงานด้านไอทีมีเวลาที่จะไปให้ความสำคัญกับโครงการอื่นที่สำคัญมากกว่า เป็นต้น

บทสรุป

ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและหนักหน่วงกว่าที่เคยเป็น ขณะที่รักษาสมดุลกับด้านความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายไปด้วย ระบบคลาวด์จึงเข้ามาช่วยให้ฝ่ายไอทีมีโอกาสเร่งความเร็วในการพัฒนานวัตกรรม และเปิดรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลักดันการปฏิวัติทางธุรกิจ ด้วยวิสัยทัศน์ของ NetApp ในด้านการจัดการข้อมูลสำหรับอนาคตจะทำให้ผู้บริหารด้านไอทีวางรากฐานสำหรับระบบไฮบริดคลาวด์ได้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อใช้เชื่อมต่อกับบริการต่างๆ ที่มีให้เลือกมากมายบนพับลิกคลาวด์เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจ

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ – https://cloud.netapp.com/hubfs/cloud-storage-starter-kit.pdf