เอ็นทีที คาดการณ์อนาคต FUTURE DISRUPTED ปี 2021 : ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมที่เกิดจาก โควิด-19
บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เผยถึงการคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2021 (Future Disrupted: 2021’ technology trends predictions) จากแนวโน้มที่สำคัญของเทคโนโลยีที่คาดการณ์ว่าจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และผนวกกับข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญของ NTT รวมถึงแนวโน้มที่จะชี้ให้เห็นแนวทางสำหรับธุรกิจที่ต้องการคว้าโอกาสและประสิทธิผลจากเทคโนโลยีเหล่านี้
การคาดการณ์ที่ล้ำหน้าไปกว่าปี 2021 โดยเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสร้างความพลิกผันให้กับตลาดนั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เป็นตัวเร่งการทรานส์ฟอร์มทางดิจิทัลของสังคม โดย NTT Ltd. เชื่อว่ามีแนวโน้ม Disruptive Technology ที่สำคัญ 5 ด้าน ที่จะส่งสัญญาณในการช่วยให้ธุรกิจได้ตระหนักถึงความปลอดภัย และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงลดภาระด้านสิ่งแวดล้อม:
- All-photonics networks (APNs) จะขับเคลื่อนการสื่อสารทั่วโลก: APN จะเปิดใช้งานการส่งข้อมูลแบบ end-to-end ระหว่างเทอร์มินัลและเซิร์ฟเวอร์และจะช่วยให้เราสามารถดำเนินการในสภาพแวดล้อมการสื่อสารที่ยั่งยืนโดยใช้พลังงานต่ำเป็นพิเศษ
- Cognitive Foundation (CF) เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเชื่อมต่อและควบคุมทุกอย่าง: การจัดการแบบรวมศูนย์และการจัดสรรทรัพยากรไอซีทีที่รวดเร็วจะช่วยให้สามารถรวบรวมและตรวจจับข้อมูลต่างๆ ทั้ง เสียง, วิดีโอ หรือรูปแบบอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของ Internet of Things (IoT) ได้
- Digital twin computing (DTC) ทำให้สามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์โดยการผสานรวมการทำงานระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนจริง: DTC จะทดสอบสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันโดยการคัดลอกข้อมูลอย่างอิสระ การรวมและแลกเปลี่ยนการสร้างแบบจำลองเสมือนทางดิจิทัล (digital twins) ของ “สิ่งต่างๆ (things)” และผู้คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะรวมอยู่ในแอพพลิเคชั่น เช่น ระบบวิเคราะห์ด้านการจราจร และระบบที่สามารถคาดการณ์ในด้านการควบคุมโรคได้อย่างแม่นยำ
- วิวัฒนาการของ ‘citizen developer’ และระบบอัตโนมัติของกระบวนการหุ่นยนต์จะพลิกโฉมธุรกิจ: Low-code /no-code แพลตฟอร์มสร้างเพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจโดยใช้ข้อมูลบริษัทของตน ซึ่งจะเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่สำคัญสำหรับธุรกิจ นอกจากนี้แนวทาง “citizen developer” ยังใช้ระบบอัตโนมัติของกระบวนการหุ่นยนต์เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจบางอย่างเป็นไปได้โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้พนักงานได้ใช้เวลากับงานที่มีมูลค่าที่สูงกว่า
- การประมวลผลแบบควอนตัม (Quantum) และ เอดจ์ (Edge) จะนำไปสู่ยุคใหม่ของการประมวลผล: งานด้านการคำนวณสามารถทำได้ในพื้นที่รอบนอกได้มากขึ้น แทนที่จะอยู่บนคลาวด์ส่วนกลางเพียงแห่งเดียวซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการคำนวณ ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ระบบการมองเห็นของรถยนต์จะสามารถดำเนินการและจดจำภาพได้ทันทีแทนที่จะส่งข้อมูลนั้นไปยังระบบคลาวด์เพื่อตรวจสอบก่อน
ในขณะที่ Disruptive Technology กำลังพลิกผันอย่างไร้ขอบเขต แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้แนวโน้มดังกล่าวจะผลักดันให้เกิดความจำเป็นในการทรานส์ฟอร์มทางดิจิทัลเช่นกันซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจให้บริการทีดีกว่า มีการเชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น รวมถึงให้ประสบการณ์เชิงบวกกับลูกค้าและพนักงานได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยเหตุนี้ NTT Ltd. จึงได้คาดการณ์ถึงการทรานส์ฟอร์มทางดิจิทัลในปี 2021 นั้นไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกแต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ
ดังที่ได้เปิดเผย Global Customer Experience Benchmarking Report ปี 2020 ของ เอ็นทีที พบว่าประสบการณ์เชิงบวกของพนักงานและลูกค้า (EX & CX) จะเป็นรากฐานในการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยการวิจัยเพิ่มเติมของ NTT โดยพบว่า 72% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกระบุว่าการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า (CX) เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มทางดิจิทัล
แอนดี้ ค็อคส์ Chief Go-to-Market Practices Office ของ NTT Ltd. ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการคาดการณ์ว่า “ในปี 2021เราคาดการณ์ไว้ว่าความสำเร็จของประสบการณ์ของลูกค้านั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณมีกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการจัดทำเอกสารที่เหมาะสม ข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาลที่องค์กรส่วนใหญ่สามารถเข้าถึง รวบรวม และบริหารจัดการจากแหล่งที่มาที่หลากหลายถูกจัดเตรียมเพื่อการเติบโตในปีถัดไป”
แอนดี้ กล่าวต่อว่า ระบบอัตโนมัติจะมีส่วนสำคัญในการริเริ่มประสบการณ์ของพนักงานด้วย โดย NTT คาดการณ์ว่าจะเห็นความก้าวหน้าในการใช้ระบบอัตโนมัติของกระบวนการหุ่นยนต์, แมชชีน เลิร์นนิ่ง และเอไอ ซึ่งนายจ้างต้องตระหนักเป็นอย่างมากเกี่ยวกับถึงการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานอย่างเหมาะสม ทั้งลักษณะเฉพาะ, ข้อมูล, การวิเคราะห์, เครื่องมือในการทำงานร่วมกัน, ความปลอดภัยและระบบอัตโนมัติจะกลายเป็นรากฐานในการเพิ่มพูนประสบการณ์ของพนักงานและที่สำคัญคือเรื่องสุขภาพี่ดีของพนักงาน
ประการสุดท้ายก็คือ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะต้องรองรับกับทุกสิ่งที่จะนำมาใช้งาน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อทั้งความภักดีของลูกค้าและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2021 โดยในรายงานด้านสำนักงานอัจฉริยะของเอ็นทีที (NTT’s Intelligent Workplace Report) ยังระบุด้วยว่า 93.2% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกได้คิดทบทวนด้านความปลอดภัยใหม่ทั้งหมดเพื่อรองรับวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ ซึ่งการฝึกอบรมการใช้งานเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับความสนมากนัก(สำหรับองค์กรในเอเชียแปซิฟิก มีเพียง 48.7%) ซึ่งมีแสดงให้เห็นความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ การแจ้งพนักงานเกี่ยวกับการปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัย และทำตามโปรแกรมการรับรู้ด้านความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จะสนับสนุนพวกเขาในกิจกรรมประจำวัน – โดยไม่คำนึงถึงสถานที่ตั้ง – และสิ่งที่คาดหวังเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับพฤติกรรมของพนักงาน และประเด็นหลักสำคัญในการยอมรับในการเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ของพวกเขา
หากต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเห็นในปี 2021 และในอนาคตข้างหน้า โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ Future Disrupted webpage.