ความหมายที่แท้จริงของระบบอัตโนมัติที่อัจฉริยะ
ระบบอัตโนมัติแบบอัจฉริยะ แมชชีนเลิร์นนิ่ง เครือข่ายประสาท และ AI สิ่งเหล่านี้ต่างทำให้ชีวิตการทำงานยุคปัจจุบันดูเหมือนหนังวิทยาศาสตร์เข้าไปทุกที จริงไหม?
แต่ถึงเทคโนโลยีเหล่านี้โดยหลักการแล้วดูน่าตื่นเต้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักความหมายที่แท้จริง บ่อยครั้งที่เวลานำเรื่องพวกนี้มาคุยกันในกลุ่มเพื่อนร่วมอาชีพ สิ่งที่ได้กลับมามักเป็นแนวคิดที่อาศัยความเคยชินในการทำงานของแต่ละคนมาปรับแต่งบริบทกันมากกว่า
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ แชทบอทแบบ AI ที่หลายครั้งการออกแบบอินเทอร์เฟซของแชทบอทนั้นมีทางเลือกที่หลากหลายมาก จนเมื่อถึงระดับที่มีความซับซ้อน สุดท้ายมนุษย์ก็ต้องเข้ามาควบคุมอยู่ดีแทนที่จะใช้ AI ทำงานได้หมด
ซึ่งถ้าคุณกำลังพิจารณาที่จะนำระบบอัตโนมัติอัจฉริยะมาใช้ในที่ทำงานแล้ว ก็มีบางประเด็นที่ควรคำนึงดังนี้
ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะที่ดีมีแนวโน้มที่จะทำงานอิงตามแพลตฟอร์ม ซึ่งหมายความว่าระบบเหล่านี้จะให้บริการในรูปของส่วนหนึ่งของโซลูชั่นโดยรวมที่สามารถขยายการครอบคลุมในแง่ของความสามารถ และปริมาณของงานที่สามารถจัดการได้
นอกจากนี้ยังต้องมีการผสานการทำงานระหว่างระบบที่ยอดเยี่ยม ซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มเหล่านี้จะสามารถทำงานร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับแอพพลิเคชั่นอื่นได้ โดยมักรองรับอินเทอร์เฟซมาตรฐานในตลาด ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ท้ายสุดแล้ว ระบบเหล่านี้จะต้องมีความสามารถการทำงานแบบอัตโนมัติที่ได้การยอมรับอย่างเช่น
- การประมวลผลเอกสารเชิง AI แบบอัตโนมัติ ที่ระบบสามารถเรียนรู้จากเอกสารตัวอย่าง เพื่อคัดแยกหรือถอดชุดข้อมูลที่จัดเรียงไว้อย่างดีโดยไม่เกิดผลกระทบ หรือเกิดน้อยที่สุด
- ใช้กระบวนการหุ่นยนต์ที่ออกแบบให้รองรับการปรับเปลี่ยนขนาดระบบ
- มีความอัจฉริยะกับกระบวนการทั้งแบบบูรณาการ และแบบที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าเตรียมไว้แล้ว ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง
- จัดการและปรับแต่ง จัดเรียงกระบวนการได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ทีมงานสามารถตรวจวัดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการทำงานผ่านแดชบอร์ด
สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดใหม่ใช่ไหม?
สำหรับนิยามของคำว่า “ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ” หรือ Intelligent Automation ได้เริ่มนำมาใช้ในวงกว้างตั้งแต่ปี 2018 จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ไปเสียทั้งหมด กระบวนการในสถานประกอบการล้วนถูกปรับให้เป็นแบบอัตโนมัติมาแล้วตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ด้วยความสามารถในปัจจุบันทำให้มีความก้าวหน้ามากกว่าที่เคยเป็นอดีต
เราจะเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะอย่างไร?
Ricoh แนะนำให้คนที่มองหาระบบอัตโนมัติอัจฉริยะมาติดตั้งครั้งแรกนั้นควรทำให้ทุกอย่างเรียบง่าย โดยนำมาใช้กับไม่กี่กระบวนการ พร้อมจัดการกับความคาดหวังไปพร้อมกัน
เราจะรับรู้ประโยชน์ที่แท้จริงจากตัวอย่างข้างต้นได้ก็ต่อเมื่อ มุมมองของผู้ใช้รับรู้ได้ว่างานที่ซ้ำซากจำเจของตนเองนั้นหายไป ซึ่งในอุดมคติแล้วเราต้องการให้การเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบกับผู้ใช้งานปลายทางน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่กับกระบวนการทำงานทั้งหลายนั้นมักตามมาด้วยการสร้างความปั่นป่วน และการฝึกอบรมใหม่ จึงควรหลีกเลี่ยงกรณีดังกล่าวให้ได้มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโครงการที่นำระบบอัตโนมัติอัจฉริยะมาใช้มักมีการจูงใจผู้ใช้ด้วยข้อดีที่มากเกินจริง และเมื่อความเป็นจริงไม่ได้ดีขนาดที่เคยโฆษณาไว้ก็กลายเป็นการสร้างความผิดหวังให้กับทุกคนแทน
ดังนั้นจึงควรเริ่มจากการนิยามให้ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาที่คุณต้องการแก้ไข เช่น จากกรณีข้างต้น ปัญหาคืองานที่เปลืองเวลามากในการป้อนข้อมูลเข้าแอพพลิเคชั่นมาตรฐาน เรียกได้ว่าถ้าไม่มีปัญหาแล้ว ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องหันมาใช้ระบบอัตโนมัติ การใช้นวัตกรรมใหม่ด้วยเหตุผลแค่ว่ามันคือนวัตกรรมย่อมไม่ใช่คำตอบอยู่แล้ว
ที่มา: https://insights.ricoh.co.uk/streamlining-processes/intelligent-automation-definition