เทรนด์ไมโคร เผยผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2019 เติบโตอย่างต่อเนื่อง
เทรนด์ไมโคร ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2019 ที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา
โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 นั้น ธุรกิจภาพรวมของเทรนด์ไมโครเติบโต 3 เปอร์เซ็นต์เมื่อคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ซึ่งความสำเร็จนี้มาจากประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธุรกิจ ระบบความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดจ์ ที่มีการเติบโตของยอดขายอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์เมื่อพิจารณาที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่เช่นเดียวกัน ผลประกอบการนี้ทำให้บริษัทยังคงตำแหน่งผู้นำในตลาดด้านความปลอดภัยระดับองค์กรทั่วโลกไว้อย่างแข็งแกร่ง
“ในไตรมาสที่ 2 นั้น เทรนด์ไมโครยังทุ่มการลงทุนทรัพยากรอย่างต่อเนื่องในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวด้าน DevOps” อีวา เฉิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าว “ในช่วงการประชุมร่วมกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ที่สำคัญประจำปีเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น เราได้นำเสนอโร้ดแมปโซลูชั่นใหม่ล่าสุดเป็นครั้งแรก อันได้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยที่ออกแบบสำหรับ DevOps, ความก้าวหน้าด้านความปลอดภัยสำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในงานปฏิบัติการ, รวมทั้งประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม Trend Micro XDR”
สำหรับไตรมาสที่ 2 นี้ เทรนด์ไมโครได้ประกาศตัวเลขยอดขายรวมสุทธิไว้ที่ 39,988 ล้านเยน (หรือคิดเป็น 364 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อคิดที่อัตราแลกเปลี่ยน 109.75 เยน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) รวมทั้งประกาศรายรับจากการดำเนินงานไว้ที่ 8,980 ล้านเยน (หรือ 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยคิดเป็นรายรับสุทธิที่เข้ามายังบริษัทแม่จริงอยู่ที่ 6,746 ล้านเยน (หรือ 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับไตรมาสนี้
บริษัทจะยังไม่ทบทวนตัวเลขประมาณการณ์ของผลประกอบการทั้งปีงบประมาณที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2019 (ที่เคยประกาศออกมาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2019) ซึ่งเมื่ออ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบันของบริษัทแล้ว ยอดขายรวมสุทธิของทั้งปีที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2019 นี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 168,600 ล้านเยน (หรือ 1,532 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อคิดที่อัตราแลกเปลี่ยน 110 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยที่รายรับจากการดำเนินงานและรายรับสุทธิจะประมาณไว้อยู่ที่ 38,000 ล้านเยน (หรือ 345 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และ 28,700 ล้านเยน (หรือ 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามลำดับ
ตัวเลขอัตราการเติบโตนี้คำนวณโดยใช้สกุลเงินเยนญี่ปุ่นเป็นหลัก ซึ่งความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นนั้นจะระบุเทียบกับเงินในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับอิทธิพลจากความไม่สม่ำเสมอของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ความเป็นผู้นำด้านระบบความปลอดภัยสำหรับคลาวด์และคอนเทนเนอร์:
ในไตรมาสนี้ เทรนด์ไมโครได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านระบบความปลอดภัยสำหรับคลาวด์ขึ้นอีกด้วยการประกาศเปิดตัวโซลูชั่นที่รวมทุกอย่างในหนึ่งเดียว ที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดในตลาดสำหรับปกป้องโหลดงานที่กระจายบนคลาวด์และคอนเทนเนอร์ โดยมีการเปิดตัวความสามารถด้านความปลอดภัยสำหรับคอนเทนเนอร์ที่พัฒนามากขึ้น ที่นำมาเพิ่มใน Trend Micro Deep Security เพื่อยกระดับการปกป้องให้ครอบคลุมทุกกระบวนการของ DevOps ไปจนถึง Runtime Stack
นอกจากนี้ เทรนด์ไมโครยังประกาศการพัฒนาระบบ Deep Security เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นในการปกป้องสภาพแวดล้อมการทำงานแบบมัลติคลาวด์ โดยความต้องการในจุดนี้นั้นถูกเน้นย้ำมากขึ้นในกลุ่ม CISO ระหว่างการประชุมลูกค้าระดับผู้บริหารของเราประจำไตรมาส ซึ่งกว่า 77 เปอร์เซ็นต์ต่างระบุว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะใช้ระบบแบบมัลติคลาวด์สำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานบนคลาวด์
อีวา เฉิน กล่าวเสริมว่า “กลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของเรานั้นได้ก้าวล้ำไปอีกขั้นเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถพึ่งพาคลาวด์ คอนเทนเนอร์ จนไปถึงแม้แต่โครงสร้างพื้นฐานแบบ Serverless ได้ดียิ่งขึ้น”
ที่ผ่านมาบริษัทได้การยอมรับในความสำเร็จจากการรักษาความปลอดภัยให้แก่แพลตฟอร์มคลาวด์ชั้นนำอย่าง AWS และ Azure จนในไตรมาสนี้มีการประกาศขยายความครอบคลุมด้านการรักษาความปลอดภัยไปยังแพลตฟอร์มของ Google ด้วย ความสามารถใหม่เหล่านี้ถูกออกแบบให้ปกป้องเวอร์ชวลแมชชีนบนแพลตฟอร์ม Google Cloud, Kubernetes, และมีการผสานระบบสแกนอิมเมจคอนเทนเนอร์เข้ากับ Google Kubernetes Engine อีกด้วย
การปกป้องอีเมล์เมื่อย้ายขึ้นไปอยู่บนคลาวด์
เทรนด์ไมโครเน้นย้ำเสมอว่าตนเองมีระบบความปลอดภัยสำหรับอีเมล์ที่ครอบคลุมมากที่สุด ไม่เพียงปกป้องแพลตฟอร์มชั้นนำที่ตั้งอยู่ในองค์กรเท่านั้น แต่ยังขยายความครอบคลุมไปปกป้องระบบที่ให้บริการผ่านคลาวด์อย่าง Microsoft Office 365 และ G Suiteของ Gmailด้วย จนทำให้เทคโนโลยีของเทรนด์ไมโครที่มีการพัฒนานวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่องนี้ได้การยอมรับ และเสียงชื่นชมจากกลุ่มนักวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องมากมาย
ไตรมาสนี้ได้มีการประกาศให้เทรนด์ไมโครได้รับตำแหน่งผู้นำในด้านระบบความปลอดภัยของอีเมล์ระดับองค์กรในรายงาน The Forrester Wave™: Enterprise Email Security, Q2 2019 ซึ่งเทรนด์ไมโครได้รับคะแนนสูงที่สุดที่ให้ได้ในเกณฑ์ด้าน “ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี” ที่อยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งด้าน “ทางเลือกการติดตั้ง” และ “การทำงานร่วมกับคลาวด์” นอกจากนี้ยังถือว่าได้รับคะแนนสูงที่สุดในกลุ่มผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นรวม 12 รายในเกณฑ์ด้านยุทธศาสตร์ด้วย
การขยายความร่วมมือ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยสำหรับ IoT
ไตรมาสนี้ได้มีการเพิ่มความร่วมมือระดับองค์กร และมีผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากขึ้นที่เลือกใช้โซลูชั่นความปลอดภัยสำหรับ Internet of Things (IoT)ของเทรนด์ไมโครเพื่อปกป้องลูกค้าปลายทางของตนเอง โดยเทรนด์ไมโครได้ร่วมมือกับองค์กรเหล่านี้เพื่อให้สามารถรักษาความปลอดภัยแก่โลกของการเชื่อมต่อได้ดียิ่งขึ้น
โดยทาง VIVOTEK ที่เลือกโซลูชั่นความปลอดภัยสำหรับ IoT ของเทรนด์ไมโครมาติดตั้งบนกล้องวงจรปิดแบบไอพีของตัวเองนั้น ได้ประกาศว่าสามารถสกัดกั้นความพยายามโจมตีด้านไซเบอร์ได้มากถึง 5 ล้านครั้งภายในแค่ 5 เดือนด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากนี้ทางบริษัท NTT DOCOMO ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคมทั้ง 3G, 4G, และ 5G ชั้นนำของโลก ก็ได้ระบุแผนที่จะเปิดตัวโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยีของเทรนด์ไมโครเพื่อปกป้องอุปกรณ์ IoT ที่นำมาใช้ทำงานบนเครือข่ายโทรคมนาคมของตัวเองด้วย
ทางเทรนด์ไมโครยังได้ดูแลกลุ่มความร่วมมือด้านระบบ IoT เชิงอุตสาหกรรมหรือ IIoT ที่ชื่อว่า TXOne Networksโดยเริ่มจากการพัฒนาระบบความปลอดภัยร่วมกับทาง Moxa ซึ่งระบบป้องกันการบุกรุก (IPS) ใหม่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ตอนนี้อยู่ในเวอร์ชั่นเบต้านั้น สามารถตรวจจับและสกัดกั้นการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่พบบ่อย รวมทั้งควบคุมรายชื่อไวท์ลิสต์ในสภาพแวดล้อมการทำงานด้านเทคโนโลยีปฏิบัติการได้
ในอนาคต ความต้องการด้านโซลูชั่น IIoT ลักษณะนี้จะเป็นความหวังใหม่สำหรับทาง Trend Micro Research ในไตรมาสนี้ ซึ่งจากรายงานแสดงให้เห็นว่า อันตรายต่าง ๆ กำลังพุ่งเป้าไปยังเครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีล้าสมัย ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงทั้งกับทรัพย์สินทางปัญหา และกระบวนการด้านงานผลิต โดยจากข้อมูลจริงแล้ว พบว่ามีถึง 65 เปอร์เซ็นต์ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานโดยใช้ระบบที่ล้าหลัง
การสร้างความแข็งแกร่งแก่ช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์
แม้ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงช่องทางจัดจำหน่ายจะแตกต่างกันแล้วแต่พื้นที่ แต่ในภาพรวมก็เห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที และโครงสร้างของทีมบริหาร ซึ่งโปรแกรมช่องทางจัดจำหน่ายของเทรนด์ไมโครได้ทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญของโมเดลธุรกิจทั้งหมดของบริษัท ไตรมาสนี้เทรนด์ไมโครจึงได้รับการยกย่องจากช่องทางจำหน่ายต่าง ๆ มากมายทั้งในด้านความเป็นผู้นำและตัวผลิตภัณฑ์
โดยสื่อด้านช่องทางจำหน่ายชั้นนำอย่าง CRN ได้ประกาศให้หัวหน้าฝ่ายขายผ่านช่องทางจำหน่ายของเทรนด์ไมโครใน U.S. Louise McEvoy ขึ้นมาอยู่ในรายชื่อ Elite Power 100 ของ CRN ในฐานะหนึ่งในผู้นำสตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในตลาด
นอกจากนี้ยังยกย่องให้ Trend Micro Mobile Security เป็นผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมในกลุ่มการจัดการความปลอดภัยและอุปกรณ์ในรายชื่อ 30 Coolest Mobile Device Management and Security Companiesของ CRN ที่อยู่ใน 2019 Mobility 100 อีกด้วย
การยื่นจดสิทธิบัตรใหม่
เทรนด์ไมโครได้รับสิทธิบัตรใหม่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 ดังต่อไปนี้
เลขที่สิทธิบัตร วันที่ออก ชื่อสิทธิบัตร
10275274 30/4/2019 การผสานโมดูลปรับปรุงประสิทธิภาพโหลดงานที่เปลี่ยนแปลงได้ สำหรับการติดตั้งโหลดงานแอพพลิเคชั่นที่แตกต่างกัน
10320812 11/6/2019 ระเบียบวิธี และระบบสำหรับจับคู่รูปแบบอย่างสมบูรณ์ในฮาร์ดแวร์
10320814 11/6/2019 การตรวจจับการโจมตีแบบต่อเนื่องขั้นสูงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
10318732 11/6/2019 การป้องกันการโจมตีโดยใช้สคริปต์ข้ามเว็บไซต์ โดยใช้การสร้างเฮดเดอร์โพลิซีความปลอดภัยคอนเทนต์แบบอัตโนมัติ และการแบ่งคอนเท็นต์เพื่อบังคับใช้โพลิซีความปลอดภัยคอนเทนต์
ข้อสังเกตสำหรับเหตุการณ์ในอนาคต
การคาดการณ์ต่างๆ ที่ระบุต่อไปนี้เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้พิจารณาจากสมมติฐานปัจจุบัน และความเชื่อของทีมบริหารที่อาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้ ร่วมกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทั้งที่ทราบและยังไม่ทราบ ซึ่งปัจจัยสำคัญหลายประกาศอาจทำให้ผลประการที่จะได้จริงแตกต่างจากข้อสันนิษฐานเหล่านี้ไปมากก็ได้ อย่างไรก็ดีข้อสังเกตดังกล่าวได้แก่:
- ความยากในการระบุอันตราย และปัญหาด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ใหม่
- เวลาในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และการขาดการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาด
- ระดับของความต้องการที่ต่อเนื่อง รวมทั้งเวลาในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่
- การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วในตลาดซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย
- ความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของลูกค้าสำหรับซอฟตแวร์ด้านความปลอดภัย
- การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ และผลิตภัณฑ์ใหม่ของคู่แข่ง รวมทั้งการตั้งราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้
- การลดลงของราคาสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ
- ผลของการซื้อกิจการในอนาคต ที่มีต่อสถานะทางการเงินของบริษัท และผลการดำเนินงาน
- ผลที่เกิดจากแนวโน้มด้านเศรษฐกิจในตลาดหลักที่อยู่นอกเหนือการประมาณการณ์
- ผลจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัท
- อัตราการเพิ่มขึ้นของการส่งคืนผลิตภัณฑ์
- ความเป็นไปได้ที่จะขาดเป้าหมายการลงทุนที่น่าจูงใจ
- ความยากลำบากในการทำตามยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัท
- ความเสี่ยงที่ยังมองไม่เห็นทั้งความเสี่ยงใหม่และที่อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยี Internet of Things, การใช้ระบบ Artificial Intelligence ในผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท ไปจนถึงเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาขึ้นในอนาคต