September 21, 2024

หมึกพลังงานแสงอาทิตย์ นวัตกรรมการผลิตโซลาร์เซลต้นทุนต่ำ

รัฐบาลออสเตรเลียทุ่มเงิน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐช่วยสานฝันบริษัทผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ขนาดบางเฉียบเท่าแผ่นพลาสติกได้จับคู่กับบริษัทเทคโนโลยีการพิมพ์ยักษ์ใหญ่ หวังผลิตเป็นสินค้าระดับแมส กลายเป็นโซลาร์เซลล์ที่สามารถผนวกเข้ากับหลังคาบ้าน หรือวัสดุตกแต่งภายนอกของบ้าน โดยไม่สร้างภาระด้านน้ำหนักให้กับอาคาร

นาทีนี้อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลออสเตรเลียเดินเกมรุกที่น่าจับตา โดยมีการช่วยจับคู่ให้กับสตาร์ทอัปในกลุ่มนวัตกรรมกับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ พร้อมมอบเงินลงทุนสนับสนุนถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยธุรกิจใหม่รายนี้มีชื่อว่า  CSIRO อันมาจากการควบรวมกันของสองบริษัทเอกชนอย่างสตาร์ทอัปชื่อ Solafast กับ Norwood บริษัทด้านการพิมพ์รายใหญ่ของออสเตรเลีย จนกลายมาเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมโซลาร์เซลล์ดังกล่าว

BI_printed_solar_cells

“หากโปรเจ็คนี้สำเร็จด้วยดี มันจะช่วยลดต้นทุนของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ลงได้มาก แถมยังสร้างอิมแพคต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในอนาตอีกด้วย” เกร็ก ฮันท์ รัฐมนตรีกระทรวงนวัตกรรม และวิทยาศาสตร์กล่าว

โดยการผลิตแผ่นโซลาร์เซลล์ปรินท์ได้ (Printed Solar Cell) นี้มาจากการนำ โซลาร์อิงค์ หรือหมึกพลังงานแสงอาทิตย์มาพิมพ์ลงบนฟิล์มพลาสติก ซึ่งมีน้ำหนักเบาและดัดโค้งงอได้ ทำให้สามารถติดกับหน้าต่าง หลังคา หรือวัตถุตกแต่งภายนอกของอาคารโดยไม่ทำให้โครงสร้างของอาคารต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มเหมือนแผงโซลาร์เซลล์ในอดีต

โดยหน้าที่ต่อไปหลังจากควบรวมนั้น CSIRO จะแบ่งปันองค์ความรู้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ Norwood และ Norwood  จะเป็นตัวผลักดันการพิมพ์นี้เข้าสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรมต่อไป” Dr Fiona Scholes หัวหน้าทีมนวัตกรรมของ CSIRO กล่าว

โดยก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ทีมงานของ CSIRO ได้เคยร่วมกับมหาวิทยาลัย Melbourne และมหาวิทยาลัย Monash พัฒนาหมึกพลังงานแสงอาทิตย์มาตั้งแต่ปี 2007 โดยจัดตั้งเป็นพันธมิตรในนาม Victorian Orgainic Solar Cell Consortium และ ดร. Scholes เผยว่า เวลานี้เทคโนโลยีดังกล่าวก็พร้อมแล้วสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงสามารถใช้ผลิตเป็นเคสแบบ Dual-Purpose ที่สามารถชาร์จไฟและจ่ายพลังงานให้กับสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ได้แล้ว

“ต่อไป เคสของ iPad, iPhone หรือแม้แต่ถุงใส่แล็บท็อปจะสามารถสะสมพลังงานเพื่อจ่ายให้กับตัวเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ด้วย” ดร. Scholes กล่าว

นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังมีอัตราการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ภายในประเทศประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงมากประเทศหนึ่งของโลก แต่ด้วยรูปแบบของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ทำให้การปรับใช้ในระดับที่กว้างขึ้นนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง นั่นจึงทำให้รัฐบาลออสเตรเลียต้องออกโรงช่วยเหลือสตาร์ทอัปให้สามารถเดินหน้าต่อในนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ได้

“เพื่อสนับสนุนโครงการในลักษณะนี้ รัฐบาลจึงมีการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมของออสเตรเลียเข้ามาจับมือกับบริษัทผู้พัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เนื่องจากเราจะได้เห็นการจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กันระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับบริษัทด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจสร้างงานและการเติบโตให้กับออสเตรเลียได้อีกมาก” มร.ฮันท์กล่าว

โดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง Cooperative Research Centres  Programme หรือ CRC คือผู้อยู่เบื้องหลังการจับมือเป็นพันธมิตรกันในครั้งนี้ พร้อมมอบเงินลงทุน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับโปรเจ็คดังกล่าวด้วย

ที่มา http://www.businessinsider.com.au

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may have missed