ภาคอุตฯเข้มแข็งขึ้นจากนโยบาย 4.0 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนผลิต แต่ยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูล
1) สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมในระดับ 1.0 หรือระดับขั้นพื้นฐาน ปรับตัวลดลงจาก 11% ในปี 2559 เป็น 9% ในปี 2561
2) สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมในระดับ 2.0 หรือระดับทั่วไปนั้น ปรับตัวลดลงจาก 74% ในปี 2559 เป็น 61% ในปี 2561
3) สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมในระดับ 3.0 หรือระดับที่มีความเข้มแข็งมีสัดส่วน เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า จากเดิม 15% ในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 28% ในปี 2561
4) สัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมในระดับ 4.0 หรือระดับที่มีความเข้มแข็งมากสามารถก้าว สู่ระดับสากลได้ ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 2% ต่างจากปีก่อนหน้าที่ยัง ไม่มีภาคธุรกิจใดอยู่ในระดับนี้
“การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่เข้มแข็งนั้นเป็นผลมาจากนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ของภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาให้วิสาหกิจ ปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินธุรกิจโดย ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์เครื่องจักรกลและระบบอัตโนมัติ”
ผลการสำรวจยังได้ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติมาใช้ในหลายจุดของกระบวนการ แต่ยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลตลอด Supply Chain ผ่านระบบ IT ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เตรียมชุดมาตรการทั้งทางการเงินและที่มิใช่ทางการเงิน ร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบัน การศึกษา และสถาบันการเงินต่าง ๆ เร่งส่งเสริมให้สถานประกอบการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 เต็ม รูปแบบโดยคาดว่าจะทำให้สถานประกอบการ มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นหรือลดต้นทุนให้ได้มากกว่าร้อยละ 30
สำหรับมาตรการที่ไม่ใช่การเงินนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับเครือข่าย Big Brother จะให้ บริการผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industrial Transformation Center (ITC) ที่มีอยู่ ทั่วประเทศ ในการให้ความรู้ คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสาธิตกระบวนการผลิตที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และการรับรองมาตรฐาน
นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันการเงิน และองค์กรต่างประเทศต่าง ๆ อาทิ ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) อาลีบาบาจากจีน และ
SMRJ จากญี่ปุ่น ในการสนับสนุน SMEs ให้เข้าสู่ Digital Marketing ทั้งในรูปแบบ B2B และ B2C รวมถึงผลักดันให้ SMEs เข้าสู่แพลทฟอร์ม T-GoodTech เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดโลกอีกด้วย
ส่วนมาตรการทางการเงินนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ในการปล่อยสินเชื่อ Transformation Loan สูงสุดรายละ 15 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 แก่สถานประกอบการที่ประสงค์จะปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ไปสู่ระบบ 4.0
นอกจากนี้ เห็นว่าหัวข้อที่ใช้ในการประเมินศักยภาพอุตสาหกรรมยังต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถสะท้อนถึงระดับพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างแม่นยำและเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวในการกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมสนับสนุนต่อไป
ทั้งนี้ การจะขับเคลื่อน SMEs ทั่วประเทศไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้นอาจต้องใช้เวลาแต่ด้วยการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาและสถาบันการเงินอย่างเข้มข้นในขณะนี้ เชื่อว่า SMEs ไทยจะปรับตัวให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแน่นอน