November 24, 2024

เสริมการป้องกันกลโกงการเงิน ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก

กลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์ 

เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศการปรับเปลี่ยนนโยบายการใช้โมบายแบงก์กิ้ง โดยบังคับการสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนสำหรับธุรกรรมมูลค่าสูง 1.ธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบดิจิทัลเกิน 50,000 บาท ต่อรายการ 2.การโอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน 3.การปรับเพิ่มวงเงินเกิน 50,000 บาท ต่อวัน ทั้งนี้ข้อกำหนดที่จำนวนเงิน 50,000 บาท คิดเป็นราว 1% ของธุรกรรมธนาคารผ่านมือถือในแต่ละวัน มาตรการใหม่ดังกล่าวเกิดขึ้นสามารถเสริมเกราะป้องกันระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในไทยรวมทั้งป้องกันลูกค้าจากการตกเป็นเหยื่อกลโกงการเงิน เนื่องจากคนร้ายส่วนใหญ่มุ่งเป้าโจรกรรมเงินตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป  

ทุกวันนี้ การโจรกรรมทางการเงินถือเป็นปัญหาใหญ่ รายงานจากธนาคารกลางระบุว่า คนร้ายได้พัฒนาระบบขึ้นมาหลากหลาย มีทั้งแอปเงินกู้ปลอม ข้อความหลอกลวง ตลอดจนอุบายที่ล่อลวงให้ลูกค้าติดตั้งแอปที่มีมัลแวร์บนโทรศัพท์ของตนเอง

ดังนั้นเทคโนโลยีไบโอเมตริกในธุรกรรมการเงินดิจิทัลจึงมีเป้าหมายเพื่อป้องกันกลโกงการเงินดังกล่าว ระบบตรวจสอบยืนยันใบหน้าที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันจะฉายจุดแสงอินฟราเรดไปบนใบหน้าในตำแหน่งต่างๆ เพื่อยืนยันรายละเอียดมิติของใบหน้า ทำให้เทคนิคเดิมๆ เช่น การใช้รูปภาพหรือสวมหน้ากากรูปใบหน้าคนจะไม่สามารถหลอกระบบได้อีกต่อไป โอกาสที่จะหลุดผ่านระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูงของเทคโนโลยีไบโอเมตริกที่ว่าจนเข้าโทรศัพท์มือถือหรือข้อมูลของผู้ใช้งานได้มีเพียงไม่ถึงหนึ่งในล้าน ซึ่งเทียบเท่ากับการตั้งรหัสตัวเลขดิจิทัล 6 หลัก อีกทั้งการสแกนแบบไบโอเมตริกยังเป็นการเสริมระบบรักษาความปลอดภัยให้หนาแน่นขึ้นอีกขั้นเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากกลโกงการเงิน

“การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่างๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค” ดร. ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แสดงความคิดเห็น “แต่แนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น