November 24, 2024

TCCtech เผยแผนรุกพร้อมสร้างและพัฒนากำลังคนสายดิจิทัลเต็มพิกัด

เทคโนโลยีหลายแขนงขับเคลื่อนด้วยคน เมื่อเทคโนโลยีหลายแขนงยังต้องขับเคลื่อนด้วยคน สิ่งท้าทายระดับประเทศในวันนี้คือเรื่องของทั้งปริมาณและคุณภาพของกำลังคนที่มีทักษะสูง โดยข้อมูลจากสอวช.ได้กล่าวถึงผลสำรวจความต้องการภาคเอกชนใน12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) พบว่ามีความต้องการบุคลากรทักษะสูงในช่วงปี 2563-2567 ถึง 177,606 คน โดยเฉลี่ย 35,521คนต่อปี  

แม้ข้อมูลจาก TDRI พบว่าหากรวมผู้จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่จบปริญญาตรีจะมีถึง 19,781คน  ในตลาดแรงงานพบว่าจำนวนเด็กจบใหม่สายตรงที่เข้าสู่ตลาดเพื่อทำงานไอทีมีไม่ถึง 3,500คนต่อปี  ภาคการศึกษาซึ่งผลิตนักศึกษามาไม่เพียงพอหรือไม่ตรงกับความต้องการของตลาด อีกทั้งส่วนใหญ่ที่เรียนจบไปแล้ว ไม่ได้ทำงานตรงสายงาน  ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเป็นช่องว่างระหว่างDemandและ Supply ที่มีอย่างมหาศาลในวันนี้  และหากเปรียบเทียบโครงสร้างของบุคลากรด้านนี้ของไทยกับต่างประเทศ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะยิ่งเห็นภาพชัดเจนถึงความจำเป็นของการพัฒนากำลังคนด้านนี้อย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน

โครงสร้างของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงทางด้านดิจิทัลในประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำด้านดิจิทัล

ในด้านโครงสร้าง ตามนิยามระดับทักษะดิจิทัลโดย International Telecom Union(ITU) แบ่งเป็น 5 ระดับดังในภาพด้านล่าง กล่าวคือ ระดับ 0 คือ ผู้ที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านดิจิทัล ระดับ 1 คือผู้มีความรู้ขั้นพื้นฐานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ระดับ 2 คือผู้มีความรู้ทักษะดิจิทัลในเบื้องต้น ระดับ 3 คือ ผู้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ระดับ 4 คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล โดยข้อมูลจาก International Institute for Management Development (IMD) พบว่าประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล (ระดับ4) เพียง 0.58ล้านคน (1%) เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ 8% ขณะที่ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย 3%   และถ้ารวมระดับ 1-4 ประเทศไทยมีเพียง 28% เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ 74% ขณะที่ฮ่องกง 80% เกาหลีใต้ 80% มาเลเซีย 71% ซึ่งแสดงถึงว่า กลุ่มผู้ที่มีความรู้ขั้นพื้นฐานไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญมีสัดส่วนที่ต่ำมากเทียบกับประเทศที่กล่าวข้างต้น   โดยข้อมูลจากสภาดิจิทัลได้มีแผนผลักดันเพื่อเพิ่มอัตราส่วนผู้มีทักษะด้านดิจิทัลในระดับต่างๆ โดยมีเป้าในการเพิ่มสัดส่วนผู้มีทักษะดิจิทัลระดับ 1-4 จาก 28%ในปี 2563 เป็น 70%ในปี2568 เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับประเทศชั้นนำด้านดิจิทัลของโลก

ภาคธุรกิจไทยพร้อมร่วมสร้างและพัฒนา ก้าวข้ามความท้าทาย

คุณธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย Managing Director บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด        (ทีซีซีเทค) ได้กล่าวถึงมุมมองในฐานะบริษัทชั้นนำด้านดิจิทัลโซลูชั่นของคนไทย มีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างและพัฒนาคนเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ โดยมีการเปิดกว้างให้กับ workforce ทั้งนักศึกษาที่จบใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ upstream จนถึง downstream ได้แก่ กลุ่ม upstreamหรือกลุ่มต้นน้ำที่เป็นผู้สร้าง ออกแบบ พัฒนาและดูแลระบบ เช่น ERP, software development, data platform, cyber security, IOT, cloud, connectivity กลุ่ม midstream workforce หรือกลุ่มกลางน้ำที่เป็นผู้ที่นำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ (data analytics)ใช้ในด้านต่างๆเช่น MarTech, PropTech, OpTech และ downstream workforce หรือกลุ่มปลายน้ำที่เป็นผู้ใช้ระบบหลักของธุรกิจเช่น ERP, e-procurement, e-tracking, e-commerce, utility toolsต่างๆ นอกจากนี้สำหรับกลุ่มที่เป็นพนักงานหรือลูกค้าในปัจจุบัน เรายังคงเน้นการ upskill/reskill เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของคนในองค์กร ด้วยโครงการต่างๆที่เน้นสร้าง digital mindset และเน้นการเพิ่ม digital user adoption ปรับฐานจาก general users สู่downstream workers, midstream, upstream ตามลำดับ ขณะที่เน้นให้ลูกค้าสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่าง คุ้มค่า มีประสิทธิผล และได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น

เปิดเกมส์รุก และ เสริมรากฐานให้แข็งแกร่ง

คุณพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy Managing Director บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) เผยแผนเปิดเกมส์รุกโดยให้ความสำคัญเรื่องคนเป็นอันดับต้นๆ พลิกจากการตั้งรับปรับเป็นเกมส์รุกจัดเต็มสู่รั้วมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และพร้อมเปิดให้ทั้งน้องใหม่และผู้มีประสบการณ์ด้านดิจิทัลเข้ามาร่วมงานกับทีมงานมืออาชีพของ TCC Technology Group  เพื่อร่วมฝึกฝน ทดสอบ และทำ โปรเจคจริง โดยทีซีซีเทคมีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ในการดูแลและสร้างรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้กับธุรกิจในกลุ่ม TCC ตลอดจนธุรกิจลูกค้าชั้นนำจากทั้งในและต่างประเทศ  ทั้งนี้ตัวอย่างโปรแกรมที่อยู่ภายใต้แผน อาทิ

 -Accessibility & Inclusivity : เน้นการเปิดกว้างให้คนที่มีพื้นฐานและทักษะด้านต่างๆอย่างหลากหลายเข้าร่วม -Skill developing workshop: เสริมสร้างทักษะในหัวข้อเช่น  coding, design, entrepreneurship, data analytics และ emerging technologies

– Creating disruptive & groundbreaking solutions : ที่เกิดจากการรวมกลุ่มต่างๆอาทิเช่น เหล่า developers, designers และ ผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ (domain experts) เข้าร่วมโปรแกรมเช่นHackathons และ – Growing professional value : Fellowship Program ที่ผู้ถูกคัดเลือกจะได้ทำโปรเจคที่ท้าทายและมีโอกาสได้เรียนรู้ตลอดจนสร้างผลงานใหม่ๆและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้น โปรแกรมเหล่านี้ได้ถูกออกแบบโดยเน้นวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างความแข็งแกร่งจากภายใน กระตุ้นให้คนคิดนอกกรอบและสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่างๆได้

ปลดปล่อยศักยภาพ ผสานพลังภายใน Tech Ecosystem 

คุณวลีพร สายะสิต GM บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ทีซีซีเทคยังมีความมุ่งมั่นในการร่วมผสานขุมพลังภายในระบบนิเวศเทคโนโลยี(Tech Ecosystem) จากผู้นำทางความคิด ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางด้านเทคโนโลยีและผู้นำในหลากหลายสาขา พาร์ทเนอร์ทั้งในและต่างประเทศ  ให้พร้อมปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อนำมาสนับสนุนและพัฒนายกระดับดิจิทัลในสังคมไทย ผ่านOPEN-TEC platform