TDCX เผยผลสำรวจ เอสเอ็มอีไทยเลือกใช้ผู้ใหบริการเทคโนโลยีภายนอกองค์กร
TDCX’s (NYSE: TDCX) เผยผลสำรวจล่าสุด ระบุกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ในประเทศไทยตั้งเป้าในการเลือกใช้งานผู้ให้บริการเทคโนโลยีนอกองค์กร เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นในการเข้าสู่ดิจิทัลให้เร็วยิ่งขึ้น โดยธุรกิจเหล่านี้กำลังมองหาผู้ให้บริการเทคโนโลยี เช่น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ซิสเต็มส์อินทิเกรเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ผู้เชี่ยวชาญต้องการเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ
รายงานผลสำรวจของ TDCX ในหัวข้อ “กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียน: ธุรกิจขนาดเล็ก กับโอกาสทองของผู้ให้บริการเทคโนโลยี” (ASEAN SMEs: Small Business, Big Opportunity for Tech Providers) มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทั่วโลกเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการมีการเติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และความคาดหวังของกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางสู่ดิจิทัลหรือเปลี่ยนฟังก์ชันในธุรกิจให้เป็นดิจิทัลเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอาเซียนที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยตระหนักถึงความจำเป็นในการทำระบบดิจิทัล และกำลังดำเนินการเพื่อลดช่องว่างนั้น ผลการศึกษาพบว่า สิ่งที่ธุรกิจเหล่านี้ให้ความสำคัญสูงสุดในระยะ 2 ปีข้างหน้า คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรม และเพื่อที่จะสนับสนุนการผลักดันสู่ระบบดิจิทัล กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกำลังมองหาการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะด้านเทคนิคที่แข็งแกร่ง (75 เปอร์เซ็นต์) มีความรู้ในอุตสาหกรรม (62 เปอร์เซ็นต์) และมีระยะเวลาตอบสนองที่รวดเร็ว (57 เปอร์เซ็นต์)
มิสเตอร์ ลอเรนท์ จูนิค ซีอีโอของ TDCX กล่าวว่า “หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการก้าวไปสู่ดิจิทัล สิ่งที่เคยเป็นของ ‘น่ามี’ ตอนนี้กลายเป็นสิ่งที่ ‘ต้องมี’ และ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กำลังชดเชยเวลาที่เสียไปด้วยการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการเทคโนโลยี ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีจะมีส่วนร่วมกับ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล”
ข้อบ่งชี้สำคัญในตลาดอาเซียน :
1. กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียนมุ่งลงทุนครั้งใหญ่ด้านดิจิทัล
กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการปรับปรุงความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรม และยังให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านดิจิทัล เช่น การขายและการตลาด ระบบบริหารการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (72 เปอร์เซ็นต์) และเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมสู่อีคอมเมิร์ซ (64 เปอร์เซ็นต์) ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเหล่านี้ยังคงต่อสู้กับความท้าทายอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นด้านการให้คำแนะนำและให้การปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีไปใช้งานจริง (69 เปอร์เซ็นต์) โครงการฝึกอบรมเพื่อทบทวนทักษะหรือเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน (68 เปอร์เซ็นต์) การเข้าถึงความรู้และความเชี่ยวชาญ (62 เปอร์เซ็นต์) ตลอดจนการมีสายสัมพันธ์กับผู้ให้บริการที่เหมาะสม (57 เปอร์เซ็นต์)
2. สร้างการเติบโตไปด้วยกัน
ในขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีที่แข็งแรงได้มีการพัฒนาระบบดิจิทัลไประดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความซับซ้อนและการจัดการที่ยากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอาเซียนเปิดรับผู้ให้บริการเทคโนโลยีจากภายนอกมากขึ้น เพื่อช่วยจัดการงานบางอย่างให้บรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากการสำรวจ 5 ประเทศในอาเซียนพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มากกว่า 84 เปอร์เซ็นต์ เห็นคุณค่าในการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีภายนอก
สองอันดับแรกที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอาเซียนใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนจากภายนอก คือ ความต้องการด้านการตลาดดิจิทัล และการฝึกอบรมพนักงาน จุดนี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของอาเซียนกำลังให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้ และสร้างความมั่นใจว่าพนักงานมีทักษะที่เหมาะสมในการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลในอนาคต
ในด้านการดำเนินงาน ยังคงมีโอกาสอีกมากสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาเซียน ที่จะขอให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน ตัวอย่างเช่น ในด้านการชำระเงินและการเรียกเก็บเงิน มี กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพียงหนึ่งในสี่ของอาเซียน (25 เปอร์เซ็นต์) ที่ใช้ประโยชน์จากโซลูชันภายนอกเพื่อให้บริการดังกล่าว
3. เอสเอ็มอีในอาเซียน แสวงหาผู้ให้บริการเทคโนโลยี ตอบโจทย์ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
ในการให้บริการธุรกิจเอสเอ็มอีในอาเซียน ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องติดตามสิ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการ มีความข้าใจประเด็นปัญหาและจุดอ่อนของธุรกิจของเอสเอ็มอี ตามรายงานของ TDCX พบว่ามากกว่า 4 ใน 5 (หรือ 82 เปอร์เซ็นต์) ของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาเซียนที่ทำแบบสำรวจ แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนผู้ให้บริการ โดยปัจจัย 3 อันดับแรก ที่ผลักดันการเปิดรับผู้ให้บริการรายใหม่นี้ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ดีกว่า (71 เปอร์เซ็นต์) ตอบสนองการดูแลลูกค้าได้มากกว่า (68 เปอร์เซ็นต์) และการกำหนดราคาที่ดีกว่า (45 เปอร์เซ็นต์)
ความจำเป็นในการสนับสนุนลูกค้าที่ดีขึ้นได้รับการเน้นย้ำโดยกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาเซียนซึ่งจากการสำรวจยังพบอีกว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของลูกค้าเป็นสาเหตุหลักสองประการที่อยู่เบื้องหลังความไม่พอใจต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเร็วในการตอบกลับลูกค้า (74 เปอร์เซ็นต์) และมีเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ของลูกค้า (64 เปอร์เซ็นต์)
ระเบียบวิธีวิจัย
รายงาน “กลุ่มเอสเอ็มอีในอาเซียน: ธุรกิจขนาดเล็ก กับโอกาสทองของผู้ให้บริการเทคโนโลยี” (ASEAN SMEs: Small Business, Big Opportunity for Tech Providers) ของ TDCX จัดทำโดย Intuit Research ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ถึงธันวาคม 2565 เพื่อทำความเข้าใจความคิดของ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวม 750 ราย ใน 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย โดยแต่ละประเทศมีจำนวนผู้เข้าร่วมเท่า ๆ กัน