เกาหลีใต้รุกตลาดไทย จัดงาน G-FAIR KOREA IN BANGKOK ภายใต้ธีม Smart Future ยกระดับความสัมพันธ์ด้านธุรกิจระหว่าง ไทย-เกาหลีใต้
มหกรรม G-FAIR KOREA IN BANGKOK เปิดฉากในไทยเป็นครั้งแรก ดึงผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค สุขภาพและความงาม อุตสาหกรรม และเมืองอัจฉริยะจากเกาหลี มาร่วมงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้ทำความรู้จักและทำธุรกิจกับบริษัทนำเข้าสินค้าเกาหลีมากกว่า 500 รายการ
ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และผู้ที่สนใจด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสามารถเข้าร่วมมหกรรมที่สุดแห่งปี พร้อมพบปะหารือกับผู้ประกอบการชาวเกาหลีอย่างใกล้ชิด โดยลงทะเบียนฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ถึงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 28-29 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
มหกรรม G-FAIR KOREA IN BANGKOK ยกระดับความสัมพันธ์ด้านธุรกิจระหว่าง ไทย-เกาหลีใต้
เว็บไซต์ในการลงทะเบียน http://gfairbkk.com/visitor-registration/
เมื่อพูดถึงมหกรรม G-FAIR KOREA IN BANGKOK ถือเป็นพื้นที่จะเปิดโอกาสทางธุรกิจด้วยการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ซื้อและผู้ประกอบการจากธุรกิจด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศ ภายใต้ธีมงาน ครั้งแรกในเมืองไทย กับ Smart Life, Smart Business, Smart Future
สำหรับผู้เข้าร่วมงานชาวไทย จะได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ล้ำสมัยจากเกาหลีใต้ว่าจะสามารถเปลี่ยนอนาคตของผู้บริโภคให้เป็น “Smart Future” ได้อย่างไร โดยไม่ต้องบินไปไกลถึงเกาหลี สำหรับผู้แสดงสินค้าภายในมหกรรม G-FAIR KOREA IN BANGKOK จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer product) ส่วนที่สอง สุขภาพและความสวยความงามจากเกาหลี (K-beauty/Health/Medical) ส่วนที่สาม อุตสาหกรรม (Industrial products) และส่วนสุดท้าย เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทุกท่านที่เข้าร่วมงานจะได้สิทธิพิเศษในการทำความรู้จักกับบริษัทนำเข้าสินค้าเกาหลีมากกว่า 500 รายการ และยังสามารถพูดคุยเกี่ยวกับข้อเสนอสุดพิเศษของสินค้าขายปลีกและสินค้าขายส่งอีกด้วย
มหกรรม G-FAIR KOREA IN BANGKOK จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับความสัมพันธ์ด้านธุรกิจระหว่าง ไทย-เกาหลีใต้มหกรรม G-FAIR KOREA มีผู้แสดงสินค้าเข้าร่วมงานมากมายจากอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และยังเป็นพื้นที่ในการสร้างเครือข่าย อำนวยความสะดวกในการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับนักการตลาด พร้อมเป็นพื้นที่ที่คอยสร้างพันธมิตร ทางธุรกิจด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ สาธารณรัฐเกาหลี ได้จัดตั้ง “นโยบายมุ่งใต้ครั้งใหม่ (New Southern Policy)” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญในการการสร้างโครงข่ายเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียนและ 4 ประเทศมหาอำนาจ รอบๆ คาบสมุทรเกาหลี (สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย) นโยบายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรม ศิลปะ และบุคลากร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาในด้านของเศรษฐกิจให้ดีกว่าเดิม
ยกตัวอย่างเมืองคยองกี ที่เป็นเมืองเขตปกครองตนเอง มีประชากรหนาแน่นที่สุดและเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลี ได้มีการนำ “นโยบายมุ่งใต้ครั้งใหม่” มาปรับใช้เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับโลก โดยได้มีการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนและโครงการความร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ อีก 5 ภูมิภาคจาก 4 ประเทศในอาเซียนอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยเอง ถือได้ว่าเป็นประเทศพันธมิตรทางการค้าที่มีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ และเมืองคยองกีเอง ก็มีแผนที่จะเปิดบริษัท GBC (“Gyeonggi Business Center” ที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือกับประเทศไทย รวมทั้งจะยกให้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การค้า ระหว่างเกาหลีใต้กับอาเซียนอีกด้วย
ในส่วนสุดท้าย ภายในงาน G-FAIR KOREA IN BANGKOK เวลา 11.00 น. ของวันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565 จะมีการทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู (MOU) โดยเป็นการลงนามร่วมกันของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ รัฐบาลไทย บริษัท Gyeonggi Business and Science Accelerator (GBSA) และรัฐบาลเมืองคยองกีจากสาธารณรัฐเกาหลี