November 24, 2024

ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำด้านคอร์แบงกก้ง ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2564 โชว์ผลงานแข็งแกร่ง กำไรเพิ่มขึ้น 51%

ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส (หรือกลุ่ม “SAL”) เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และบริการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ มุ่งเน้นด้านบริการทางการเงินและการบริการ  โดยลูกค้า 40% เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยรายได้และผลการดำเนินงาน รายงาน ณ 31 มีนาคม 2564

ประเด็นสำคัญของผลประกอบการไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2564

  • มีกำไรหลังหักภาษีในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 38.7 ล้านริงกิต หรือคิดเป็นเงินไทยราว 293.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 ที่ 25.6 ล้านริงกิต หรือคิดเป็นเงินไทยราว 194.05 ล้านบาท
  • มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม ในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2564 ที่ 59.6 ล้านริงกิต หรือคิดเป็นเงินไทยราว 451.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2563 ที่ 53.4 ล้านริงกิต หรือคิดเป็นเงินไทยราว 404.77 ล้านบาท
  • กลุ่มบริษัทยังคงเห็นความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจากรายได้ด้านการบำรุงรักษาและการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ
  • ค่าใช้จ่ายรวมใน 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 ลดลง 10% จาก 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 อันเป็นผลมาจากกิจกรรมด้านต้นทุนที่ดำเนินการนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2563
  • สำหรับปีงบประมาณ 2565 คาดการณ์ว่า จะสามารถสร้างรายได้กลับมา จากการบุกตลาด และเปิดตัวโซลูชันใหม่ นั่นคือ Mobius ที่มีประสิทธิภาพโดดเด่น

มิสเตอร์แอนดริว ตัน  กรรมการผู้จัดการ  ซิลเวอร์เลค แอ็คซิส  กล่าวถึงผลประกอบการว่า “เราได้แรงสนับสนุนจากผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2564 และยังคงมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงขบวนการภายใน รวมถึงให้ลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น และทำงานร่วมกับลูกค้ามากขึ้น เพื่อสร้างสรรค์โซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทศวรรษหน้า เรามีชุดผลิตภัณฑ์ครบวงจร และทีมงานที่มีความสามารถในการติดตั้งใช้งาน เพื่อยกระดับลูกค้าในปัจจุบันและอนาคตของเรา”

ผลประกอบการ

รายได้รวมของกลุ่มในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2564 ที่ 449.4 ล้านริงกิต (หรือคิดเป็นเงินไทยราว 3,406.45 ล้านบาท) น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563 ที่ 11% จากยอดรายได้ 506.8 ล้านริงกิต (คิดเป็นเงินไทยราว 3,841.54 ล้านบาท)

ส่วนรายได้ประจำจากค่าบริการบำรุงรักษาและการเพิ่มประสิทธิภาพ และซอฟต์แวร์ในรูปแบบการบริการ (“SaaS”) ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนรายได้หลักของกลุ่มบริษัท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 83% ของรายได้กลุ่มในไตรมาส 3 ปี 2564 และในช่วง 9 เดือน ของปีงบประมาณ 2564

  • กลุ่มบริษัท ยังคงรักษารายได้จากการให้บริการบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในหลายประเทศ โดยในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายได้ในไตรมาสที่ 3 ของงบปี 2564 เพิ่มขึ้น 1%
  • รายได้จากซอฟต์แวร์ในรูปแบบบริการ (SaaS) สำหรับธุรกิจประกันภัยอยู่ที่ 26.6 ล้านริงกิต (คิดเป็นเงินไทยราว 201.63 ล้านบาท) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 ซึ่งต่ำกว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 ถึง 8% ซึ่งทำได้ 28.8 ล้านริงกิต (คิดเป็นเงินไทยราว 218.30 ล้านบาท) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากขบวนการเรียกร้องค่าสินไหมที่ลดลง ประเทศต่างๆ มีการเคลื่อนย้ายลดลงในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ส่งผลให้ปริมาณการเรียกร้องค่าสินไหมและการเคลมประกันจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ลดน้อยลง อย่างไรก็ดี มีรายได้ทดแทนจากยอดขายส่วนอื่นๆ เช่น การขายชุดโซลูชันการผลิตและการวิเคราะห์ TrueSight อย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้าปัจจุบัน รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทย่อย ในประเทศไทย ฮ่องกง และเวียดนาม และความต้องการกรมธรรม์ผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นมา โดยเฉพาะในฮ่องกง
  • รายได้จาก SaaS ในส่วนธุรกิจค้าปลีก ยังคงน้อยอยู่ แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสถัดไป เนื่องจากกลุ่มบริษัท หันมามุ่งเน้นนำเสนอบริการ SaaS สำหรับตลาด SMEs ขนาดใหญ่ขึ้น

คาดการณ์แนวโน้ม

แนวโน้มของอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เราให้บริการยังคงอยู่ในภาวะชงักงันมาอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 อันเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แม้ว่าจะมีการฉีดวัดซีนเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม และในอีก 2-3 ไตรมาสถัดไปก็ยังไม่อาจคาดเดาสถานการณ์ได้ แต่อย่างไรก็ดี มีสัญญาณบวกในเรื่องต่อไปนี้:

  1. ภาคอุตสาหกรรมเริ่มตระหนักว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่จบลงอย่างรวดเร็ว และเริ่มจัดสรรงบประมาณ และวางแผนสำหรับอนาคตซึ่งต้องทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมภาวะปกติแบบใหม่ที่ต้องขยายออกไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ธนาคารต่างๆ กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบหลัก หลังจากล่าช้ามาระยะหนึ่ง แม้ว่าจะยังคงมีความอ่อนไหวด้านต้นทุนเนื่องจากต้องมีการพิจารณางบประมาณอย่างรอบคอบและรัดกุม
  2. เราได้ปรับปรุงและดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง และกำลังเห็นผลลัพธ์ของทั้งกลุ่ม ด้วยการทำงานร่วมกันและการมุ่งเน้นการขาย การทำต้นทุนและรายได้ให้มีความสอดคล้องกันมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นหลังจากมีการนำกลยุทธ์ไปใช้งาน
  3. กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ประสบความสำเร็จบ้างแล้ว เช่น การจองสัญญาการใช้บริการ DSP รายแรก

และกลุ่มลูกค้ามุ่งหวังของโซลูชั่น MÖBIUS ยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินการที่แข็งแกร่งและมีการสอบถามข้อมูลและการทำสัญญาอย่างต่อเนื่อง การชนะดีลรายแรกสำหรับโซลูชั่น MÖBIUS Digital Core กับธนาคารแห่งหนึ่งใน ภูมิภาค เรามีโซลูชั่นในการทำทรานสฟอร์มเมชั่นหลักในการนำเสนอให้กับทั้งลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าใหม่ เพื่ออัพเกรดมาใช้งาน MÖBIUS

  1. เราได้นำเสนอกลยุทธ์การกำหนดราคาแบบใหม่ โดยเปลี่ยนจากค่าไลเซนส์และโครงสร้างค่าธรรมเนียมการติดตั้ง ไปสู่รูปแบบการ สร้าง-ดำเนินการ – ทรานสฟอร์ม – โอนย้าย (“BOTT”) ซึ่งเรามีรายได้ประจำหลายปีที่ชัดเจน การบริการนี้จะช่วยให้กลุ่มบริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและนำเสนอชุดผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้า

เราสามารถปิดดีลในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2564 เทียบเท่ากับที่ทำได้ในไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2563 และเราเห็นสัญญาณกระตุ้นจากการสอบถามของลูกค้าจากฐานลูค้าที่ติดตั้ง และจากลูกค้ารายใหม่ ด้วยเหตุนี้กระบวนการจัดการของเราจึงยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2564 โดยไม่มีสัญญาณถดถอยอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ