November 24, 2024

“หัวเว่ย คลาวด์” เข้ารอบสุดท้ายการแข่งขันชิงรางวัลฟรานซ์ เอเดลแมน

เมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา การแข่งขันชิงรางวัลฟรานซ์ เอเดลแมน (Franz Edelman) ประกาศรายชื่อ 6 บริษัทที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย และหนึ่งในนั้นได้แก่หัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) ซึ่งมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยเทคโนโลยีการจัดกำหนดการใช้ทรัพยากรคลาวด์ที่หัวเว่ยเป็นผู้บุกเบิก และผลการดำเนินงานในตลาดที่ยอดเยี่ยม

ทั้งนี้ สถาบันเพื่อการวิจัยการปฏิบัติการและวิทยาศาสตร์การจัดการ (INFORMS) มอบรางวัลฟรานซ์ เอเดลแมนทุกปีเพื่อยกย่องความสำเร็จในด้านวิทยาศาสตร์การจัดการ และด้วยเทคโนโลยีการจัดกำหนดการนี้เองทำให้หัวเว่ย คลาวด์ กลายเป็นบริษัทคลาวด์คอมพิวติ้งแห่งแรกที่เข้ารอบสุดท้ายในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา

วิธีการใช้ทรัพยากรคลาวด์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยที่ไม่ทำให้คุณภาพบริการด้อยลงนั้น ยังคงเป็นประเด็นที่สำคัญแต่ท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมคลาวด์ โดยเทคโนโลยีการจัดกำหนดการใช้ทรัพยากรคลาวด์ที่หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้นำวงการนั้น ช่วยจัดหาโซลูชันที่จะทำให้อัตราการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเครือข่ายสื่อเพิ่มขึ้นกว่า 30% ด้วยอัลกอริทึมที่เป็นนวัตกรรมของบริษัท คุณภาพบริการ (QoS) ที่ดีขึ้นนี้จึงส่งผลให้ธุรกิจไลฟ์สตรีมมิ่งเติบโตขึ้นเป็น 10 เท่าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำและนวัตกรรมอัลกอริทึมร่วมแก้ไขปัญหาของวงการ

หัวเว่ย คลาวด์ได้มอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ 39 ท่านตามศูนย์วิจัย 16 แห่งทั้งในและนอกประเทศจีน ทำการวิจัยเกี่ยวกับการจัดกำหนดการใช้ทรัพยากรคลาวด์ โดยนายเหยฺวียน เสี่ยวหมิง (Yuan Xiaoming) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมอัลกอริทึมของหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud Algorithm Innovation Lab) ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาไลฟ์สตรีมมิ่งเพื่อดำเนินการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรและรับประกันคุณภาพบริการภายใต้การคิดเงินตามการใช้งานแบนด์วิดท์เปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาอัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาออฟไลน์และออนไลน์ตามลำดับ และในระหว่างขั้นตอนการแก้ปัญหานั้น พวกเขาเผชิญอุปสรรค 2 เรื่องด้วยกัน

ปัญหาแรกคือ เนื่องจากฟังก์ชันต้นทุนมีความไม่คอนเวกซ์และไม่เรียบในโมเดลทางคณิตศาสตร์ การลดต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุดภายใต้การคิดเงินตามการใช้งานแบนด์วิดท์ที่เปอร์เซ็นไทล์ 95 จึงเป็นปัญหาแบบ NP-hard และปัญหาข้อที่สองก็คือ หัวเว่ย คลาวด์ ไลฟ์ (Huawei Cloud Live) ใช้เอดจ์โหนดกว่า 2,800 ตัว ซึ่งนั่นหมายความว่า มีตัวแปรฐานสองและตัวแปรต่อเนื่องจำนวน 1.2 แสนล้านตัวแปรในโมเดลทางคณิตศาสตร์

ยิ่งไปกว่านั้น เป็นเรื่องยากที่จะพัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถจัดหาแผนการจัดกำหนดการที่แม่นยำภายในระยะเวลาหลักมิลลิวินาทีในสถานการณ์การจัดกำหนดการเครือข่ายสื่อในโลกความเป็นจริง

เพื่ออธิบายปัญหาเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง ผู้เชี่ยวชาญจึงได้สร้างซีรีส์โมเดลโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะจัดหากระบวนทัศน์สำหรับการวิจัยเพิ่มเติม และผู้เชี่ยวชาญยังทำการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างและคุณลักษณะทางคณิตศาสตร์ของโมเดลเหล่านี้ด้วย พวกเขาได้แตกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย ๆ โดยมีการพัฒนาอัลกอริทึมที่จะรวบรวมปัญหาที่แก้ง่ายและวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและมีความเสถียรสูง ผลการทดลองเชิงตัวเลขพบว่า อัลกอริทึมเหล่านี้สามารถปรับปรุงอัตราการใช้ประโยชน์เครือข่ายสื่อได้มากกว่า 30% และยังให้ดัชนีบ่งชี้ QoS ที่ดีขึ้น เช่น อัตราความสำเร็จในการดึงสตรีมที่สูงขึ้น ภาพค้างสั้นขึ้นภายในเวลา 100 วินาที และใช้เวลาน้อยลงก่อนที่จะเล่นภาพเฟรมแรก

นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ยังยกระดับการจัดกำหนดการในแง่มุมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ผ่านอัลกอริทึม MKSP ที่มีระยะทางสั้นที่สุดในระดับผู้นำวงการ และความร่วมมือกับหัวเว่ย แบ็กโบน เน็ตเวิร์ก (Huawei Backbone Network) (ฟีเจอร์พิเศษเฉพาะวงการ) และบริการคลาวด์ขั้นสูง โดยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกำหนดการนี้ส่งผลให้หัวเว่ย คลาวด์มีการจดสิทธิบัตร 30 ฉบับ และรายงานวิจัย 6 ฉบับแล้ว

ระบบการจัดกำหนดการเครือข่ายสื่อของหัวเว่ย คลาวด์ กระตุ้นการเติบโตของไลฟ์สตรีมมิ่ง

ระบบการจัดกำหนดการเครือข่ายสื่อของหัวเว่ย คลาวด์ ซึ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้มายาวนาน ได้ถูกนำไปใช้โดยแพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิ่งชั้นนำของจีน อาทิ โต้วยฺหวี (Douyu) และหู่หยา (Huya) หัวเว่ย คลาวด์ได้พัฒนาโมเดลเน็ตเวิร์กทราฟฟิกและแผนการจัดกำหนดการขึ้นมา ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ความผันผวนของทราฟฟิก เพื่อรับประกันว่าการไลฟ์สตรีมงานอีเวนต์สำคัญ ๆ จะเป็นไปอย่างราบรื่น และหัวเว่ย คลาวด์ทำให้การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาระดับสากลกว่า 60 งานเป็นไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ โซลูชันการไลฟ์สตรีมมิ่งของหัวเว่ย คลาวด์มีจุดเด่นที่คุณภาพบริการระดับผู้นำวงการ ซึ่งรวมถึงอัตราความสำเร็จในการดึงสตรีมได้ 100%, ค่าความหน่วงตั้งแต่ต้นถึงปลายทาง 2-3 วินาที, ค่าความหน่วงไม่ถึง 800 มิลลิวินาทีจากการไลฟ์ที่มีการหน่วงเวลาต่ำ (Low Latency Live) และการเริ่มเล่นวิดีโอไลฟ์ได้ในเวลาไม่กี่วินาทีโดยที่ไม่มีอาการภาพค้าง ปริมาณทรัพยากรสื่อที่จัดสรรโดยหัวเว่ย คลาวด์สำหรับแพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมมิ่งชั้นนำในจีนนั้นเติบโตขึ้นถึง 10 เท่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ด้วยการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ “ทุกสิ่งในรูปแบบบริการ” (Everything as a Service) หัวเว่ย คลาวด์จะใช้เทคโนโลยีการจัดกำหนดการแบบล้ำสมัยของตนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ พลังงาน, การขนส่ง, โลจิสติกส์ และค้าปลีก