November 24, 2024

หัวเว่ยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนอุปกรณ์ 5G สำหรับระบบการแพทย์ทางไกล ให้แก่โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการโครงการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)กับโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุน จากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)

ศาสตราจารย์(เชี่ยวชาญพิเศษ)นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัตน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้มีโอกาสไปเยี่ยม โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และพบว่าเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งในพื้นที่ห่างไกล ประชาชนเดินทางมารับการรักษาต่อ เป็นไปด้วยความยากลำบาก และ แพทย์ที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลฯ ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคที่ซับซ้อนต่อเนื่อง โดยหลังจากผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีความยากลำบากในการปรึกษา caseผู้ป่วยกับแพทย์เฉพาะทางที่ประจำ ณ โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบกับหนึ่งใน ยุทธศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์ คือ digital hospital และ Tele medicine

คณบดีฯ จึงประสานงานกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขอรับการสนับสนุน จออัจฉริยะ(idea hub)และ อุปกรณ์กระจายสัญญาณ 5G CPEให้แก่โรงพยาบาลเทพรัตน์ ฯ และประสานงานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)ในการขยายสัญญาณ 5Gให้ครอบคลุม พื้นที่โรงพยาบาลเทพรัตน์ฯ เพื่อดำเนินการโครงการtelemedicineระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มช. และ โรงพยาบาลเทพรัตน์ฯ เพื่อให้การปรึกษาผู้ป่วย ทำได้โดยไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์เฉพาะทาง ที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับเทคโนโลยี 5Gของคณะแพทย์ มช. มีความพร้อมแบบเต็มรูปแบบ โดยได้ปรับระบบภายในใหม่ คือ Electric medical record (โดยใช้ชื่อว่า i-viewer)พัฒนา Application lineสวนดอก เพื่อเป็น digital platformที่เชื่อมต่อ telemedicine platformที่กำลังพัฒนาผ่านโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงดิจิทัล เศรษฐกิจและสังคม โดยในโครงการดังกล่าว จะขยาย telemedicineให้ครอบคลุมอีก 19 โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชน โดยบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านทางเทคโนโลยีและการสื่อสารแบบ Video conferenceเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ ดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทห่างไกลไม่จําเป็นต้องเดินทาง สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยแพทย์สามารถรับคำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษา

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอขอบคุณ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็น พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic partner)กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)เมื่อวันที่  22 มีนาคม 2565 โดยมีความมุ่งหวังที่จะนำเทคโนโลยี 5Gมาใช้ เพื่อผลักดันแนวคิด ที่จะสร้างสรรค์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ อย่างแท้จริง อีกทั้งยังต้องขอขอบคุณ strategic partnerที่สำคัญ อีกบริษัท คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในการนำโครงข่ายและเทคโนโลยี  AIS5Gที่ครอบคลุมทั่วประเทศ มาสนับสนุนโครงการเพื่อร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลไปด้วยกัน

ในฐานะที่บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ทั้งยังเป็นพาร์ทเนอร์ด้านไอซีที ที่ได้รับความไว้วางใจในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมายาวนานถึง 23 ปี ความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนช่วยเหลือประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)  ซึ่งหัวเว่ยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในเป็นพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยี และเป็นผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคสาธารณสุขของไทย โดยร่วมกันพัฒนากระบวนการทางการแพทย์ที่ตรงเป้าหมาย รวมทั้งการสำรวจวิธีการให้บริการทางการแพทย์ที่ดีขึ้น