หัวเว่ยจับมือพันธมิตรเผยโอกาสเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกพร้อมลงนามข้อตกลงความร่วมมือใหม่ 17 ฉบับ
วันที่สองของงาน Huawei Asia Pacific Digital Innovation Congress หัวเว่ยจัดปาฐกถาหัวข้อ ‘เจาะลึกอุตสาหกรรมดิจิทัล’ โดยมีนักธุรกิจชั้นนำกว่า 1,000 รายจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วมพร้อมถกประเด็นความท้าทายและแนวปฏิบัติในการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
นายนิโคลัส หม่า ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างเปิดงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ดิจิทัลที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หัวเว่ยคาดการณ์ว่าการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาคธุรกิจจะพลิกโฉมระบบการผลิตในทุกอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าทางธุรกิจสูงถึง 27 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ “เราผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร ศึกษาทำความเข้าใจอุตสาหกรรม และพัฒนาโซลูชันที่พัฒนามาโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวก เราตื่นเต้นที่จะทำงานร่วมกับเหล่าพันธมิตรเพื่อบ่มเพาะอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมแบบเปิดและขับเคลื่อนความสำเร็จร่วมกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”
นายสุเนด อาเหม็ด พาลัก รัฐมนตรีต่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งบังกลาเทศ กล่าวว่า “บังกลาเทศก้าวสู่การปฏิวัติวงการไอซีทีอย่างรวดเร็ว ด้วยการคิดเชิงนวัตกรรมและการนำนวัตกรรมมาใช้จริง ควรผนึกกำลังกันระหว่างนักพัฒนา ผู้นำในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิด เพื่อวางอนาคตว่าเราจะสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้อย่างไร นวัตกรรมจะรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันและผลักดันผลลัพธ์อันไร้ที่ติ บังกลาเทศจะเติบโตด้วยพลังขับเคลื่อนภายในและการสนับสนุนจากบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างหัวเว่ย ขอให้เราคิดแบบดิจิทัล ลงมือแบบดิจิทัลและร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล”
ดร. ด้านวิศวกรรม บุดี ปราวารา ประธานองค์กรวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ สำนักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติประเทศอินโดนีเซีย เผยว่า เรากำหนดโลกอนาคตด้วยประสิทธิภาพในการยกระดับและสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม และเผยข้อมูลความร่วมมือใกล้ชิดกับผู้เล่นสำคัญโดยเฉพาะผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลกอย่างหัวเว่ยที่แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ AI ในปี พ.ศ. 2563 สอดคล้องกับแผนพัฒนากลยุทธ์ AI แห่งชาติ เขาหวังว่าจะสร้างความเข้าใจร่วมกันในอีโคซิสเต็ม เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการวิจัยระดับโลกและนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
ดร. ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานดิจิทัลแบงก์กิ้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ด้วยพลังของข้อมูลและการวิเคราะห์ เรามุ่งหวังให้การธนาคารเข้าถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในชุมชนห่างไกลที่ขาดแคลนธนาคาร ร่วมพลิกโฉมธนาคารให้เข้าถึงง่าย มีความเป็นสากล และเข้าใจความต้องการลูกค้า ธนาคารควรพร้อมให้บริการทุกเมื่อที่ต้องการ”
เควิน คู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ กลุ่มบริษัทซันเวย์ ประเทศมาเลเซีย เผยแนวปฏิบัติสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลว่า “สิ่งสำคัญคือการหาพันธมิตรที่พร้อมเดินทาง เติบโตและเผชิญกับความท้าทายทุกด้านร่วมกัน ผมยินดีอย่างยิ่งที่มีหัวเว่ยเป็นพันธมิตร เราเริ่มต้นโครงการนวัตกรรมดิจิทัลของหัวเว่ย ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ยาวนาน มีงานด้านนวัตกรรมและกลยุทธ์หลากหลายที่ริเริ่มด้วยกัน หัวเว่ยแสดงความมุ่งมั่นโดยการแบ่งปันความเชี่ยวชาญและทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือและชี้แนะเราอย่างเต็มที่”
ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ โทว์สัน จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “3 ข้อควรรู้จากธุรกิจดิจิทัลในประเทศจีนและเอเชีย” และเผยว่า “คุณคงไม่อยากร่วมการแข่งขันที่เปล่าประโยชน์ในทวีปเอเชียยุคดิจิทัล บริษัทต้องมีความสามารถที่จะแข่งขันได้เพื่อดำรงผลกำไรและความอยู่รอด”
หวู เป่ยเป่ย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย นำเสนอภาพรวมด้านศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมของหัวเว่ย โดยเผยกลวิธีที่หัวเว่ยวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคตที่ผสานเข้ากับการเติบโตของธุรกิจอย่างราบรื่น และสร้างสมดุลระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจระยะสั้นและความยั่งยืนในระยะยาว
วันที่สองของการประชุมจบลงด้วยการอภิปรายที่กระตุ้นความคิดในหัวข้อ ‘มุ่งไปข้างหน้ากับนวัตกรรมดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมในโลก VUCA’ ดำเนินรายการโดย ฮง เอง โก นักวิทยาศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมการบริการสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย ร่วมด้วยวิทยากรที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ดร. ชาลี อัศวธีระธรรม (ธนาคารไทยพาณิชย์), ศาสตราจารย์ จักดัตต์ ซิงห์ (รัฐบาลมาเลเซีย แห่งรัฐซาราวัก), โดนัลด์ ลัม (บริการจัดการภาคพื้นดินและบริการจัดเลี้ยงแห่งสนามบินชางงีของสิงคโปร์ หรือ SATS) และจัสติน เฉิน (ธนาคารอินโดนีเซียนีโอคอมเมิร์ซ) ร่วมแบ่งปันบทเรียนจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
แม้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีวิธีการและผลลัพธ์แตกต่างกันไป แต่ทุกอุตสาหกรรมล้วนมีความท้าทายและปัจจัยความสำเร็จหลักที่คล้ายคลึงกัน ประกอบด้วยภาวะความเป็นผู้นำ นโยบายการกำกับดูแล บุคลากรผู้มีความสามารถ กระบวนการ การทำงานร่วมกัน ระเบียบข้อบังคับ และการบริหารความเปลี่ยนแปลง ผู้ร่วมอภิปรายเห็นตรงกันว่าการออกแบบสินค้าและบริการควรคำถึงผู้คนและต้องปรับเปลี่ยนเฉพาะบุคคลได้ ข้อมูลจึงเป็นตัวแปรสำคัญของความสำเร็จ ผู้ดำเนินรายการเสริมว่าหัวเว่ยช่วยลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีผ่านสถาปัตยกรรม Intelligent Twins ส่งมอบการโต้ตอบ การเชื่อมต่อ ฮับและคลาวด์และแอปพลิเคชันแบบอัจฉริยะ
ในงาน Huawei APAC Digital Innovation Congress หัวเว่ยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกว่า 17 ฉบับกับลูกค้าอุตสาหกรรมจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซียและบังกลาเทศ ทั้งด้านแคมปัสอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูล ดิจิทัลพาวเวอร์ และหัวเว่ย คลาวด์ บันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และกำหนดเกณฑ์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและอุตสาหกรรมถือเป็นก้าวสำคัญของเส้นทางแห่งนวัตกรรม
การขับเคลื่อนนโยบาย ‘ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเอเชียแปซิฟิก’ หรือ ‘In Asia-Pacific, for Asia-Pacific’ หัวเว่ยมุ่งมั่นเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านนวัตกรรม ร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมให้รุดหน้า และร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป