รมว.ดีอีลงพื้นที่โชว์โครงข่าย GIN หนุนโครงการ Tele-Medicine 4.0
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่
โดยมี ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็
โครงการตรวจรักษาทางไกล ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ผ่านระบบประชุมทางไกลบนเครือข่าย GIN เป็นหนึ่งในงานบูรณาการบริการภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ให้ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ตามแนวทางแผนปฏิบัติการ Digital Economy ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์ eHealth กระทรวงสาธารณสุข สอดคล้องกับ 4 excellence และ MOPH 4.0 เพื่อขับเคลื่อนสู่ Thailand 4.0 นำร่อง โรงพยาบาลแม่สอดและโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก และจะขยายผลไปยังโรงพยาบาล ในถิ่นทุรกันดารพื้นที่ห่างไกล ชายขอบจังหวัด ชายขอบประเทศ ซึ่งการนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน (Common Services) ของหน่วยงานให้บริการผ่านเครือข่าย GIN จะช่วยลดระยะเวลา ลดต้นทุนต่อหน่วย และลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณด้านเครือข่ายในภาครัฐ สำหรับการตรวจรักษาทางไกล ผ่านระบบประชุมทางไกล เป็นการใช้ระบบห้องแพทย์ออนไลน์ (ซึ่งในครั้งนี้ทดลองใช้ MedCubes) ร่วมกับอุปกรณ์ตรวจรักษา อาทิ เครื่อง CT, Ultrasound, EKG, Retina และการตรวจเบื้องต้น (Screening) สำหรับหู ตา และผิวหนัง ซึ่งระบบจะทำการรับส่งข้อมูลผู้ป่วยผ่านเครือข่ายสารสนเทศ GIN ที่ความเร็ว 30/30mbps เป็นเครือข่าย Intranet ที่มีความปลอดภัยสูง และมี link backup เส้นทางสำรอง ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีเสถียรภาพในการรับ-ส่งสัญญาณภาพและเสียงความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์เห็นภาพผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน ลดความเสี่ยงการวินิจฉัยพลาด
โดยแพทย์โรงพยาบาลอุ้มผาง (รพ.น้อง) จะทำการรักษาผู้ป่วยที่มารับบริการ และส่งข้อมูลผู้ป่วยขณะทำการรักษาผ่านเครือข่ายสารสนเทศ ไปยังโรงพยาบาลแม่สอด (รพ.พี่) เพื่อปรึกษาการวินิจฉัยและคำแนะนำแนวทางการรักษากับแพทย์ โรงพยาบาลแม่สอด ให้ช่วยพิจารณาข้อมูลผู้ป่วยพร้อมภาพประกอบ และตอบกลับผ่านระบบห้องแพทย์ออนไลน์ได้ทันที เป็นการช่วยเหลือ และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการแพทย์ ระหว่างแพทย์ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลขนาดเล็ก ในลักษณะ “พี่หมอช่วยน้องหมอ” ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในการรักษาให้แก่แพทย์ ลดความเครียด และความโดดเดี่ยวของแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก เพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลดความแออัด ลดการรอคอยในการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ขนาดใหญ่ ได้ในอนาคตบรรลุเป้าหมาย “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”
โดยระบบประกอบด้วย
1. ระบบ videoconference ที่ให้หมอคุยกัน
2. ระบบ platform ข้อมูลต่างๆคนไข้ที่ รพ ส่งถึงกัน
3. ระบบ Image/Video Platform จากเครื่องมือการแพทย์ต่างๆ เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่อง CT scan เป็นต้น ทีวัดจากร่างกายคนไข้ ในเวลานั้น